วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตำนานจระเข้ปูน

จระเข้ปูนมีลักษณะเป็นหินศิลาแลงมองเป็นรูปคล้ายจระเข้ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 9 เมตร หันศรีษะไปทางทิศเหนือส่วนตรงกลางลำตัวกว้างประมาณ 10 นิ้ว อยู่ชิดกับของทางเดิน (ถนน) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า “จระเข้ปูน” เป็นที่มาของตำนาน “จระเข้ปูน”
          กล่าวกันว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยยังเจริญรุ่งเรืองอยู่ ราวประมาณ พ.ศ. 1420 มีเมืองแห่งหนึ่งชื่อเมือง “พราน” เป็นเมืองใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง มีวังอันเป็นที่ประทับของพระร่วงองค์หนึ่งชื่อ พระมหาพุทธสาคร วันหนึ่งพระมหาพุทธสาครได้เสด็จมาที่วังแห่งนี้เพื่อพักผ่อน ขณะนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพญานาคตนหนึ่ง กำลังคาบสาวงามนางหนึ่งเลื้อยผ่านหน้าไป พระองค์จึงได้ติดตามไปจนกระทั่งถึงภูเขาลูกหนึ่ง พญานาคได้กลืนหญิงสาวลงไปในท้อง พระมหาพุทธสาครได้เสด็จตามมาทันพอดี จึงได้ใช้มนต์สะกดพญานาคไว้ แล้วจึงได้ล้วงหญิงสาวออกมาจากคอพญานาค ทราบชื่อภายหลังว่าชื่อ นางทอง ส่วนเขาบริเวณนั้นก็ชื่อว่า 
“เขานางทอง” 
          เนื่องจากนางทองเป็นหญิงสาวสวยงามมาก เป็นที่พอพระทัยของพระมหาพุทธสาคร จึงได้รับการอภิเษกเป็นมเหสี ใช้ชีวิตร่วมกับพระร่วงปกครองเมืองพานให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก (บริเวณวังที่ประทับนี้เองซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังพานเก่า ในช่วงที่มีความเจริญมีวัดตั้งอยู่ ปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์ได้มากันเขตไว้เป็นที่สาธารณะ บริเวณนี้ชาวบ้านเคยไถนาแล้วพบซากวังเก่า ๆ มากมายและที่สำคัญได้พบ “พระอู่ทอง” และ “พระวังพาน”)
          ในบริเวณวังที่ประทับของพระมหาพุทธสาครมีบึงน้ำขนาดใหญ่ลึกมากมีถ้ำอยู่ใต้น้ำ เป็นที่อยู่ของพญาจระเข้ยักษ์ ทุกครั้งที่นางทองออกมาอาบน้ำในบึงแห่งนี้ จระเข้จะลอยมาแอบมองด้วยจิตเสน่หา วันหนึ่งขณะที่นางทองอาบน้ำอยู่พญาจระเข้ได้ตรงรี่เข้าไปหานางทองแล้วคาบหนีออกจากบึง เมื่อพระมหาพุทธสาครทราบเรื่องจึงโกรธมากรีบเสด็จติดตามโดยด่วน และทันที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงเพชร เข้าช่วยนางทองออกมาได้ ด้วยความโกรธจึงได้สาบให้พญาจระเข้ยักษ์เป็นหินอยู่ตรงนั้น 
          ปัจจุบันบริเวณที่จระเข้ถูกสาปมองไม่ค่อยจะออกแล้วว่ามีร่องรอยของจระเข้หินอยู่เพราะชาวบ้านได้ขุดดินใช้พื้นที่ทำการเกษตรและค้นหาสมบัติบริเวณส่วนหัว ลำตัว และอื่น ๆ ของพญาจระเข้ อย่างไรก็ตามหลังจากมีแนวความคิดที่จะฟื้นฟูถนนพระร่วงบริเวณจระเข้หิน หรือจระเข้ปูนตามที่ชาวบ้านนิยมเรียกกัน
Share:

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (อังกฤษ: Aphroditeเสียงอ่าน: /ˌæfrəʊˈdaɪti/; กรีก: Ἀφροδίτη; ละติน: Venus) เป็นเทพเจ้ากรีกแห่งความรัก, ความปรารถนา, และความงาม ชื่ออื่นๆ ที่เรียก “ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย” (Cytherea) ตามชื่อสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีราซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เกิดของแอโฟรไดที สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแอโฟรไดทีได้แก่ต้นเมอร์เติล (Myrtle), นกพิราบ, นกกระจอก และ หงส์
เทพีแอโฟรไดทีทิเทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน
แอโฟรไดทีทรงเป็นเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ทั้งความรักที่บริสุทธิ์ และความรักที่เต็มไปด้วยตัณหา และความริษยา ทรงครอบครองสายคาดวิเศษที่สามารถมัดใจเทพและชายทุกคนได้ในทันที ทรงเป็นผู้ให้พรเพื่อให้ผู้มีความรักสมหวัง ในขณะเดียวกันก็ทรงสามารถที่จะทำลายความรักของผู้ที่พระนางไม่พอใจได้ในทันที

การกำเนิดของแอโฟรไดทีมีอยู่ 2 ความเชื่อ ความเชื่อแรกนั้นเชื่อว่าแอโฟรไดทีถือกำเนิดขึ้นจากฟองน้ำในมหาสมุทร และความชื่อที่สองเชื่อว่าแอโฟรไดทีเป็นบุตรีของซุสกับนางไดโอนี
คำว่า อะฟรอส ในชื่อของแอโฟรไดที หมายถึงฟองน้ำทะเล และคำว่าแอโฟรไดที ก็หมายถึง เกิดขึ้นจากฟองน้ำทะเล
เชื่อกันว่าเมื่อครั้งที่โครนอสทำการโค่นอำนาจจากยูเรนัส โครนอสได้โยนบิดาของตนเองลงในมหาสมุทร ทำให้เกิดฟองน้ำที่มีเด็กหญิงอยู่ภายในขึ้น และหลังจากเด็กหญิงผู้นั้นเติบโต เธอก็ลอยมาติดฝั่งพาฟอส ของไซปรัส โดยมีเปลือกหอยเป็นพาหนะ
อีกความเชื่อหนึ่ง เชื่อว่าแอโฟรไดทีเป็นบุตรของซุส และไดโอนีแห่งเกาะดอโดน่า และว่าไดโอนีคือมเหสีองค์แรกของซูสก่อนที่จะสมรสกับเทพีเฮรา
เทพีแอโฟรไดทีเป็นหนึ่งในเทพีที่เลื่องชื่อด้านความสัมพันธ์เชิงชู้สาวมาก พระนางได้รับบัญชาจากซุสให้สมรสกับเทพเฮเฟตัสผู้อัปลักษณ์และพิการ ซึ่งเป็นบุตรชายของซุสกับเฮรา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเทพและเทพีทั้งสองกลับไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เทพีแอโฟรไดทีทรงมีความสัมพันธ์กับเทพและชายหนุ่มมากมายที่ไม่ใช่สวามีของตนเอง จนเกิดเรื่องราวนับไม่ถ้วน
หนึ่งในชู้รักของเทพีแอโฟรไดทีทีคือเทพแอรีส เทพแห่งสงครามผู้เป็นบุตรชายอีกองค์ของซุสและเฮรา เทพเฮเฟตัสได้ดัดหลังทั้งคู่ด้วยการวางกับดักตาข่ายไว้ที่เตียงนอน เมื่อถึงเวลาเช้าที่แอรีสจะหลบออกไปจากห้องบรรทมของแอโฟรไดที ทั้งเทพแอรีสและเทพีแอโฟรไดทีจึงรู้ตัวว่าติดกับดัก และต้องทนอับอายต่อการที่ถูกเทพทั้งมวลมองดูร่างเปลือยเปล่าของทั้งคู่อยู่เป็นเวลานาน
นอกจากแอรีสแล้ว แอโฟรไดทียังมีชายชู้อีกหลายคนรวมถึง อะโดนิส และเฮอร์มีสด้วย

แอโฟรไดทีมีบุตรกับแอรีส 3 องค์ คือ
  1. อีรอส หรือ คิวปิด ผู้เป็นกามเทพ
  2. แอนติรอส ผู้เป็นเทพแห่งรักที่ไม่สมหวัง การรักตอบ และเป็นผู้ลงโทษผู้ที่ดูถูกความรัก
  3. ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี่ ผู้เป็นเทพีแห่งความปรองดอง
บุตรของแอโฟรไดทีกับเฮอร์มีส มี 1 องค์ คือ เฮอร์มาโฟรไดตุส ซึ่งเป็นเทพผู้คุ้มครองเพศที่ 3
นอกจากนี้แอโฟรไดทียังมีบุตรเจ้าชายแอนคีซีสแห่งโทรจันซึ่งเป็นมนุษย์ 1 คน คือ อีเนียส ผู้เป็นกำลังสำคัญในสงครามแห่งทรอย
Share:

ประจำวันเกิด

ผู้เกิดวันอาทิตย์
พระปางถวายเนตร เสริมวันเกิด
เสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 เสริมการค้า
พระแก้วมรกต เสริมความสำเร็จ
พระแม่ลักษมี เสริมความร่ำรวย
พระโพธิสัตว์กวนอิม เสริมความสุข
ผู้เกิดวันจันทร์
พระปางถวายเนตร เสริมวันเกิด
พุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เสริมการค้า
กุมารทอง เสริมเรียกลูกค้า
นางกวัก เสริมกวักเงิน กวักทอง
ผู้เกิดวันอังคาร
พระปางไสยาสน์ เสริมวันเกิด
พระแก้วมรกต เสริมการค้า
พระพุทธชินราช เสริมความสมหวัง
รัชกาลที่ 5 เสริมความสำเร็จ
พระนารายณ์ เสริมขจัดศัตรูหมู่
ผู้เกิดวันพุธ
พระปางอุ้มบาตร เสริมวันเกิด
พระหลวงปู่ปาน เสริมความรวย
รัชกาลที่ 5 เสริมการค้า
พระแม่อุมา เสริมความสำเร็จ
ผู้เกิดวันพฤหัส
พระปางสมาธิ เสริมวันเกิด
พระพุทธชินราช เสริมความสำเร็จ
พระสิวลี เสริมเสน่ห์
พระแม่อุมาเทวี เสริมอำนาจ
ปู่ฤาษี เสริมความสำเร็จ
ผู้เกิดวันศุกร์
พระปางรำพึง เสริมวันเกิด
รัชกาลที่ 5 เสริมงาน
พระโพธิสัตว์กวนอิม เสริมชีวิต
พระแก้ว เสริมความสำเร็จ
ผู้เกิดวันเสาร์
พระปางนาคปรก เสริมวันเกิด
รัชกาลที่ 5 เสริมความสำเร็จ
หลวงพ่อโสธร เสริมการงาน
พระนารายณ์ เสริมอำนาจ
Share: