วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การทำงานร่วมกันกับมรรคมีองค์แปด(ด้วยภาพ)


สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ
พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น
ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่าง
Share:

การบวชในพระพุทธศาสนา

ศัพท์ว่า บวช มาจากศัพท์บาลีว่า “ปัพพัชชา” (ซึ่งมาจาก ป + วัช + ธาตุ) หมายความว่า ออก หรือเว้นจากความพันพัวกับการครองเรือน ตลอดไปถึงจากความประพฤติชั่ว ได้แก่การหลีกออกจากบ้านเรือนไปหาที่สงัด ที่ไกลจากบ้านเรือน เช่น ในป่า ทำที่พักพออาศัยอยู่ได้ เช่น บรรณศาลา (ทับใบไม้) เพื่อทำความสงบระงับชั่วคราวบ้าง ตลอดไปบ้าง เขาถือกันว่าเป็นการประกอบการกุศลหรือบุญอย่างสูง มีมาก่อนแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นาน

ตามประวัติแสดงว่า เมื่อชาวอริยกะเข้าไปในอินเดีย ในชั้นต้นนับถือ เทวะ หรือ เทพเจ้า ครั้นแล้วก็เลื่อนมานับถือพระพรหม จึงบูชาเซ่นสรวง และอ้อนวอน เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนปรารถนา ต่อมาก็คิดเห็นขึ้นว่า ชีวิตนี้ย่อมสืบเนื่องมาจากกรรมเก่าซับซ้อนขึ้นไปจนกำหนดไม่ได้ แต่ข้อสำคัญที่สุดนั้น เมื่อเกิดมาก็ย่อมมีสุขและทุกข์เจือกันไป ส่วนที่เป็นสุขก็ชอบใจ แต่ส่วนที่เป็นทุกข์ก็ไม่ชอบไม่อยากได้พบเห็น จึงคิดหาทางหนีทุกข์ และก็เห็นต่างๆ กัน จึงประกอบการที่เห็นว่าเป็นตบะต่างๆ กัน การบวชครั้งนั้น ก็เป็นตบะอย่างหนึ่ง (วิธีบำเพ็ญตบะนั้นต่างๆ กันตามความคิดเห็น ไม่กล่าวไว้ ในที่นี้)

มีเรื่องเล่าไว้ว่า กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง ไปบวชเป็นฤษี เช่น พระชนก กษัตริย์ผู้ครองกรุงมิถิลา ออกไปบวชเป็นฤษี ในเรื่องรามายณะ เป็นต้น แม้ในพระพุทธประวัติตอน ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็มีเรื่องแสดงว่า อาฬารดาบส อุททกดาบส พระชฏิล ๑,๐๐๐ สัญชัยปริพาชกกับบริวาร ฤษีปัญจวัคคีย์ ออกบวชอยู่ก่อนแล้ว คนรักษาศีล ๘ ในวันพระชั่ววันและคืนหนึ่ง และคนรักษาศีล ๕ ก็น่าจะนับเข้าในการบวชด้วย แต่ยิ่งหย่อนกว่ากันตามชั้น เพราะฉะนั้น จึงมีพระพุทธภาษิต (คำที่พระพุทธเจ้ากล่าว) แสดงธรรมะหมวดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สัปปุริสบัญญัติ (ข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้) บัณฑิตบัญญัติ (ข้อที่บัณฑิตตั้งไว้) มีธรรม ๓ ข้อ คือ ทาน การให้ ๑ บัพพัชชา การบวช ๑ มาตาปิตุปัฏฐาน การบำรุงมารดาบิดา ๑ นี้แสดงว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง แต่สัตบุรุษและบัณฑิตได้บัญญัติไว้ก่อนแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงนำมาแสดงเท่านั้น

พระโพธิสัตว์ (เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้าเมื่อยังไม่ได้ตรัสรู้) เมื่อทรงเป็นผู้ครองเรือนอยู่ แม้ทรงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ คนใช้ ที่อยู่ ยศ อำนาจ แต่ทรงนึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย ว่ามีประจำแก่พระองค์และคนอื่นๆ ทั่วไป ไม่มีใครล่วงพ้น ทรงสลดจิต มุ่งหมายจะหาเครื่องแก้ ซึ่งเรียกว่าโมกขะ แปลว่า “พ้น”' จึงเสด็จออกบวช ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงพระกรุณา (สงสาร) คนอื่น ทรงคิดและแสดงธรรมสั่งสอน แต่ทรงเห็นว่าธรรมที่พระองค์ได้ประสบนั้นละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ยากที่ผู้ยังยินดีติดอยู่ในโลกจะรู้ตามได้ จึงทรง ท้อพระหฤทัยที่จะแสดงธรรมสั่งสอน แต่ก็อาศัยพระกรุณาและทรงพิจารณาเห็นว่า ผู้มีปัญญาและมีกิเลส (เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) น้อยสามารถฟัง และตรัสรู้ตามได้ก็มีอยู่ จึงทรงตั้งจิตที่จะแสดงธรรมสั่งสอนสืบไป

ในชั้นต้น ทรงพิจารณาหาผู้ฟังที่พอจะตรัสรู้ตามได้เร็วก่อน จึงเสด็จไปสั่งสอนฤษีปัญจวัคคีย์และชฏิล ๑,๐๐๐ เป็นต้น และทรงสั่งสอนกษัตริย์ พราหมณ์ อำมาตย์ เศรษฐี คฤหบดี เพราะคนเช่นนี้เคยเล่าเรียนมีความรู้สูงมาแล้ว ทั้งเป็นผู้หน่ายในทางโลกมาแล้วก็มี สามารถฟังเข้าใจได้ง่าย เมื่อผู้ฟังได้ศรัทธา ความเชื่อ และปสาทะ ความเลื่อมใส ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าก็ทรงรับด้วยพระวาจาว่า (เอหิภิกขุ) ท่านจงเป็นภิกขุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ (คือการปฏิบัติดีที่เป็นส่วนเหตุ) เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เพียงเท่านี้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าบวชเป็นภิกขุในพระพุทธศาสนา การบวชเช่นนี้ เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ผู้รับอุปสมบทเช่นนี้ เรียกว่า เอหิภิกขุ เมื่อมีภิกขุในพระพุทธศาสนาขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงส่งภิกขุทั้งหลายให้ไปเที่ยวประกาศพระศาสนาในทิศต่างๆ เมื่อมีผู้เชื่อและเลื่อมใสปรารถนาจะบวช พระสาวกต้องนำมาเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลขอให้พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบท ทั้งภิกขุผู้อาจารย์ทั้งกุลบุตรผู้จะบวช ต้องลำบากในการเดินทางเป็นต้น พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ภิกขุนั้นๆ ให้บวชกุลบุตรได้เอง ด้วยให้โกนผมและหนวดก่อน แล้วให้นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดที่เรียกว่า กาสาวะ หรือกาสายะ ให้นั่งกระหย่งประณมมือ และกราบภิกขุ แล้วสอนให้ว่าตามว่า “(พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ) ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ” ๓ หน เพียงเท่านี้ ผู้นั้นก็ได้เป็นภิกขุในพระพุทธศาสนา การบวชเช่นนี้เรียกว่า ติสรณคมนอุปสัมปทา แปลว่า อุปสมบท ด้วยถึงสรณะ ๓

ครั้นเมื่อมีภิกขุในพระพุทธศาสนามากขึ้น และตั้งมั่นดีแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมอบการอุปสมบทให้เป็นกิจของสงฆ์ คือหมู่พระสาวกประชุมกัน ในมัชฌิมประเทศตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป ในปัจจันตประเทศตั้งแต่ ๕ ขึ้นไป จัดการ ให้กุลบุตรอุปสมบท มีภิกขุรูปหนึ่งเป็นผู้นำเข้าหมู่ ซึ่งเรียกว่า อุปัชฌายะ มีภิกขุอีกรูปหนึ่งสวดประกาศ บอกความที่กุลบุตรนั้นขออุปสมบท และท่านมีชื่อนั้นเป็นผู้รับนำเข้าหมู่ ประกาศคราวแรก เรียกว่า ญัตติ แปลว่า คำประกาศให้สงฆ์รู้ ครั้นแล้วสวดประกาศอีก ๓ คราว เรียกว่า อนุสาวนาที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ เมื่อภิกขุที่ประชุมกันเป็นสงฆ์นั้นไม่คัดค้าน ก็เป็นอันสำเร็จการบวชเป็นภิกขุ การบวชด้วยวิธีนี้ เรียกว่า ญัตติติจตุตถกรรมอุปสัมปทา คือ อุปสมบทด้วยกรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ เมื่อทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมนี้แล้ว ให้เลิกอุปสมบทด้วยติสรณคมนอุปสัมปทา แต่นั้นมา

ในตอนต้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงกำหนดอายุผู้อุปสมบท จึงมีคนที่อายุน้อยยังเป็นเด็กอยู่ เข้ามาบวชเป็นภิกขุแล้ว ยังประพฤติอย่างเด็กอยู่ ไม่สามารถปฏิบัติดีได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งกำหนดอายุผู้จะอุปสมบทว่า ต้องมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จึงจะบวชได้ และทรงอนุญาตให้เด็กชายที่มีอายุพอสมควร แต่ยังไม่ถึง ๒๐ ปีบริบูรณ์ บวชเป็นสามเณร ด้วยถึงสรณะ ๓ ดังที่ได้ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกขุมาแล้วเละเลิกเสียนั้น การบวชเป็นสามเณร เรียกว่า ปัพพัชชา หรือบรรพชา บวชเป็นภิกขุ เรียกว่า อุปสมบท เมื่อมีสตรีปรารถนาจะบวช และมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกขุนี ถ้ามีอายุยังไม่ครบ ก็ทรงอนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาและสามเณรีโดยลำดับ แต่ภิกขุนีนี้ได้เลิกมาเสียนานแล้ว เพราะมีเหตุขัดข้องหลายประการ เช่น ไม่มีภิกขุนีสงฆ์พอ เป็นต้น

ในตอนต้น พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงบัญญัติพระวินัยที่เป็นข้อบังคับ เป็นแต่ทรงแสดงธรรมแนะนำให้ปฏิบัติเท่านั้น ผู้บวชก็บวชด้วยศรัทธา ความเชื่อ ปสาทะ ความเลื่อมใสจริงๆ เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนและตามจรรยาที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกปฏิบัติอยู่ ต่อมาเมื่อนิยมการบวชมากขึ้น

หน้าที่ของผู้บวช

เมื่อผู้บวชได้บวชแล้ว ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระวินัยที่เป็นพระบัญญติที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ด้วยศึกษาธรรมะ คือเรียนและปฏิบัติธรรมะตามความสามารถ ตามความหมายเดิมของพระพุทธศาสนา ให้เป็นบัพพชิตที่ดีเสมอกับบรรพชิตที่มีด้วยกันตามพระพุทธภาษิตว่า สมโณ อัสส สุสสมโณ สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี ดังนี้

การเรียนธรรมะ ก็คือเรียนจำธรรมะ ๑, พิจารณาเนื้อความของธรรมะที่เรียนจำนั้น ให้เข้าใจเนื้อความ ๑, พิจารณาดูธรรมะนั้นๆ สอบดูที่ตนให้รู้ว่าตนเองได้มีธรรมะนั้น ๆ อยู่ที่ตนเพียงไร หรือไม่มี ๑, นี้เป็นปริยัติ คือเรียน หรือปริยัติธรรม ธรรมคือเรียน, ครั้นแล้วจึงปฏิบัติธรรมะที่พิจารณาเห็นว่าควรปฏิบัติตามสมควร นี้เรียกปฏิบัติ หรือปฏิบัติธรรม ธรรมคือปฏิบัติ เมื่อได้ปฏิบัติไปได้ประสพผลอย่างไร อันเกิดสืบมาแต่ปฏิบัติ นี้เรียกปฏิเวธคือรู้ตามเป็นจริง หรือปฏิเวธธรรม ธรรมคือรู้ตามเป็นจริง

การปฏิบัติธรรมแยกออกเป็น ๒ คือ ตั้งจิตให้กำหนดอยู่ในที่มุ่ง (ที่เรียกว่า อารมณ์) อันเดียว ไม่ให้ฟุ้งส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ เรียกว่าสมถะ ๑ พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า วิปัสสนา ๑

พระพุทธศาสนาแสดงว่า บุคคลถึงจะได้ประสพผลดีมีอำนาจมากจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เหมือนกันหมด จะต่างกันก็เพียงช้าบ้าง เร็วบ้าง เพราะกำหนดนับเท่านั้น ถ้าว่าจ๋าเพาะเบื้องต้นกับเบื้องปลาย ก็คงเกิดและดับเหมือนกันหมด ไม่มีพิเศษกว่ากันเลย ความแก่ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ไม่มีใครชอบ แต่ที่ความแก่ ความเจ็บ ความตายมีก็เพราะมีความเกิดเป็นต้นเหตุ และความเกิดนั้นก็มีเพราะเหตุต่อขึ้นไปอีกคือ ตัณหา ความตื้นรนใจ (แสดงตามนัยแห่งอริยสัจจ์ ๔) เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวก จึงทำอริยมรรคให้เกิดขึ้น คือปฏิบัติตามอริยมรรค กำจัดตัณหาเสีย เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีเกิด เมื่อไม่มีเกิด ก็ไม่มีไม่มีเจ็บไม่มีตาย เป็นอันพ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง

ผู้นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อพิจารณาเห็นจริงด้วยใจแล้ว แม้ยังยินดีติดอยู่ในโลก เห็นว่าตนไม่สามารถจะปฏิบัติเพื่อตัดตัณหาในชาตินี้ได้ แต่ก็ปรารถนาจะให้มีนิสัยปัจจัยเพื่อให้สิ้นชาติสิ้นภพในกาลต่อไป จึงตั้งใจบวชชั่วคราวบ้าง ยืดยาวต่อไปบ้าง และเห็นว่าบวชเป็นบุญที่ให้ผลเป็นสุขในภพต่อไปบ้าง เห็นความที่ต้องเป็นกังวลกับกิจการต่าง ๆ ของผู้ครองเรือน เป็นความทุกข์ยากลำบากบ้าง จึงบวชก็มี ผู้บวชเหล่านี้ เมื่อบวชแล้วก็มุ่ง ศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ไม่ล่วงละเมิดด้วยไม่มียางอายแก่ใจ เมื่อเห็นว่าตนหมดอุตสาหะในการที่จะบวชอยู่ต่อไป ก็ลาสิกขา คือสึกออกไป

อนึ่ง ในครั้งก่อนยังไม่มีโรงเรียน ยังไม่มีการฝึกสอนในทางศาสนา ในทางปกครอง และในความรู้อื่นๆ อันเป็นเบื้องต้น แม้แต่การเรียนหนังสือไทย ผู้บวชจึงเป็นอันหัดเป็นผู้ใหญ่ปกครองตัวเองด้วย และถ้าต้องการจะเรียนอะไรที่สมควรและพอจะหาเรียนได้ ก็หาเรียนทางนั้น เช่น เรียนหนังสือเป็นต้น จึงนิยมกันว่าผู้บวชแล้วเป็นคนดีมีความสามารถ

ภายหลังต่อมา ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ พระเจ้าแผ่นดินทรงพระกรุณาจัดการศึกษาขึ้น มีโรงเรียนให้กุลบุตรได้เล่าเรียน จนถึงส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศก็มี และมีโรงเรียนสตรีขึ้นด้วย การบวชจึงมีน้อยลง แต่ก็ยังมีผู้ใหญ่พอใจให้ผู้อยู่ในปกครองได้บวชบ้าง ผู้บวชพอใจบวชเองบ้าง จึงยังมีการบวชสืบต่อมาจนบัดนี้

แต่ก็เป็นธรรมดา เมื่อมีผู้บวชที่ดี ก็ย่อมมีผู้บวชที่ชั่วแทรกแซงไป ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงบัญญัติพระวินัยมาเป็นลำดับ ในภายหลัง ตามที่ปรากฏในกฎหมายพระสงฆ์ มีผู้บวชที่ฝ่าฝืนพระพุทธบัญญัติมากขึ้น พระวินัยพุทธบัญญัติ ไม่สามารถปกครองผู้บวชได้ดีพอ พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภก จึงต้องทรงออกกฎหมายช่วยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า กฎหมายพระสงฆ์ คือลงโทษพระสงฆ์ผู้ประพฤติ ฝ่าฝืนให้มีโทษทางฝ่ายบ้านเมืองด้วยอีกส่วนหนึ่ง ทรงตั้งกรมธรรมการและสังฆการีให้ช่วยคอยดูแลสอดส่องและลงโทษ แต่ก็ยังไม่สามารถทำผู้บวชให้ดีได้ทั่วถึงอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น เมื่อรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงผนวช ประทับที่วัดมหาธาตุ ได้ทรงเห็นทรงทราบความเป็นไปของผู้บวชอยู่ในครั้งนั้น ทรงทนอยู่ไม่ได้จึงทรงแสวงหาพระที่ดี ทรงสอบสวนจนพอพระหฤทัย จึงทรงอุปสมบทใหม่พร้อมด้วยผู้สมัครใจเข้าร่วมด้วย ในชั้นต้นก็น้อย ต่อมาจึงมากขึ้นโดยลำดับ จนเป็นพระคณะธรรมยุตขึ้น และทรงปกครองเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่ในกรมธรรมการ เมื่อทรงลาผนวชเพราะต้องทรงรับอาราธนาให้ครองราชสมบัติ ก็ทรงมอบการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต แก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ให้ทรงปกครองสืบต่อมา และสืบต่อมาถึงทุกวันนี้ แม้พระธรรมยุตเองในบัดนี้ เมื่อมีมากออกไป ก็ย่อมมีผู้ไม่เอื้อเก้อต่อพระธรรมวินัยมากขึ้น ไม่เหมือนเมื่อแรกมี เพราะความมากนั่นเอง จึงดูแลปกครองกันไม่ทั่วถึงด้วย ผู้บวชไม่มีศรัทธา ปสาทะพอ มุ่งประโยชน์อย่างอื่นด้วย.
Share:

อุปสมบท หรือบวช

ชายเมื่อมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์ จะสามารถอุปสมบท หรือบวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาธรรมวินัยนำมาเป็นหลักในการประพฤติปฎิบัติต่อไปในการออกมาครองเรือนในภายภาคหน้าได้ สำหรับก่อนการบวชเรียนจะมีการไปอยู่วัดเพื่อเตรียมฝึกหัดในการท่องคำขานนาค และฝึกหัดซ้อมเกี่ยวกับวิธีบวช ในช่วงที่มาอยู่วัดนี้ ชาวบ้านจะเรียกผู้เตรียมตัวจะบวชว่า "นาค" หรือ " "พ่อนาค" "
อาจมีหลายๆคนสงสัยว่า ทำไมต้องเรียกผู้จะบวชว่านาค ทำไมไม่เรียกชื่ออื่น ประวัติความเป็นมาของคำว่า ""นาค" อาจทำให้หลายๆคนหายข้องใจได้ ซึ่งประวัติของคำว่า "นาค" มีดังนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ มีพญานาคผู้หนึ่งได้แปลงร่างเป็นมนุษย์เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ อยู่มาวันหนึ่งได้เผลอนอนหลับ ร่างจึงกลับกลายเป็นพญานาคดั่งเดิม ภิกษุอื่นไปพบเข้าก็เกิดความเกรงกลัว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเรียกมาตรัสถาม ได้ความว่าเพราะเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงปลอมตัวมาบวช พระพุทะองค์ทรงดำริว่าสัตว์ดิรัจฉานไม่อยู่ในฐานะควรจะบวช จึงโปรดให้ลงเพศบรรพชิตกลับไปเป็นาคดั่งเดิม แต่ภิกษุนั้นมีความอาลัย จึงขอฝากชื่อนาคไว้ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีคำเรียกขานคนที่ต้องการจะบวชว่า "นาค" สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
Share:

ธรรมวิธี.........ลดเคราะห์ บรรเทา "กรรม"

๑ สิทธิการิยะ พระอาจาริยเจ้าได้ถ่ายทอดธรรมวิ๔เพื่อโปรดสัตว์ให้มีสุข พ้นทุกข์พอสรุปได้ความดังนี้


๑ เรื่องบุญเรื่องบาปกรรมกำหนดที่พุทธศาสนา กล่าวไว้เป็นเรื่องจริง เพราะถ้าไม่มีบุญไม่มีบาปแล้ว มนุษย์เราต้องเกิดมาเหมือนกันหมด แต่เพราะมีบุญมีบาป จึงเป็นเช่นนั้น มีดี, ชั่ว, สุข, ทุกข์, รวย, จน, มีโชค, มีเคราะห์ ฯลฯ


๑ดังอธิบายในเบื้องต้นว่าสุข ทุกข์ เกิดจากบุญ บาป กรรมดี กรรมชั่ว ดังนั้นการที่จะหลีกพ้นจากทุกข์โทษเวรภัยเคราะห์ร้ายทั้งหลาย ก็ด้วยพลังของความดีที่ตนเองได้สร้างเป็นหลักแล้ว ยังสามารถพึ่งพระรัตนตรัย ตลอดจน เทวฤทธิ์ รวมพลังบุญศักดิ์เป็นแสงสว่างแก่ชีวิทเป็นย่อเกิดความปห่งความดีงามของตนและคนอื่น


๑แก้ววิเศษ มี่ค่ามหาศาลประมาณค่ามิได้ เป็นที่พึ่งได้จริง คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงให้ตั้งนะโม นมัสการบูชาพระ ถึงไตรสรณคมณ์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สัฃฆัง สะระณัง คัจฉามิ หางศรัทธามั่งคงย่อมเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นแก้วสูงสุดในสามโลก


๑ศีลรักษาให้มีกายวาจาเป็นปรกติ ศีลล่งผลให้เกิดในที่สุขติ เทวดารักษา ไม่ไปในทางเสื่อม บางท่านบอกว่าศีลรักษายาก แต่จริงๆแล้ว ทุกท่านสามารถรักษาได้ อย่างน้อยข้อไดข้อหนึ่งก็ยังดี บางท่านมีปัญญา ก่อนนอนรักษาศีล8 ตื่นนอนรักษาศีล5 อย่างน้อยก็มีกำไรเพราะตอนนอนย่อมรักษาศีลได้อย่างแน่นอน ช่วยชำระกิเลสให้เบาบางลง ปละเป็นบุญสำคัญที่จะรองรับความดีนังให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป


๑ทานส่งผลให้มีทรัพย์ ทานมีหลายระดับแตกต่างกัน ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ พระอริยะเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระ พุทธเจ้า ย่อมมีอนิสงค์แตกต่างกันไปจนถึงสังฆทาน วิหารทาน ธรรมทาน และ จนถึงที่สุดคือ อภัยทาน ถ้าบำเพ็ญอยู่เสมอย่อมยังผลให้เกิดความคล่องตัว ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ คือ หาถาชนะอันสมควรตั้งในที่บูชา แล้วนำเงินไปใส่ไว้ในภาชนะนั้น สวดมนต์ใหว้พระ เจริญพระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า สะสมไว้จนเต็มหรือมีโอกาศก็นำไปทำบุญ ทำทุกวันเห็นผลทั้งทางโลกและทางธรรม (พระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระคาถาอื่นๆจะนำลงในเว็บภายหลัง)


๑การเจริญภาวณาก็เป็นบุญกุศลมหาศาล เพราะสามารถปราบกิเลสได้หลายตัว ตั่งแต่เริ่มตั้งตาการสวดมนต์สามารถบำเพ็ญได้ครบทั้งกาย วาจา ใจ เช่น กายพนมมือ นอบน้อม ปากสวดมนต์สรรเสริญคุณพระ ใจระลึกถึงคุณพระ ผุ้ที่สวดด้วยความเคารพตั้งใจเลื่อมใส ยังให้มีบุญประมาณมิได้ ทั้งยังเกิดสวัสดิมงคล


๑ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่ ฆ่ามนุษย์ โดยเฉพาะทำแท้ง เป็นบาปก่อให้เกิดทุกข์อุปสรรคทั้งหลายในชีวิตนานา ประการ ให้ทำบุญด้วยพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้วขึ้นไป ผ้าขาว หรือไตรจีวรไร้อมอาหารถวายเป็นสังฆทาน อนิษฐานขอบุญพระพุทธเจ้า บุญศักดิ์สิทธิ์ นำพาดวงจิตไปวิมานบุญ ขออโหสิกรรมนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้มีความสุขด้วยพุทธบารมีธรรม (หรืออาจจะสร้างพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้ว อนิษฐานเป็นพระพุทธรูปบูชาอโหสิกรรมพิเศษของเราโดยเชิญดวงจิตของบุตรมาเป็นเทพรักษาประจำองค์พระ ทำการอัญเชิญด้วยการสวดพุทธคุณและพระคาถาต่างๆ ขอบุญพรพุทธเจ้าส่องนำทางขอให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน) หมั่นสวดมนต์แพร่เมตตามากๆเพื่อชำระให้จิตใจให้ใสสะอาด


๑ผู้ที่เบียดเบียนฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต มีผลให้เกิดโรคถัยไข้เจ็บอายุสั้น ควรทำบุญด้วยการช่วยชีวิตสัตว์อนิษฐานแพร่เมตตาอโหสิกรรม ทำบุญด้วยยารักษาโรค หรือ ทำบุญกับโรงพยาบาลสงฆ์ หรือ ด้านการแพทย์ บำรุงพระเณรปฏิบัติ ผู้อาพาธ เจ็บป่วย


๑ผู้ที่สมบัติฉิบหายด้วยเหตุต่างๆ จงทำใจอย่าเสียดายกับทรัพย์นั้นๆ ทำใจให้เป็นบุญมาแทนที่ให้ อนิษฐานสมบัติทั้งหลายที่สูญไปทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ขอพิจารณาบูชาแก่พระไตรลักษณะญาณ พระ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอสมบัติทั้งหลายทั้งทางโลก ทางธรรมหลั่งไหลเข้ามาเป็นหมื่นเท่าทวีคูณ และควรให้ทานตามโอกาส


๑บางท่านที่เป็นหนี้สงฆ์ หนี้สินทรัพย์ หนี้สิน หนี้เวรหนี้กรรม กับผู้หนึ่งผู้ได ทั้งชาติก่อน ชาตินี้ ให้อนิษฐานสร้างพระชำระหนี้ ถวายในพระศาสนา อาจจะเป็นพระพุทธรูปตั้งแต่ 5 นิ้วขึ้นไปจนถึง 4 ศอกหรือ มากกว่านั้น อนิษฐานชำระหนี้ และปิดทองคำแท้ที่องค์พระ ตั้งแต่ 3 แผ่นขึ้นไปหรือทั้งองค์ก็ยิ่งดี พร้อมปัจจัยศรัทธา เขียนหน้าซองถวายชำระหนี้สงฆ์ หนี้สินทรัพย์ หนี้สิน หนี้เวรหนี้กรรม ขอให้หมดหนี้มีสินด้วยพระพุทธรัตนไตร เป็นแก้ววิเศษประมาณมิได้


๑ทุกข์เพราะความรัก เพราะเคยทำชั่วเรื่องความรักไว้ ให้ตั้งใจรักษาศีลถือบวชแล้วเจริญปัญญาให้มากๆ ความรักไม่ได้ทำให้ผู้ไดทุกข์ แต่ ทุกข์เพราะการยึดติด ไม่ปล่อยวางปรารถณาที่จะครอบครองจึงเป็นทุกข์ ดังนั้นจึงควรรู้จักให้รู้จักรักโดยไม่หวังผลตอบแทน และที่สำคัญจงรักตนเองให้มากๆ ทำชีวิตให้มีคุณค่าเพื่อตนเองและคนที่เรา


๑ทุกข์เรื่องคู่ครอง ให้พิจรณาว่าอาจจะมีหนี้เวรหนี้กรรม ต้องชดใช้ ให้จุดเทียน 1 คู่ ธูป 5 ดอก ดอกไม้5สี (ถ้าเป็นดอกกุหลาบได้ก็ดี) อนิษฐานบูชาพระ หากแม้นมีหนี้เวรหนี้กรรม ขอให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน น้อมจิตระลึกถึงบุญกุศลทีเคยสร้างร่วมกันชักนำดวงจิตให้คิดดีต่อกัน แล้วแผ่เมตตาให้มากมาก ย่อมเกิดผลดี ตลอดทั้งให้พิจารณา สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน อะไรควรไม่ควร แก้ไขตามเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ต้องแก้ด้วยสติปัญญา


๑ผู้ถูกหลวงลวง เพราะเคยทำกรรมชั่วทางวาจา ให้ตั้งใจรักษาสัจจะในสิ่งที่ดีงามเรื่องไดเรื่องหนึ่งเช่นตั้งสัจจะว่าจะสวดมนต์ทุกวันก็ทำให้ได้ พูดแต่สิ่งที่ดีงาม
๑ผู้สติไม่ดี อาจจะเพราะกรรมชั่วในสิ่งที่มึนเมา จึงให้งดของมึนเมาทั้งหลายเพื่อสร้างสติ อนิษฐานว่าจะดื่มใจจะสูบให้น้อยลงและเลิกละ หากทำได้ก็ชนะตัวเอง
๑ผู้เลี้ยงลูกหลานไม่ได้ดีควรสั่งสมกตัญญูกตเวทิตาธรรม อธิษฐานขอพร พระแจกหนังสือธรรมะ เพื่อสั่งสอนคนให้เป็นคนดี ควรป้อนข้อมูลดีๆ ไม่ควรแช่งด่าลูกหลาน ถ้าใครแช่งด่าไว้มากมากควรสวดมนต์ ขอถอนคำแช่งด่า เปลี่ยนคำอธิษฐานในทางที่ผิดเป็นในทางที่ดี


๑บางท่านที่อยู่อาศัยเป็นทุกข์ ก็ให้ตั้งขันน้ำที่หน้าพระเจริญพระพุทธมนต์ต่างๆ จุดเทียนทำน้ำมนต์ เวลาดับเทียนก็ขอให้ดับความทุกข์เร่าร้อนทั้งหลาย และแพร่เมตตาพรหมวิหาร อุทิศบุญกุศลให้กับระภูมิเจ้าที่ เทวดา สรรพชีวิตทั้งหลาย อนิษฐานขอน้ำพุทธบารมีไปประพรมให้ทั่วบริเวณบ้าน ขอบันดาลให้สิ่งที่ร้ายกลายเป็นดี


๑บางท่านอายุถึงเบญจเพศดวงไม่ดี เนื่องจากสาเหตุไดๆก็ตามไม่ว่า ราหูเข้า พระเสาร์แทรง เราอาจจะทำพอธีบูชารับส่งรวมกันทุกพระองค์พร้อมกันทีเดียวก็ได้ โดยหาเทียนใหญ่พอประมาณ ปิดทองคำแท้ อนิษฐานเป็นเทียนเสริมดวงเสริมสิริมงคล ดวงชะตาชีวิต ให้แต่งดอกไม้ธูปเทียนภาวนา สวดอิติปิโสนพเคราะห์ เต็มสูตร บูชาเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาดวง ขอให้กลับร้ายกลายเป็นดี ที่ดีแล้วก็ให้ดียิ่งขึ้นไป อาจสวดมนต์พระคาถาต่างจนหมดเล่ม หรือ นั่งสมาธิต่อด้วยก็ยิ่งดี


๑กิจการค้าขายไม่ประสบสำเร็จ ให้พิจารณาแก้ไขตามเหตุอันสมควร หรือจะใช้วิธีช่วย คือ ธูปอนิษฐาน ให้เอาธูปที่ใช้ทั้งห่อมาทำพิธีสวดอิติปิโสนพเคราะห์และพระคาถาต่างๆ แล้วอนิษฐานขอให้เป็นธูปสารพัดดี เวลาใช้ให้จุดปักกลางแจ้งโดยใช้จำนวนตามกำลังวัน และสวดคาถาบูชาประจำวัน ตามด้วยพระคาถาอื่นๆขอในสิ่งที่ดีงาม ธูปนี้สามารถใช้บูชาพระสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้เป็นอย่างดี (ดูหัวข้อ ทานส่งผลให้มีทรัพย์ ประกอบ)


๑บางท่านมีคนทักว่ามีองค์ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์รักษา ไปรับขันธ์รับพานมาปรากฏว่าไม่ดีขึ้น แย่ลงกว่าเดิม หรือถูกหลอกลวง ให้เสียเงินเสียทองอันนี้ให้พิจารณาให้ดี มีอีกวิธีหนึ่งให้จัดธูป 5 ดอก เทียน 5 เล่ม ดอกบัว 5 ดอก (ดอกอะไรก็ได้ที่หาได้) ตั้งขันธ์บูชาถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาตน องค์ครูบาอาจารย์ทั้ง 108 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกองค์เป็นมิ่งเคารพ ให้ตั้งขันธ์ 5 นี้ในวันดี เช่น วันพฤหัสบดี โดยตั้งชุมนุมเทวดา สมาทานศีล สวดมนต์บูชา และแพร่เมตตา
๑การกินมังสวิรัติ การงดเว้นเนื้อสัตว์นอกจากให้ใจเบากายเบา ย่อมช่วยปริมาณการฆ่าสัตว์ได้ ร่างกายสะอาด เทวดาย่อมรักษา ให้พิจารณาเป็นเพียงธาตุ แพร่เมตตา เพื่อไม่ให้เป็นเวรเป็นกรรมต่อกัน


๑ก่อนนอนสวดมนต์ไหว้พระ ก่อนนอนอย่างสวดมนต์ภาวนา แพร่เมตตา จะยังผลให้จิตใจสบายให้นอนหลับสนิท


๑ผู้ที่นอนผันร้าย แก้ด้วยพระคาถา ดังนี้ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญ จะโยขามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตังพุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯฯ


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ให้เลือกใช้ตามโอกาส ย้อมสะเดาะเคราะห์ เสริมบารมี มงคลชีวิตได้ ทุกสิ่งในโลกเป็นอนิจจังทั้งหมด อย่ามองแต่ภายนอกให้มองภายในใจของเราบ้าง พระท่านว่าการให้ธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง มีอานิสงค์สูงสุด การสร้างหนังสือธรรมทุก1ตัวอักษรเปรียบเสมือนการสร้างพระ 1องค์ ย่อมมีเทวดามารักษา กำจัดโรคเวรโรคกรรม บรรเทาหนี้กรรมได้ทำให้เจริญรุ่งเรื่อง อนิษฐานในทางชอบธรรม จะสำเร็จสมปราถณา
Share:

บังสุกุลตาย

บังสุกุลตาย

แบบมหานิกาย

อะนิจจา วะตะ สังขารา.......
อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ อุปปาทะวะยะธัมมิโน,
เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ

แบบธรรมยุต

อะนิจจา วะตะ สังขารา.......
อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ
สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ
ตะเถวาหัง มะริสสามิ อุปปาทะวะยะธัมมิโน,
เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ
มะริงสุ จะ มะริสะเร
นัตถิ เม เอตถะ สังสะโยฯ
Share: