วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ดาบซามูไร ตำนานของอาวุธสังหาร และงานศิลปะ

๑. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช ๙๐๐ (ก่อน พ.ศ. ๑๔๔๓) ยุคที่ดาบของ "อามากุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนาร่า

๒. ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. ๑๔๔๓-๒๐๗๓ ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร แทบไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐) ในขณะที่ปี พ.ศ. ๑๘๔๐ เป็นปีที่ดาบของ "มาซามูเน่" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด

๓. ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๑๓๙-๒๔๑๐ ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. ๒๑๘๒)

๔. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๘๘) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ การตัดคอเชลยศึกไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง



ชนิดของดาบซามูไร
ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท แต่สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ ๓ ชนิดดังนี้

ดาบยาว (Long Sword)
๑. "ตาชิ" (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า ๗๐ เซนติเมตร
๒. "คาตานะ" (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาชิ (ราว พ.ศ. ๒๐๐๐) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ ๖๐.๖ เซนติเมตรขึ้นไปถึง ๗๐ เซนติเมตร

ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)
"วากิซาชิ" (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ ๑๒ นิ้วถึง ๒๔ นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้
ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น

ดาบขนาดสั้น (Short Sword)
๑. "ตันโตะ" (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ
๒. "ไอกุชิ" (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
Share: