
นอสตราดามุส หรือ มิเชล เดอ นอสตราดาม (Michel De Nostradame) เป็นแพทย์ และโหราจารย์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส เชื้อสายยิว เกิดวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1503 ที่เมืองแซงต์ เรมี ในครอบครัวนายทะเบียนผู้รุ่งเรืองของเมือง นอสตราดามุสจบการศึกษาด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ ปี ค.ศ. 1525 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ 1566 ด้วยโรคเกาต์
นอสตราดามุส เป็นชาว ฝรั่งเศส มีชื่อเต็มว่า “มิเชล เดอ นอสเตรอดัม (Michel de Nostredame) ” ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามจากชาวโลกว่าเป็น “ราชาโหรโลก” หรือ “ปรมาจารย์แห่งโหราศาสตร์เอกของโลก” นี้โดยทั่วไปผู้คนรู้จักเขาในชื่อที่เป็นภาษาละตินว่า “นอสตราดามุส” (NOSTRADAMUS) เขาเกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1503 ตามแบบปฏิทินจูเลียนโบราณ ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1503 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 (ค.ศ. 1498 - ค.ศ. 1515) ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียน บ้านเกิดอยู่ที่ เมืองแซงต์ เรมี เดอ โปรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวของ “ช้าคส์ กับ เรอเน เดอ นอสเตรดัม” นายทะเบียนผู้รุ่งเรืองของเมือง
ปูมหลังชีวิตของนอสตราดามุส
1.พื้นฐานทั่วไป
นอสตราดามุส เกิดร่วมสมัยกับ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther 1483-1546) ผู้นำแห่งศาสนาคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ชาวยิว ทุกคนให้เปลี่ยนศาสนาเดิมมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เรียกว่า คริสเตียน โดยเข้ารับศีลจุ่ม (บัปติสมา) ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนระอุ ครอบครัวนอสตราดามุสไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า ผู้นำของครอบครัวเป็นปัญญาชนรักชาติรักแผ่นดิน รักที่อยู่อาศัยมากกว่าที่จะเป็นพลเมืองชั้นสอง ที่ต้องคอยหลบลี้หนีภัยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครอบครัวยิวในฝรังเศสจึงเลือกทางออกด้วยการรับศีลเข้ารีตเป็นคริสเตียน แต่ภายในบ้านก็ยังยึดถือปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของยิวอย่างลับๆ มาโดยตลอด ชีวิตของนอสตราดามุสจึงเติบโตขึ้นมาในสภาพที่เคยชินต่อการซ่อนเร้นปกปิดสถานภาพที่แท้จริงของครอบครัวในสายตาชาวบ้านเรื่อยมา ด้วยการอยู่ภายใต้สภาวการณ์ดัวกล่าว ทำให้นอสตราดามุสเรียนรู้ชีวิตของการหลบหลีกหนีภัยมาตั้งแต่เด็ก มีสัญชาตญาณแห่งการเอาตัวรอดดีกว่ากาลิเลโอ ทั้งๆ ที่ผลงานของนอสตราดามุส ที่ชนชั้นกษัตริย์ และสาธารณชน รวมทั้งทั่วยุโรป รับรู้กันในสมัยนั้น มีลักษณะของการท้าทายและขัดต่อกฏเกณฑ์ของศาสนจักรมากกว่าของกาลิเลโอหลายเท่า
2.พื้นฐานครอบครัว
นอสตราดามุส มีความระแวดระวังภัยรอบตัว มาแต่อ้อนแต่ออก จึงทำให้เขารอดจากการจ้องจับผิดของเจ้าหน้าที่สังฆจักรโรมันคาทอลิกอยู่เรื่อยมา ชื่อนอสตราดามุสอยู่ในบัญชีดำ เป็นผู้ถูกเพ่งเล็งหมิ่นเหม่ต่อการถูกเรียกตัวเข้าคอกเป็นจำเลยเพื่อไต่สวนหลายครั้ง แต่ความเป็นนายแพทย์ที่สร้างคุณประโยชน์ อาจหาญรักษาเพื่อนร่วมชาติที่ล้มตายด้วยโรคระบาดตามหัวเมืองต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงความน่าสยอดสยองของโรคร้าย ความดีอันนี้ จึงมีส่วนช่วยเป็นเกราะกำบังภัยให้นอสตราดามุสเรื่อยมา
คุณปู่และคุณตาของนอสตราดามุส ชื่อ “ปีแอร์ เดอ นอสเตรดัม ”กับ “ฌอง แช็งต์ เดอ เรมี ” ต่างเป็น แพทย์หลวง (หมอหลวง) ในราชสำนักฝรั่งเศส ทั้งสองเป็นเพื่อนรักสนิทกัน ฝ่ายแรกมีลูกชาย “ช้าคส์” ฝ่ายหลังมีบุตรสาว “เรอเน” โตขึ้นก็จับคู่แต่งงานกลายเป็นทองแผ่นเดียวกัน
3.พื้นฐานการศึกษา
เมื่อนอสตราดามุสมีอายุครบ 14 ปี คุณปู่ แนะนำให้เข้าเรียนต่อด้านศิลปศาสตร์ ที่เมืองอาวียอง แหล่งวิชาสำคัญของฝรั่งเศสยุคนั้น นอสตราดามุสศึกษาวิชาปรัชญา, ไวยากรณ์ และศิลปการพูด ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพระ ยามว่านอสตราดามุสหนุ่มมักใช้เวลาหมดไปในห้องสมุด และที่แห่งนี้ นอสตราดามุสได้พบหนังสือหลายเล่มที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่องของไสยศาสตร์ผีสางและเวทมนตร์ รวมทั้งชีวประวัติของศาสดาพยากรณ์ ในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งทำให้นอสตราดามุสเกิดความสนใจในวิชาโหราศาสตร์มากขึ้น มากเพียงพอที่จะพลักดันให้นอสตราดามุสค้นคว้าหลักการทำนายอนาคต การเรียนการสอนในยุคสมัยนั้น ศาสตร์ต่างๆ ถูกควบคุมภายใต้กฏเกณฑ์ของศาสนจักรอย่างเข้มงวด ทฤษฎีใหม่ข้อใดที่ขัดต่อคำสอนทางศาสนาจะถูกห้ามหรือให้ใช้สอนตามแนวที่สังฆจักรอนุมัติ อาจารย์ผู้สอนในยุคนั้นเมื่อกระทบเรื่องใดที่เป็นหัวข้อหมิ่นเหม่ มักจะหันเหไปสอนลูกศิษย์ในเรื่องอื่นๆที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับตนแทน การอภิปรายในชั้นเรียน นอสตราดามุส มักจะออกหน้าปกป้องความคิดใหม่ๆของตนเอง รวมทั้งความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ มิหนำซ้ำยังยืนหยัดเชื่อใน “ทฤษฎีโคเปอร์นิคัส” นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นอสตราดามุส มีความรู้แตกฉานด้านดาราศาสตร์ หรือจะด้วยพลังจิตทัศน์ที่แผงอยู่ในตัวมาก่อน นอสตราดามุสเชื่อและยืนหยัดปกป้องทฤษฎีโคเปอร์นิคัสดังกล่าว ก่อนหน้าที่กาลิเลโอจะเสนอทฤษฎีของตนในลักษณะเดียวกันเกือบ 100 ปี เสี่ยงต่อการถูกตั้งข้อหาฉกรรจ์จากสังฆจักรในข้อหาสร้างทฤษฎีซาตานขึ้นมาขัดแย้งความเชื่อเดิม ลบหลู่ท้าทายคำสอนทางศาสนา ซึ่งในศตวรรษต่อมา กาลิเลโอได้ถูกจับไต่สวน และถูกจองจำหลายครั้งในข้อหาเดียวกัน
บิดาของนอสตราดามุส หัวเสียพร้อมผิดหวังที่ลูกชายคิดหันชีวิตมุ่งไปทางโหราศาสตร์ ด้วยคุณปู่ คนเดียวเท่านั้นที่เข้าใจความปรารถนาของหลานชาย และเป็นผู้หาทางออกให้นอสตราดามุสได้อย่างแยบยล ปีแอร์แนะนำหลานชายให้ยึดถืออาชีพการแพทย์ควบคู่ไปกับการมุ่งศึกษาด้านโหราศาสตร์ คุณปู่เชื่อว่าคนทั้งโลกอาจจะไม่ยอมรับโหราจารย์ไปเสียทั้งหมด แต่ถ้าโหราจารย์ผู้นั้นเป็นหมอรักษาคนไปด้วย ความยอมรับของผู้คนในสังคมจะมีมากกว่า และที่ลึกไปกว่านั้น ทางออกที่แนะนำหลานชายไม่เพียงแต่วางรากฐานอนาคตของนอสตราดามุสให้มั่นคงเท่านั้น แต่ยังทำให้ตระกลูนอสเตรดัมมีผู้สืบสกุลแพทย์ การตัดสินใจเรียนแพทย์ของลูกชายทำให้ผู้พ่อคลายความขึ้งใจลงไปเป็นอันมาก ดังนั้น นอสตราดามุสจึงเข้าเรียนวิชาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ ในปี ค.ศ. 1522 ด้วยวัยเพียง 19 ปี
ปี ค.ศ. 1525 นอสตราดามุส สอบผ่านจบหลักสูตร ได้ปริญญาบัตรการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ พร้อมด้วยใบประกอบโรคศิลปทางแพทย์
กาฬฝากโรค
ในยุคสมัยนอสตราดามุสนั้น เกิดกาฬโรคระบาดร้ายแรงทางตอนใต้ของฝรั่งเศส โรคระบาดทำให้ผู้คนเสียชีวิตดุจใบไม้ร่วง คนป่วยนอกจากจะได้รับความเจ็บปวดอย่างสาหัสแล้ว ยังได้รับการทรมานจากแผลที่เน่าแฟะเป็นหนอง ส่งกลิ่นเหม็นอบอวลไปทั่ว ถึงรักษาหายก็ยังฝากรอยแผลเป็นไว้ตามตัวและใบหน้า คนที่ถูกกาฬโรคเล่นงานในสมัยนั้น ไม่ต่างอะไรกับได้ตายไปแล้วทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่
นอสตราดามุสได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณและสมุนไพร จากคุณปู่และคุณตา
ปี ค.ศ. 1529 โรคระบาดเริ่มทุเลาลดลง นอสตราดามุสหวนกลับมาติดตามความตั้งใจเดิมที่ตกค้างคาใจอยู่ อยากจะเผยแผ่ทฤษฎีการแพทย์ใหม่ให้แก่สถาบัน โดยนอสตราดามุสเข้าศึกษาต่อทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ แต่คราวนี้นอสตราดามุสหนุ่ม กลายเป็นแพทย์มืออาชีพชื่อดังไปเสียแล้ว วันที่มหาวิทยาลัยนัดสอบปากเปล่าเพื่อเข้าเรียนต่อนั้น มีประชาชนจำนวนมากแห่ไปยืนออเฝ้าดูการตอบโต้ของนอสตราดามุส ต่อคณะกรรมการ ราวกับมีงานมหรสพ นอสตราดามุสตอบโต้ข้อซักถามที่คณาจารย์ป้อนคำถามมาอย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด ตอบอย่างแตกฉานและแน่นหนาในวิชา แต่ละคำตอบไม่ใช่คำตอบแบบนักศึกษาตอบอาจารย์ทั่วๆไป แต่เป็นคำตอบที่มาจากประสบการณ์นอกตำราเป็นส่วนใหญ่ เป็นคำตอบที่ล้นเปี่ยมด้วยความรอบรู้ของแพทย์มืออาชีพที่มีผลงานจริงเป็นรากฐานรองรับ บางครั้งนอสตราดามุสโต้แย้งทฤษฎีการแพทย์เก่าที่ผิดๆ ด้วยข้อพิสูจน์ทางปฏิบัติ จนไม่มีอาจารย์คนใดกล้าโต้แย้งได้ ทำให้เป็นที่ประทับใจ คณบดีของคณะแพทย์ศาสตร์ ถึงกับมอบรางวัลพิเศษ รวมทั้งแหวนแพทย์ดีเด่นให้แก่นอสตราดามุส พร้อมตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะแพทย์ศาสตร์มองต์เปลีเยร์ ชีวิตนอสตราดามุสผันแปรมากลายเป็นอาจารย์ รับบทบาทสอนวิชาแพทย์อยู่ได้ 3 ปีก็เริ่มเกิดอาการเบื่อหน่ายร้อนวิชา จิตใจรุ่มร้อนกระวนกระวายไม่เป็นสุข อยากกระโจนออกสู่โลกที่กว้างไกลกว่านี้ นอสตราดามุส ต้องการอิสรภาพทางความคิด มาตรฐานวิชาแพทย์รูปแบบใหม่ที่นอสตราดามุสวางรากฐานไว้ระหว่างที่สอนที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์เริ่มเวียนวนซ้ำซาก จนบางครั้งนอสตราดามุสสับสน ไม่รู้ว่าอันไหนเริ่มต้น อันไหนเป็นจุดลงเอย จึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย นอสตราดามุสมุ่งหน้าเลาะไปตามเมืองต่างๆที่รู้จัก และประสบความสำเร็จในวิชาชีพเมื่อครั้งรักษาโรคระบาด
ปี ค.ศ. 1534 ในที่สุดก็ปักหลักตั้งสำนักงานแพทย์ที่เมืองตูลูส เพียงไม่นานผู้คนในเมืองตูลูส และใกล้เคียงต่างรู้จักนอสตราดามุส มารับการรักษาก็มาก มาเพื่อคบค้าสมาคมเป็นเพื่อนก็หลาย ในจำนวนนี้ มี จูเลียส ซีซาร์ สคาลิงเจอร์ นักคิดนักปรัชญาชื่อดังแห่งเมืองอายอง รวมอยู่ด้วยโดยคบกันอย่างถูกอัธยาศัยจนกลายเป็นเพื่อนสนิท อายองเป็นเมืองที่มีอากาศดี มีแสงแดด แห้งไม่เปียกชื้น ในเวลาต่อมา นอสตราดามุสได้ตัดสินใจย้ายมาตั้งรกรากอยู่ในเมืองนี้
คนหนุ่มโสดหน้าตาดีมีความรู้ดี มีอาชีพมั่นคง มีเกียรติในสังคมอย่างนอสตราดามุส ย่อมเป็นบุรุษเนื้อหอมของเมืองอายอง หญิงสาวในระดับไฮโซตระกูลร่ำรวยหลายคนอยากได้นอสตราดามุสเป็นคู่ครอง ในที่สุดนอสตราดามุสตัดสินใจสละโสดเข้าพิธีแต่งงานกับหญิงสาวรวยทรัพย์มากเสน่ห์คนหนึ่งของเมือง โดยมีบุตรชายและบุตรสาวอย่างละหนึ่งคน นอสตราดามุสใช้ชีวิตช่วงนี้อย่างบรมสุขแวดล้อมด้วยสิ่งดีๆที่ประเสริฐเท่าที่ชีวิตคนคนหนึ่งจะถึงแสวงหามาได้ คบหาเพื่อนฝูงระดับปัญญาชนคอยป้อนอาหารทางความคิดในตอนกลางวัน มีภรรยาและลูกๆคอยหว่านพืชผลแห่งความรักอย่างอบอุ่นในตอนค่ำ ชีวิตของนอสตราดามุสในช่วง 3 ปีนั้น จึงเป็นชีวิตที่เหมือนตกอยู่ในฝันทั้งยามหลับและยามตื่น
ปี ค.ศ. 1537 โรคระบาดที่ทะลักมาจากเมืองอื่นเริ่มเข้ามาคุกคามเมืองอายอง มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้ยินเสียงล้อรถเก็บศพดังกระทบแผ่นหินบนถนนของเมืองทั้งกลางวันและกลางคืน นอสตราดามุสรวบรวมความรู้ประสการณ์ที่เคยมีมา ออกตระเวนรักษาคนป่วยอย่างเต็มกำลัง ทุกวันก่อนที่จะออกจากบ้านไปปราบโรคร้าย เขาต้องกล่าวอำลาลูกเมียเยี่ยงสามีที่ดีทั้งหลาย หาได้เฉลียวใจสักนิดไหมว่า ความวิบัติหายนะกำลังคืบคลานเข้ามาสู่ตนกับครอบครัวของนอสตราดามุสอย่าน่าสะพรึงกลัว
คืนวันหนึ่ง นอสตราดามุสกลับมาถึงบ้าน พบลูกและเมียตัวเองมีอาการไข้ ตามใบหน้าและลำตัวเริ่มมีแผลพุพองของเชื้อกาฬโรค นอสตราดามุสเพิ่งรู้ว่าโรคร้ายได้กรายเข้ามาใกล้ตัวอย่างไม่คาดฝัน เทคนิคการแพทย์ทุกชนิดเท่าที่จะสรรหามาได้ในขณะนั้นถูกนำมารักษาภรรยาและลูกทั้งสองจนหมดสิ้น มือแพทย์ฉมังที่เคยรักษาคนไข้ให้หายจากโรคร้าย นับพันนับหมื่น พอถึงเวลาเข้าจริงๆ กลับรักษาคนใกล้ตัวอันเป็นที่รักไว้ไม่ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่างรวดเร็วเหมือนถูกสวรรค์แกล้ง ภรรยาและลูกทั้งสองของนอสตราดามุสต้องจบชีวิตด้วยโรคร้ายในคราวนั้น
เหตุการณ์เศร้าสลดของนอสตราดามุส ทำให้ชาวเมืองอายอง แสดงธาตุแท้ของมนุษย์ออกมาด้วยการปฏิเสธ ไม่ยอมรับให้ความเชื่อถือในวิชาแพทย์ของนอสตราดามุสที่ใช้รักษาอีกต่อไป รวมทั้งญาติฝ่ายภรรยาผู้ทรงอิทธิพลในเมืองที่เสียใจกับการสูญเสียออกมาซ้ำเติม ทำให้เหตุการณ์เลวร้าวลงไปอีก อีกทั้งเพื่อนๆ ปัญญาชนที่เคยสนิท อย่างจูเลียส ซีซาร์ สคาลิงเจอร์ ที่รักใคร่สนิทสนมกันหนักหนา ครั้นนอสตราดามุสประสบปัญหาชีวิตส่วนตัว แทนที่จะช่วยยามตกยากตามประสาเพื่อนที่ดี กลับตีตัวออกห่าง ตัดไมตรีความเป็นมิตรกับนอสตราดามุสอย่างไม่มีเยื่อใย ทำให้นอสตราดามุสผิดหวังเสียใจเพิ่มขึ้นไปอีก
เชื่ออะไรไม่เชื่อไปเชื่อคนบ้า ผมอ่านประวัติคุณนอสมาร่วม13ปี จนปัจจุบันก็........มึงโม้ไงไอ้นอส
ตอบลบ