วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมืองปะลันตาที่อยู่แม่น้ำปะเหลียน


หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิทางแถบทะเลฝั่งอันดามันขึ้น จึงมีความสนใจในเรื่องเมืองทางแถบทะเลอันดามันเป็นอย่างมาก ค้นไปค้นมากลับพบว่ามีเมืองสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เมืองอีกแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองพัทลุงนั้นคือ เมืองปะเหลียน (เมืองปะลันตา PALANDA) เป็นเมืองเก่าแก่ที่ตั้งมาพร้อมกับเมืองตักโกลา (เมืองตรัง) มีอายุไม่น่าจะต่ำกว่า ๑,๘๐๐ ปี มีชื่อปรากฏในบันทึกภูมิศาสตร์ของปโตเล มีว่า ปะลันตา เมืองนี้มีแม่น้ำปะเหลียนเป็นแม่น้ำเคียงคู่ไปกับแม่น้ำตรัง เดิมใช้เป็นเส้นทางสำหรับขึ้นบกเดินทางต่อ ไปถึงเมืองพัทลุงได้ และสามารถใช้เดินทางข้ามคาบสุมทรไปสู่ดินแดนตะวันออกได้
เมืองปะเหลียนจึงกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ โดยมีท่าเรือตันหยงสตาร์ (ขณะนี้เหลือท่าโต๊ะกาอยู่) สำหรับใช้จอดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ผ่านมาและใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางผ่านข้ามคาบสมุทรอินเดียเดิมัน้นเมืองปะเหลียนเป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับเมืองพัทลุง มีความสำคัญในฐานะเมืองที่ติดต่อกับท่าการค้าของชาวต่างประเทศ กล่าวคือในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น เจ้าเมืองพัทลุงได้มอบให้หลวงปะเหลียนโต๊ะกา เจ้าเมืองปะเหลียน เป็นผู้ไปติดขอชื้ออาวุธปืนกระสุนดินดำ ปืนลินลาปากนกเป็นต้น จากพระยาราชกปิตัน (ฟรานชิส ไลท์ ) ที่เกาะปีนัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ เพื่อนนำมาใช้ต่อสู้ป้องกันพม่า
เมืองปะเหลียนนั้นครั้งแรกตั้งอยู่ไกล้เมืองพัทลุงคือ หมู่ที่ ๓ ต.ปะเหลียน ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ ต. ท่าพญา เป็น อ.พญา ขึ้นกับเมืองตรัง และเปลียนชื่อเป็น อ. ปะเหลียน ใพ พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ อ.ปะเหลียนจึงได้ยุบรวมเป็น อำเภอหนึ่งของ จังหวัด ตรัง พระปริยันต์เกษตรานุรักษ์ (ทองขาว ณ พัทลุง) นั้นเป็นเจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้าย ก่อนที่พระยารัชฏานุประดิษฐ์ เจ้าเมืองตรังจะเข้ามาปกครองใน พ.ศ. ๒๔๕๐
อำเภอปะเหลียนนั้นได่ย้ายมาตั้งอยุ่ที่บ้านหยงสตาร์อยุ่ประมาณ ๑๐ ปี ต่อมาจึงได้มาตั้งอยู่ที่ตลาดท่าข้ามวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหยงสตาร์และสุดท้ายวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอปะเหลียนตามเดิมเมืองปะเหลียนแงนี้จึงมีทำเลที่ไม่แน่นอนเลยสักสมัย และมีการเปลี่ยนแปลงทำเลและชื่อ อยู่เสมอ ทั้งๆ ที่เดิมนั้น เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัย เช่า เมือง ตักโกลา คือ เมืองท่าสำคัญในแถบทะเลอันดามัน หรือ ชายฝั่งทะในสยามประเทศ
สรุปแล้วดินแดนทางแถบทะเลอันดามันทางเมืองตรังนั้นเป็นแหล่งเมืองท่าสำคัญในชื่อ ตะโกลา และปะลันดา ในสมัยโบราณจึงเป็นจุดที่พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางไปเมืองตามพรลิค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองครหิและเมืองไชยา (ยอร์ช เซเดส์ ว่าเป็นที่เดียวกัน) จนเกิดชุมชนของชาวอินเดียที่นำวิทยาการจากอารยธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ในแหลมอินโดจีนครั้งแรก รวมทั้งการเกิดศาสนาพราหมณ์ขึ้นที่ชุมชนเขาคาเมืองคนศรีธรรมราชด้วย
ดังนั้นท้องทะเลอันดามันที่เชื่อมต่อจากมหาสมุทรอินเดียที่เป็นเส้นทางเดินเรือเลาะตามชายฝั่งทะเลมาจากเมียมาร์ ลงมายังเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี ลงมาถึงบริเวณที่เป็นทะเลอันดามันที่มีหมู่เกาะต่างมากมายนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เรอจะสามารถหลบกำลังกระแสลมแรง หรือคลื่นในทะเลได้ แม้ว่าว่าหมู่เกาะเหล่านั้นจะถูกเรือโจรสลัดคอยดักปล้นเอาสินค้าก็ตาม แตการเดินเรือที่มีเรือหลายลำคอยคุ้มกัน เป้นขวบนใหญ่นักพื่อป้องกันภัยอันตราทางทะเลนั้น จึงทำให้เรือสินค้าเหล่านั้นรอดพ้นภัยทางทะเลได้ และแล่นจนถึงเมืองท่าทางชายฝั่งทะเลตะวันตกได้ เพราะจากเมืองท่าเหล่านี้มีเส้นทางบกที่สามารถจะเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ ที่อยุ่ทางชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ซึ่งดีกว่าจะแล่นเรือผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นดินแดนที่มีโจรสลัดชุกชุม
ส่วนเรือสินค้าที่เดินทางมาจากเกาะลังกาทวีปหรืออินเดียทางตอนใต้แม้จะมีเรือสินค้าขนาดใหญ่เดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดียมาได้ก็ตามแต่พอถึงบริเวณที่เป็นทะเลอันดามันแล้ว ก็เชือ่ได้ว่าเกาะต่างๆในท้องทะเลแถบนี้จะเป็นสถานที่บังคลื่นลมได้ดี ด้วยเหตุนี้เมืองท่าตามชายฝั่งทะเลจึงมีเรือสินค้าใหญ่น้อยเดินทางมาค้าขายด้วยเป็นอันมาก โดยเฉพาะเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่นำโดย เจิ่งเหอ ของจีนก็เดินทางมาพื้นที่แห่งนี้เช่นเดียวกันสถานที่ ที่เจิ่งเหอติดต่อค้าขายนั้นมักจะมีระฆัง และการตั้งศาลซัมปอกงขึ้น เป็นสถานที่สำคัญของการค้าขายกับจีนขึ้นตามรายทางหากสำรวจดุจะเห็นว่า มีเมืองชายทะเลและริมแม่น้ำที่ตั้งศาลซัมปอกงไว้หลายแห่ที่เดียว
Share:

ชนเผ่านาคา


ชาวเรือที่อาศัยการเดินทางข้ามทะเล เราะไปตามชายฝั่งนั้นสิ่งที่กลัวมากที่สุดคือ สัตว์ที่มีพิษที่อยู่ใต้น้ำ แม้จะไม่เห็นชัดว่าตัวอะไร ก้อเชื่อว่า งู เป็นสัตว์ที่ทำอันตรายได้อย่างหนึ่งและก็จะหายตัวไป การนับถือเทพเจ้าตามคติของชาวตะวันตกอย่างอียิปหรืออินเดียโบราณ จึงทำให้เกิดความเชื่อที่จะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมาบูชาและเชื่อในเรื่องพิษร้ายของงู ถ้าหากได้บูชาหรือทำสัญญาลักษณ์ก็จะสามารถรอดพ้นพิษร้านนั้นได้ จึงดูเข้าค้าวที่คนเดินทางทางน้ำ ทางทะเลจะนิยมบูชางูหรือสักรูปงูไว้ตามตัว บอกความเป็นพวกนาคาที่นับถืองูหรอนาค ซึ่งมีลายสักของอยู่หลายแห่งที่มีความเชื่อในเรื่องงุหรือนาคดังนั้นการสร้ารูปให้แปลกพิศดารสมฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้รูปลักษณ์ของนาคมีความพิศดารไปจากธรรมดา คือมีหงอนมีฤทธิ์ตามจินตนาการ ให้พ่นน้ำพ่นไฟแผ่พังพานบันดาลห่าฝนพ่นพิษร้ายได้ทั้งสิ้น นาคหรือพญานาคนี้จึงเป็นสัตว์วิเศษที่อยู่แลใต้น้ำใต้ทะเลด้วยประการฉะนี้
ด้วยเหตุนี้ผู้คนที่อยู่ในแหลมอินโดจีนจึงพากันนับถือนาคหรือพญานาคตามอย่างคนที่มาจากตามทะเล ซึ่งเป้นพ่อค้าวาณิชเดินทางไปมาค้าขาย และมีความเจริญกว่า ดังนั้นเมื่อมีการสร้างเทวสถานพระผู้เป็นเจ้าที่นับถือหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ก็จะกำหนดให้มีนาคเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์ ดังนั้นไม่ว่าโบราณสถานของพราหมณ์หรือพุทธจึงมีนาคเข้าไปปะปนในทุกแห่งแม้แต่ธรรมชาติที่มีลัษณะคล้ายนาคอยู่ตามหินผา หน้าถ้ำ หน้าภูเขา ก็เหมาเอาว่าเป็นนาคไปสิ้น มนุษย์กลุ่มนี้คือ พวกนาคาที่สักลายตามตัวอยุ่ในอินโดจีนนั้นไง
อิทธิพลของการนับถือพญานาคนั้นได้ผูกพันธ์กับชีวิตผู้คนมาช้านานและขยายความเชื่อไปทุกพื้นที่อย่างไร้ข้อจำกัด จนทุกวันนี้ก็ยังเชื่อเรื่องบังไฟพญานาคในแม่น้ำโขง สถานที่หลายแห่งได้ถูกสร้างตำนานพญานาคขึ้นมาว่าจะเป็น ปล่องพญานาค เมืองพญานาค คำชะโนช ถ้ำพญานาคริมแม่น้ำโขง เรื่องพญานาคที่ถ้ำติ่งเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น แม้แต่วรรณกรรมก็มีเรื่องราวพญานาคมากมาย เช่น เรื่องนาคมุจรินทร์ ที่แผ่พังพานบังแดดบังฝนให้พระพุทธเจ้า หรือพญานาคที่ขดตัวเป็นบังลังก์และแผ่พังพานเป็นนาคปรกให้พระพุทธองค์ หรือเรื่องพญาแถนเทวดาผู้เป็นใหญ่ ให้พญางูนำบริวารงูใหญ่น้อยจำนวนมากลงมาทำลายเมืองและผู้คนเสียให้สิ้น ทำให้เมืองร้างลงในเรื่องคันธกุมารเมืองน่าน ที่เดินทางมาพบนางกองศรี พระธิดาของเจ้าครองนครซ่อนในกองใหญ่ คันธกุมารให้นายชายไม้ร้อยกอกับนายชายเวียนร้อยเล่ม ช่วยกันตัดฟืนมาทำการก่อกองไฟกองใหญ่ (กองไฟนี้ต่อมากายเป็นป่าชัฏเรียกว่าดงพญาไฟหรือดงพญาเย็น) เมื่อพญาแถนเห็นควันไฟจึงสั่งให้พญางูร้ายนำบริวารลงมาทำลายผู้คนอีก คันธกุมารกับสหายจึงช่วยกันฆ่าฝูงงูนั้นตายจนหมดพญาแถนนั้นเมื่อไม่เห็นพยางูนำบริวารกับมาก็รู้ว่า ได้มีคนดีเดินทางมาเมืองนี้แล้ว คันธกุมารเมื่อกำจัดงูร้านหมดสิ้นแล้ว ก็บันดารให้น้ำหลากพัดพาเอากระดูกงูออกไปพ้นเขตเมือง กระดูกงูนั้นไปรวมตัวก่อกันเป็นภูเขาเรียกว่า ภูหอหรือภูโฮ่ง จากนั้นคันธกุมารก็ชุปชีวิตพญาเจ้าครองนครกับพระมเหสีและผู้คนเมืองขวางทะบุรีศรีมหานครกลับฟื้นคืนชีวิตและทำการฟื้นฟูพระนคร ซึ่งมีนามเรียกว่า เมืองนครราช เป็นต้น ตำนานของพญานาคนั้นแม้จะเกิดจากความเชื่อ ก็หาได้หมดสิ้นความเชื่อไปได้ง่ายตราบที่มีงเพ่นพ่าน
Share:

เมืองท่าโบราณ เปิดโลกตะวันตก-ตะวันออก


เมืองท่าโบราณของอินเดียนั้น ปรากฏชื่อที่น่าสนใจอยู่หลายเมือง เช่น เมืองกมรา (กาเวริปัฏฏินัม) เมืองโปดูเก (อริกเมฑุ) และเมืองโสปัตมัฎ ชื่อออกทางแขกจึงไม่คุ้นในการเรียกสำเนียงอย่างไทย นอกจากนี้ในชาดกและมิลินทปัญหาหยังปรากฏชื่อเมืองท่าโบราณอีกหลายเมือง เช่น เมืองภรุกัณจะ เมืองศูรปารกะ เมืองมุฉิริ เป็นเมืองอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตก และเมืองตามรลิปติ เมืองท่าที่อยู่ทางปากแม่น้ำคงคาแถบฝั่งทะเลตะวันออก

สำหรับดินแดนสุวรรณภูมินั้น ตั้งแต่พุทธศวรรษที่ 8 เป็นต้นมา ได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นหลายแห่ง และกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรต่างๆ เหล่านั้นต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ไปเป็นแนวทางในการปกครองและสร้างสรรค์จารีตประเพณีของบ้านเมืองตามแบบอย่างอินเดีย

ชาวอินเดียในยุคนั้นได้นำเอาศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรต่างๆ แล้วเผยแผ่วิชาการโบราณศษสตร์ตลอดจนคัมภีร์ศาสนาต่างๆ ดังเห็นได้ว่าอาณษจักรที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้งหลาย ได้มีการสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ ศาสนา และนำเอาจารีตประเพณี กฎหมาย อักษรศาสตร์ และวรรณคดี เป็นต้น

ตามแบบอย่างอินเดียโบราณมาใช้ทั้งสิ้น สรุปแล้วอารยธรรมต่างๆที่เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมินั้น ถูกนำมาจากต้นแบบของชาวอินเดียโบราณทั้งสิ้น โดยชาวอินเดียยุคนั้นเดินทางเข้ามาทางใต้ที่เมืองท่าตักโกลาแล้วเดินทางติดต่อกับเมืองต่างๆ ของอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิและอินโดจีนต่อไป

ดินแดนสุวรรณภูมินั้นเมื่อสำรวจทางโบราณคดีก็พบว่า มีโบราณวัตถุที่เป็นรูปแบบของศิลปะโรมัน อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ตะเกียงสำริดแบบโรมัน ลูกปัดแบบโรมันที่คลองท่อม เป็นต้น การที่ศิลปกรรมและโบราณวัตถุจากอิทธิพลศิลปะโรมันได้เข้ามาในชุมชนโบราณที่อยู่ตามดินแดนสุวรรณภูมินั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาให้รู้ถึงร่องรอยของเส้นทางที่สินค้าแบบโรมันได้แพร่กระจายเข้ามาในอดีตและได้มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนต่างๆในบริเวณดัวกล่าว

กล่าวคือ อาณาจักรโรมันนั้นได้ส่งกองคาราวานสินค้าออกเดินทางข้ามทะเลทรายจากศูนย์กลางการค้าใหญ่ เช่น เมืองปาลไมรา ในซีเรีย เมืองเปตรา ในจอร์แดน เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ สำหรับเมืองอเล็กซานเดรียนั้น เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 6-7 เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญของการเดินทางสินค้าระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก ถือว่าเป็นเมืองสำคัญของเส้นทางเดินแพรไหมจีน ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์การค้าขายกับพ่อค้าอินเดียและพ่อค้าจีน

กองคาราวานสินค้าได้พากันใช้เมืองดังกล่าวนั้น เป็นจุดสำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากประเทศตะวันตกไปยังประเทศตะวันออก และซื้อขายสินค้าจากประเทศตะวันออกกับไป

สินค้าที่ประเทศตะวันตกต้องการนั้น ได้แก่ เครื่องเทศ น้ำหอม อัญมณี (เพชร พลอย ไข่มุก) ผ้าเนื้อดี พวกอาหารแห้ง เช่น น้ำตาล ข้าว และ ฆี (น้ำมันเนย) งาช้าง ทั้งที่เป็นงาจริง และงาแกะสลัก รวมถึงเหล็กของอินเดียที่ถือว่ามีคุณภาพ นอกนั้นเป็นสัตว์ ได้แก่ เสื้อ ช้าง สิงโต ควาย เพื่อนำไปต่อสู่กับสัตว์ป่าซึ่งเป็นกีฬาที่จักรพรรดิโรมันทรงโปรด และสัตว์เลี้ยงที่นิยมในเหล่าสตรีสูงศักดิ์ของโรมัน เช่น นกแก้ว ลิง นกยูง เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่ชาวอินเดียต้องการมากนั้น ได้แก่ สินค้าประเภททองคำ (ภายหลังมีการห้ามทองคำออกนอกอาณาจักร) ภาชนะดินเผาเนื้อดีมีผิวสีแดงขัดมันตกแต่งลวดลายประทับ เรียกว่า เครื่องปั้นชนิดอาร์รีไทน์ (ARRETINE) และภาชนะดินเผาสีดำที่ตกแต่งผิวโดยกดซี่ฟันเฟื่องให้เกิดลายหยักเป็นแถวอย่างมีระเบียบ เรียกว่า เครื่องปั้นชนิดรูเลตด์ (ROULETTED) เครื่องแก้ว เหล้าไวน์ ดีบุก ตะกั่ว ปะการัง เป็นต้น ทำให้การค้าขายระหว่างอินเดียกับอาณาจักรโรมันนั้นมีความชัดเจนมากในพุทธศตวรรษที่ 6 ในเมืองเฮอคูเลเนียมนั้นพบงาช้างที่สลักเป็นรูปผู้หญิงชาวอินเดียที่ส่งมาขาย เช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆที่เสื่อมสลายไป

พุทธศตวรรษที่ 5-8 สมัยกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะนั้น มีเมืองท่าโบราณของอินเดียหลายแห่งมีพ่อค้าโรมันเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ แล้วซื้อสินค้าแลกเปลี่ยนกัน มีชื่อเมืองท่าว่า เมืองเนวาษะ เมืองนาฟทาโตริ เมืองนาโรด้า เมืองพรหมบุรี เมืองพรหมคีรี เมืองจันทราวัลลี เมืองโกณฑปุระ เมืองอมราวดี เมืองนาคารชุนโกณฑะ และเมืองกาเวริปัฏฏินัม เป็นต้น

ซึ่งเมืองท่าของอินเดียโบราณเหล่านี้ มีข้อสังเกตว่าบ้างชื่อนั้นได้มีการนำมาตั้งเป็นชื่อเมืองให้กับเมืองที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิและแหลมอินโดจีนด้วย ยิ่งเฉพาะเมืองที่อยู่ทางแหลมมลายูแล้วชื่อออกเป็นอินเดียหลายแห่ง
Share:

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชนเผ่าในอินเดีย – จารวา (Jarawa) แห่งหมู่เกาะอันดามัน


จารวา (Jarawa) หนึ่งในสี่ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มานับตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกๆ อพยพเข้ามาในพื้นที่นี้ ปัจจุบันมีประชากรเหลืออยู่เพียง 250-300 คน กระจายอยู่ในเกาะขนาดใหญ่สองแห่ง ทางฝั่งตะวันตกของเกาะอันดามันกลางและเกาะอันดามันใต้


ชนเผ่าจารวาตัดขาดจากโลกภายนอกมานานนับพันๆ ปี คาดว่าบรรพบุรุษของชาวจารวาและเผ่าอื่นๆ ในเกาะอันดามันเป็นมนุษย์กลุ่มแรกจากอาฟริกาที่อพยพข้ามมาถึงเกาะอันดามันได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันมีคนอินเดียเข้าไปตั้งรกรากในเกาะอันดามันนับแสนคน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่มาก่อนหลายเท่า

ชาวจารวามักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 40-50 คน ดำรงชีพโดยการเร่ร่อนล่าสัตว์หาของป่า พวกเขาล่าหมูป่า จิ้งเหลน ปลา ด้วยธนูและลูกศร ซึ่งปลายลูกศรนั้นทำด้วยเหล็ก ผู้ชายหาปลาด้วยธนูและลูกศรตามริมฝั่งแม่น้ำ ขณะที่ผู้หญิงจับปลาโดยใช้ตะกร้า อาหารหลักเป็นพวกสัตว์น้ำ หอย รวมทั้งพวกผลไม้ รากไม้ต่างๆ และน้ำผึ้งที่ได้จากป่า พวกเขาสร้างกระท่อมชั่วคราวอยู่อาศัย และใช้แพที่ต่อขึ้นอย่างหยาบๆ ข้ามแม่น้ำลำคลอง

เดิมชาวจารวาไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนภายนอกนัก และบางครั้งก็เข้าจู่โจมพื้นที่อื่นๆ ที่ชาวเบงกอลีและคนกลุ่มอื่นๆ ที่รัฐจัดสรรให้เข้ามาอยู่อาศัย ทางองค์การบริหารเกาะอันดามันและนิโคบาจึงได้ริเริ่มส่งคณะสื่อสารเข้าหาชาวจารวาและผูกมิตรกับพวกเขาเป็นระยะ ตั้งแต่ปี 1974 เป็นต้นมา และนับแต่นั้นชาวจารวาก็เริ่มเป็นมิตรกับคนภายนอกโดยเฉพาะกับทีมสื่อสารของรัฐ ซึ่งเข้ามาพร้อมกับของกำนัลประเภทมะพร้าว กล้วย และผลไม้ต่างๆ

ซึ่งภัยสำคัญที่ทำให้จำนวนของชาวจารวาลดลงมาจากการบุกรุกของคนภายนอก โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างถนนหลวงผ่านเข้าไปในป่าในช่วงทศวรรษที่ 1970 ถนนเหล่านี้นำมาซึ่งการบุกรุกเข้ามาอยู่อาศัยของคนภายนอก ที่เข้ามาดักจับสัตว์ ตัดไม้ ในใจกลางถิ่นที่อยู่ของชาวจารวา รวมทั้งมีรายงานการรุกรานทางเพศกับผู้หญิงชาวจารวาด้วย

อีกทั้งการท่องเที่ยวก็เป็นภัยคุกคามประการหนึ่ง ที่นำพานักท่องเที่ยวภายนอกเข้ามาสู่เขตสงวนของชาวจารวา รีสอร์ทหรูหราก็มาเปิดใกล้ถิ่นอาศัยของชาวจารวาทำให้พวกเขาติดต่อกับภายนอกมากขึ้น นอกจากนั้นโรคภัยต่างๆ จากคนภายนอกได้เข้ามาแพร่ระบาดโดยที่ชาวจารวาไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน เช่น การระบาดของโรคหัดในปี 1999 ทำให้ประชากรจารวาเสียชีวิตไปถึง 10 เปอร์เซ็นต์

แม้ว่ารัฐบาลอินเดียได้กำหนดเขตพื้นที่สงวนสำหรับชาวจารวาไว้ แต่ขนาดพื้นที่ได้ค่อยๆ ลดลง ยิ่งมีการก่อสร้างถนนและมีผู้คนจากแผ่นดินใหญ่อพยพเข้ามามากก็ยิ่งทำให้ชาวจารวาถอยร่นเข้าไปในป่ามากขึ้น และเหลือพื้นที่น้อยลงทุกที

จารวานับเป็นชนเผ่าโบราณที่กำลังจะสูญหายไปเต็มที่หากทางรัฐบาลไม่ได้ให้ความคุ้มครองอย่างจริงจัง และคนภายนอกยังคงคุกคามอย่างต่อเนื่อง เห็นทีเรื่องราวของชาวจารวาคงจะกลายเป็นเพียงตำนานเท่านั้น
Share:

อินเดียนแดง


ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติวางอยู่บนฐานรากของ ผู้คน วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม และ ตำนาน อย่างไรก็ตาม เพียงส่วนน้อยที่รู้ถึงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของอินเดียนแดง อินเดียนแดงไม่ได้เป็นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกามาก่อน ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ขุดพบในอเมริกาเหนือแสดงว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นับล้านปี แต่ไม่มีฟอสซิลไหนจะบอกได้ว่ามีมนุษย์อาศัยมาก่อน 38,000 ปีมาแล้ว หลักฐานของการมาถึงทวีปอเมริกาของอินเดียนแดงได้สูญหายไปกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยตลอด การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ก็ได้พิสูจน์ว่ามีการวาดรูปภาพขึ้นด้วยวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ ในที่ๆมีการฆ่าสัตว์ขึ้น ในการวิจัยดีเอ็นเอก็บ่งบอกการเชื่อมโยงกับกลุ่มชนชาติอื่น และการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ของอินเดียนแดงหลายๆชนเผ่าทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าอินเดียนแดงเป็นผู้คนที่อพยพมาจากทวีปเอเซียเมื่อ 40,000 – 35,000 ปีมาแล้ว (เรื่องนี้ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของอินเดียนแดงบางส่วน)
ตลอดช่วงสุดท้ายของยุคน้ำแข็ง ประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว พื้นที่เกือบทั้งหมดของโลกได้เชื่อมต่อกันด้วยน้ำแข็ง มหาสมุทรอยู่ใต้น้ำแข็งถึง 300 ฟุต แผ่นดินที่อยู่ใต้ผิวน้ำปัจจุบันล้วนเคยอยู่เหนือน้ำมาก่อน การเชื่อมต่อของดินแดนระหว่างไซบีเรียและอลาสกาเรียกว่า เบอรินเจีย ปัจจุบันคือช่องแคบ แบริ่ง จากการตรวจสอบทางโบราณคดีด้วยวิธี เรดิโอคาร์บอนที่สถานีวิจัยใน ยูคอน ไปจนตลอดชายฝั่งแปซิฟิก เป็นที่น่าเชื่อว่า กลุ่มคนที่เป็นนักล่ายุคหินพาลีโอลิทิค ได้อพยพข้ามจุดเชื่อมต่อนี้ ทฤษฎีอื่นว่าพวกเขาอพยพข้ามแปซิฟิกด้วยเรือก่อนที่จะมีการเชื่อมต่อของทวีปเกิดขึ้น
ที่ตั้งของนิวเม็กซิโกมีอายุอ้างอิงได้ถึง 38,000 ปี และสิ่งหนึ่งในชิลีก็ตรวจสอบอายุย้อนหลังได้ถึง 33,000 ปีซึ่งพ้องกับทฤษฎีนี้ ผู้คนที่อพยพทางเท้าข้ามเบอรินเจียไม่ได้มาถึงที่ตั้งเร็วนัก เครื่องหมายที่แสดงถิ่นที่อยู่ของมนุษย์บนบางเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตรวจสอบอายุได้ประมาณ 20,000 ปี หรือมากกว่าแสดงว่ามนุษย์ในยุคก่อนนั้นสามารถจะข้ามมหาสมุทรได้ ตามหลักฐานอ้างอิงถึงความยาวนานของถิ่นฐาน การมาถึงของกลุ่มที่ยังคงอยู่ the Inuit and Aleut อพยพข้ามทะเลแบริ่งจากไซบีเรียด้วยเรือที่หุ้มด้วยหนังสัตว์ และการใช้เรือขุดจากต้นไม้เป็นลักษณะแคนูในช่วง 2,500 ถึง 1,000 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากที่ผืนน้ำได้ครอบคลุมเบอรินเจียอีกครั้ง
การศึกษาทางโบราณคดี, ดีเอ็นเอ, และภาษาศาสตร์ บ่งบอกว่าฝูงชนได้อพยพมาสู่ทวีปอเมริกาเหนือ และตั้งถิ่นฐานในที่ที่มาถึง บางส่วนได้เดินทางต่อไป และตั้งถิ่นฐานในส่วนอื่นของทวีป บ้างลงไปทางใต้เข้าสู่ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ พวกเขามาตามทางที่เป็นแผ่นน้ำแข็งที่ครอบคลุมทางเหนือของอเมริกาที่ต่อมาได้ละลายลงและแยกจากกัน จากทางผ่านที่เกิดขึ้น ชนกลุ่มแรกของอเมริกาได้อพยพลงใต้ตลอดชายฝั่งแปซิฟิค ข้ามมาทางตะวันออกที่ซึ่งปัจจุบันเป็นแคนาดา และทางตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ใจกลางทวีป การอพยพนี้เป็นส่วนหนึ่งของตำนานในวัฒนธรรมในกาลต่อมา
พวกแรกที่มาถึงคือ พาลีโอ-อินเดียน (Paleo-Indians) ผู้ซึ่งมีอำนาจครอบครองชีวิตซึ่งเร่ร่อนไปในที่ต่างๆและประกอบด้วยอาหารและการล่าสัตว์ที่เป็นเกมส์ยิ่งใหญ่ เกมส์ที่พาลีโอ-อินเดียนล่าคือพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคล้านปีที่ต่อมาได้วิวํฒนาการและสูญพันธุ์ในอเมริกาเหนือเช่น แมมมอธ, แมสโทดอน, เสื้อเขี้ยวดาบ, สิงโตอเมริกัน, อูฐ, หมาป่า, ไบสันเขายาว, ม้า, และไจแอ้นท์สลอต
นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาได้พบวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวผู้กับมาถึงเหล่านี้จากวัตถุและกระดูกที่ขุดพบในบริเวณตั้งแค้มป์และบริเวณที่เป็นแหล่งล่า หลายศตวรรษที่ พาลีโอ-อินเดียนได้พัฒนาอาวุธที่ใช้ล่าสัตว์ คือหอกปลายแหลมที่ทำจากหิน ปัจจุบันระบุชื่อเป็น Clovis และ Folsom จากที่พบจากแหล่งขุดค้นในนิวเม็กซิโกซึ่งมีสภาพดีที่สุด ซึ่ง Clovis มีอายุราว 12,000 ถึง 15,000 ปีและยังพบอีกหลายแห่งในอเมริกาเหนือ
หอกอีกพวกที่พบเป็นช่วง Sandia (ประมาณ 9100 – 8000 ปีก่อนคริสตกาล) ส่วนมากพบทางตะวันตกเฉียงใต้ และ Plano หรือ Plainview (ประมาณ 8,000 – 4,500 ปีก่อนคริสตกาล) ที่เชื่อมโยงกับ The Great Plains
ประมาณ 10,000 – 8,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงสิ้นสุดของยุคน้ำแข็งจากธารน้ำแข็งทางเหนือ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ได้มีเกมส์การล่าสัตว์ขนานใหญ่ที่ทำให้สัตว์บางชนิดได้สูญพันธุ์ไป เมื่อสภาพอากาศอบอุ่นขึ้น ก็มีสัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่วิวัฒนาการขึ้นมาแทนที่ ช่วงของหอก Clovis และอื่นๆได้แปรเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมที่เรียกว่า Archaic ซึ่งรุ่งเรืองในประมาณ 5,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือการออกหาอาหาร (Foraging) เป็นช่วงที่แปรเปลี่ยนไปตามนักล่าที่ร่อนเร่ไป การล่าก็เล็กลงด้วยการสร้างกับดัก การจับสัตว์น้ำ การหาพืชป่าเป็นอาหาร สัตว์ที่เคยล่าเป็นเหยื่อเริ่มขาดแคลน มนุษย์เหล่านี้ก็เริ่มเพาะปลูกขึ้น มีการเตรียมดินเพาะปลูกน้ำเต้า, ถั่ว, ข้าวโพดเกิดขึ้น บางส่วนของทวีป ผู้คนได้เริ่มสร้างชุมชนขึ้นอย่างถาวร ในช่วงนี้ ผู้คนทางตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มสร้างเครื่องปั้นดินเผาขึ้น มีการฝึกฝนและพัฒนาทีละเล็กละน้อยไปตลอดทั่วทั้งอเมริกาเหนือ การเปลี่ยนแปลงจากการเร่ร่อน และวัฒนธรรมการรวมกลุ่มกันเพื่อล่าสัตว์มาเป็นการอยู่กับที่เพื่อเพาะปลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ช่วง Formative ซึ่งบ่งบอกด้วยการทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า และทำการค้า ในการข้ามทวีป วัฒนธรรมได้หลากหลายมากขึ้นยิ่งกว่า การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมแสดงถึงความสำคัญในการดำรงชีพของผู้คนมากขึ้น การแกะสลักหินแสดงความชัดเจนของความเชื่อของผู้คนในยุคนั้น วิถีชีวิตของพวกเขาได้แปรเปลี่ยนจากการออกล่าสัตว์มาเป็นการเพาะปลูก ซึ่งดูเหมือนว่าเรื่องเล่าของพวกเขาได้แปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เรื่องเล่าถึงสังคมของล่าสัตว์ได้สืบทอดโดยการเล่าขานเกี่ยวกับเกมส์การล่าสัตว์ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีพ ซึ่งเรื่องเล่าของสังคมแห่งการเพาะปลูกเจาะจงไปที่ความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลและลมฟ้าอากาศ

ในตะวันออกเฉียงใต้ ในแถบลุ่มแม่น้ำโอไฮโอ ตลอดไปจนถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทั้งสายหลักและสายย่อยของแม่น้ำ วัฒธรรมการสร้างอาคารพักอาศัยด้วยเนินดินได้เริ่มขึ้นประมาณ 1,800 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมนี้แปรเปลี่ยนไปตามลักษณะดินของถิ่นนั้นๆ บางรูปทรงเรียกว่า เนินดินแบบ Effigy เลียนแบบรังของสัตว์และนก สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ เครื่องประดับ เครื่องดินเผา เครื่องแกะสลัก และวัตถุอื่นๆที่พบในเนินดิน แสดงความมั่งคั่งตามเรื่องเล่าและตำนานของผู้สร้างเนินดิน ซึ่งน่าเสียดายที่ไม่ได้สืบทอดลูกหลานมาจนถึงยุคปัจจุบัน เนินดินของยุคนี้ที่พบล่าสุดพบที่บริเวณ Poverty Point
ประมาณ 1,800 – 500 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงที่ชุมชนต่างๆ มีในอริโซน่า อาคันซอ และมิสซิสซิปปี้ Poverty Point เป็นที่ที่น่าประทับใจที่สุดด้วยรูปทรงเหมือนนกยักษ์กางปีกมีขนาด 710 ฟุต x 640 ฟุต ผู้คนในช่วงต่อมา ช่วงของวัฒนธรรม Adena (ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 200) มีการสร้างเนินดินตามลุ่มน้ำ โอไฮโอ จากเคนตัคกี้ไปจนถึงนิวยอร์ค หนึ่งในการสร้างจากผืนโลกของพวกเขาคือเนินดิน Great Serpent ในโอไฮโอ ที่รูปทรงเหมือนงูยักษ์และยาวถึง 1,348 ฟุต ตรงกับเรื่องเล่า Hopi อีกกลุ่มของเนินดินคือ Hopewell เป็นวัฒนธรรมในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ปี ค.ศ. 700 ได้แผ่กระจายไปทั่วทางตะวันออกและตอนกลางของตะวันตก ผู้คนในช่วง Hopewell แสดงให้เห็นถึงความกว้างขวางของเครือข่ายการค้าขาย มีงานศิลปสวยๆพบมากมายในเดินดินช่วง Hopewell หลักจากยุคถดถอยของ Hopewell ผู้คนในยุค Mississippian (ประมาณ ค.ศ. 700) ได้สร้างสังคมที่ซับซ้อนขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ ชุมชนที่ใหญ่มีมากกว่า 1 พันคน และมีการสร้างเนินดินตรงศูนย์กลางเป็นเสมือนที่บูชาและมีขนาดใหญ่กว่าปิรามิดในอียิปต์เสียอีก
เครือข่ายการค้าของผู้คนในยุค Mississippian ครอบคลุมตั้งแต่ทางเหนือของเม็กซิโกไปจนถึงแคนาดา พิธีศพ การฝึกฝน และการสังคมแสดงว่าความเชื่อและเรื่องเล่าขานของคนยุค Mississippian ได้รับการสืบทอดมาจากคนยุค Meso-Aerican แม้ว่าเรื่องเล่าตำนานโบราณของพวกเขาจะสูญหายไป แต่เนินดินนี้ก็ได้ถูกสร้างตามแบบวัฒนธรรมตามเรื่องเล่าและตำนานที่เคยมีมาก่อนอย่างสมบูรณ์
ทางตะวันตกเฉียงใต้ ที่กลุ่มเนินดิน สามกลุ่มที่แตกต่างออกไป คือ Mogollon, Hohokam และ Anasazi
Mogollon ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ 1300 ซึ่งมีเขตแดนหลักๆตั้งแต่อริโซน่าไปถึงชายแดนนิวเม็กซิโกและเป็นที่รู้จักโดยภาพวาดแกะสลักบนหิน ที่เราเรียกกันว่าอักษรภาพ, สิ่งทอและเครื่องดินเผาที่พบ เรายังไม่พบข้อมูลเรื่องตำนานและเรื่องเล่าของ Mogollon แต่ภาพบนผนังหินได้บ่งบอกอะไรไว้ให้ศึกษาต่อเช่น พิธีศพ การเต้นรำเฉลิมฉลอง สิ่งเหนือธรรมชาติ สัตว์ นก และสัญลักษณ์รูปทรงเรขาคณิตที่แสดงถึงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของศาสนาและความเชื่อในยุด Mogollon
Hohokam (100 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 1500) ทำให้ทะเลทราย Sororan แห่งอริโซน่าที่อ้างว้าง รุ่งเรืองไปด้วยชุมชนพักอาศัยของพวกเขาที่มีการทดน้ำเข้ามาใช้ ยุค Meso-American มีอิทธิพลต่อ Hohokam ซึ่งบ่งบอกด้วยการค้นพบเครื่องดินเผา การทำเซรามิคเป็นรูปร่างบุคคลแบบเดียวกับหินสุริยเทพกลมๆของชาวมายัน ที่เป็นการทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า
Anasazi (ประมาณ ค.ศ. 100 – 1300) ได้สร้างที่พำนักริมหน้าผา และตามยอดเขายาวตลอดบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า Four Corners ซึ่งอยู่ในเขตแดนของอริโซน่า โคโลราโด และ ยูทาห์ การสืบทอดของ Anasazi (บางส่วนของพวกเขาผู้ซึ่งให้ความสำคัญกับชื่อที่ได้จากบรรพบุรุษหมู่บ้านอินเดียนแดง) ได้สร้างตำนานเกี่ยวกับ Anasazi และการทอดทิ้งบ้านที่ใหญ่โตมาเป็นประเพณีและประวัติศาสตร์
ในอินเดียนแดงที่หลากหลายเผ่า ทุกอย่างของความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปเริ่มจากการติดต่อกับชาวยุโรป หลังจากที่โคลัมบัสได้ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1492 ชาวยุโรปได้สร้างมิติใหม่ให้กับตำนาน และสร้างประเพณีขึ้นใหม่ อย่างเช่น การนำม้าเข้ามาโดยชาวสเปน ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตแห่งชนเผ่าในทุ่งราบ มีการใช้คำพูดถึงชนเผ่าแห่งทุ่งราบที่เฉลิมฉลองการได้ม้ามา ถึงแม้ม้าจะไม่ใช่มีต้นกำเนิดจากสเปนก็ตาม สัตว์สวยงามเหล่านี้ มีความสำคัญมากกว่าที่จะให้กันได้ธรรมดาๆ บางเผ่ามีเรื่องเล่าถึงผู้ติดต่อเทพเจ้าที่สามารถรู้แหล่งที่จะพบม้าเหล่านี้ และเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สร้างตำนานอินเดียนแดงยุคใหม่ที่ไกลจากเดิมมากมาย
ช่วงของการเกือบจะสูญพันธุ์ของควายป่าโดยการล่าของชาวยุโรปใน ศตวรรษที่ 18 ได้กระทบความเป็นอยู่ของชนเผ่าในพื้นราบอย่างรุนแรงและได้มีการนับจำนวนไว้ในตำนาน การถูกขับไล่และการตั้งรกรากใหม่ก็สร้างความเสียหายอย่างมากเช่นกัน วัฒนธรรมและประเพณีหลายอย่างได้ ภาษาอินเดียนแดงดั้งเดิมได้เริ่มสูญหายเลือนลางไป ด้วยโรคภัยที่ระบาดจากผู้คนชาวยุโรป สงคราม และ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในวันนี้มีการฟื้นคืนด้วยความพยายามของลูกหลานอินเดียนแดงที่จะฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภาษากลับมา พิธีกรรมและตำนานที่เชื่อมโยงกับผู้คนในอดีตที่ยิ่งใหญ่ได้กลับมาเป็นที่เล่าขานบันทึกและนำมาให้ประโยชน์กับผู้คนที่ใช้ชีวิตในปัจจุบัน เรื่องเล่ายังพัฒนาไปไปตามผู้เล่าและมุมมองของเขาเหล่านั้นด้วยสื่อสมัยใหม่
Share: