วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติจตุคามรามเทพ


ตรรกวิทยาของชาวชวากะ ที่เรียกว่า จตุคามศาสตร์ เชื่อกันว่า นางพญาจันทรา นางพญาพื้นเมือง ทะเลใต้ ราชินีผู้สูงศักดิ์ขององค์ราชันราตะ หรือ พระสุริยะเทพ ซึ่งรวบรวมดินแดนในคาบสมุทรทองคำเข้าเป็นจักรวรรดิ์เดียวกันในพุทธศตวรรษ ที่ 7 พระราชมารดาของเจ้าชายรามเทพ บรรลุธรรม สำเร็จตรรกศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงอิทธิฤทธิ์บังคับคลื่นลมร้ายให้สงบได้ชาวทะเลทั้งหลายกราบไหว้รำลึกถึง เมื่อออกกลางทะเล เรียกกันว่า แม่ย่านาง ชาวศรีวิชัยให้ความเคารพนับถือเทิดทูน ฉายานามว่า เจ้าแม่อยู่หัว

เจ้าชายรามเทพได้ศึกษาเล่าเรียนวิชา จตุคามศาสตร์ จากพระราชมารดาจนเจนจบ แล้วทรงเรียนรู้หลักสัจธรรมทางพุทธศาสนาเลื่อมใสศรัทธานิกายมหายานอย่างแรงกล้า มุ่งหน้าสร้างบารมี หวังตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ ตั้งปณิธานแน่วแน่ที่จะประกาศธรรมให้มั่นคง ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ทรงอุตสาหะบากบั่นสร้างราชนาวีตามตรรกศาสตร์มหายาน ที่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมได้รวดเร็วและปลอดภัยบรรทุก กำลังพลและสัมภาระได้ มากมายมหาศาลเยือนถึงน่านน้ำใด หลักศาสนา ศิลปอารยะธรรมประดิษฐานมั่นคง ณ ดินแดนนั้น จนเหล่าราชครูต่างถวาย นามาภิไธยราชฐานันดร ว่า องค์ ราชันจตุคามรามเทพ

เมื่อพระศรีมหาราชชาวชวากะได้ประกาศสัจธรรมทั่ว สุวรรณทวีปแล้วจึงได้สร้าง มหาสถูป เจดีย์ขึ้นที่หาดทรายแก้วและในปลายพุทธศตวรรษที่ 8

องค์ราชันจตุคามรามเทพทรงมานะพยายามจนบรรลุธรรมจนบรรลุโพธิญาณ จักรวาลพรหมโพธิสัตว์ ประกอบด้วย บุญฤทธิ์ อิทธิฤทธ อภินิหาร สยบฟ้า สยบดินได้ตามปรารถนา วาจาเป็นประกาศิตเหนือมวลชีวิตทั้งหลาย ทรงศักดานุภาพเหมือน ดังพระอาทิตย์และ พระจันทร์ สมญานามตาม ศาสตร์จันทรภาณุ สาปแช่งศัตรูผู้ใดจะถึงกาลวินาศ จนเลื่องลือไปทั่วทวีป ได้รับการถวายนามยกย่องว่า พญาพังพกาฬ

การประกาศชัยชนะที่เด็ดขาดเหนือสุวรรณทวีปและหมู่เกาะทะเลใต้นี้เปรียบได้กับมหาราชในชมภูทวีป ดังนั้น พญาโหราบรมครูช่างชาวชวากะ ได้จำลองรูปมหาบุรุษเป็น อนุสรณ์ ตามอุดมคติศิลปศาสตร์ศรีวิชัย เรียกว่า ร่างแปลงธรรม รูปสมมุติแห่ง เทวราชที่มีตัวตนอยู่จริงในโลกมนุษย์ ทรงเครื่องราชขัติยาภรณ์ สี่กร สองเศียร พรั่งพร้อมด้วยเทพศาสตราวุธ เพื่อปกป้องอาณาจักรและพุทธจักร เพื่อเป็นคติธรรมและศิลปะกรรม ประดิษฐานในทุกหนแห่งในอาณาจักรทะเลใต้ ลูกหลานราชวงศ์ไศเลนทร์ในชั้นหลังได้ถ่ายทอดศิลปะศาสตร์แปลงร่างธรรมเป็น นารายณ์บรรทมสินธุ์บ้าง อวตารปราบอสูรบ้าง ตามค่านิยมของท้องถิ่น


คาถาบูชาองค์พ่อจตุคามรามเทพ

นะโม (3 จบ)
มอ ออ อออา ออฤา ถึง ออ ลือนาม จนถึง 12 นักษัตร อืออา ลือมา ถึงตัวข้า

ด้วย ออฤา องค์สุริยัน จันทรา มหาจักรพรรดิ

องค์ราชันดำ จตุคาม รามเทพ จัตตุโชค ศรีมหาราชโพธิสัตว์ พังพกาฬ

องค์จันทรภาณ ุ พญาชิงชัย พญาสุขุม พญาโหรา พญาขุนรักษ์ พญารองเมือง

เทวดาน้อย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตย์ ปกป้อง คุ้มครอง หลักเมือง นครศรีธรรมราช
ข้ามเจ้า นาย (นาง, นางสาว) ________________ ขอกราบสักการะ

ขอให้องค์พ่อ จงทรง ญาณบารมี ยิ่งยิ่ง ขึ้นไป บารมีของพ่อ แผ่ไพศาลไปทั่วไตรภพ

และโปรดช่วยคุ้มครอง ข้ามเจ้า ________________ และครอบครัวให้พ้นจาก

สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไร

จงพ้นไปจากตัวของ ข้าพเจ้า และครอบครัว และ

ข้ามเจ้า ________________ (ขอสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ)

ข้าพเจ้า ขอขอบคุณ องค์พ่อที่ประทาน ความสุข ความเจริญ ให้แก่ข้าพเจ้า ________________

และกรรมดีที่ ข้าพเจ้า กระทำ ขออุทิศให้ ท่านพ่อ และตัวข้าพเจ้า


การอธิษฐานจิตขอบารมีองค์พ่อจตุคามรามเทพ

1. อธิษฐานขอในสิ่งที่ไม่เกินกรรม

2.เมื่อท่านได้รับในสิ่งที่หวังแล้ว ต้องรักษาสัจจะที่ได้ให้ไว้กับองค์พ่อจตุคามรามเทพ

3. ควรจะสร้างกุศลกรรมถวายแก่องค์พ่อจตุคามรามเทพ


ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ แม้ว่าองค์พ่อจตุคามรามเทพจะเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีจิตแห่งความเมตตาสูง ขอให้ท่านอย่าเพียงพึ่งแต่บารมีขององค์พ่อฯ เท่านั้น ควรสร้างกุศลให้แก่ตนเองให้ครบทุกด้าน คือ ให้ทาน (เช่น สังฆทาน บริจาคมูลนิธิต่างๆ) รักษาศีล (ศีล 5) และบำเพ็ญภาวนา (สวดมนต์ และปฏิบัติกรรมฐาน) และขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรของท่านเอง และแผ่กุศลกรรมที่ท่านทำนั้นให้แก่ มารดา บิดา ญาติกาทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ เพื่อนมนุษย์ เทวดาทั้งปวง เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง และเปรตทั้งหลายทั้งปวงด้วย แล้วชีวิตท่านจักบังเกิดความเจริญ


คำบูชาดวงตราพญาราหู องค์ราชันดำท่านพ่อจตุคามรามเทพ

ตั้งนะโม 3 จบ

ระลึกถึงพระคุณแม่ธรณี

ข้าพเจ้าชื่อ ............... ขอน้อมถวายสิ่งสักการะแก่

สุริยัน จันทรา จันทรภาณุ พญาศรีธรรมโศกราช 12 นักษัตริย์

ดวงตราพญาราหู ศรีมหาราชพังพกาฬ องค์ราชันดำ

ท่านพ่อจตุคามรามเทพ

ขอบารมีท่านพ่อจตุคามรามเทพ

โปรด..........(แล้วแต่จะอธิษฐาน)



เครื่องบวงสรวงถวาย ตั้งโต๊ะกลางแจ้ง เวลากลางคืน วันใดก็ได้

- ธูปดำ 9 ดอก

- น้ำโอเลี้ยง / โค๊ก 1-3 แก้ว

- น้ำเย็น 1-3 แก้ว, น้ำชา 1-3 แก้ว

- กาแฟดำ

- ขนมหวาน / ขนมเค็ก

- หมากพลู 5 คำ

- ยาเส้น / ใบกระท่อม

- ดอกไม้หรือพวงมาลัย

ประวัติศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

1. คำและความหมาย มีคำอยู่สามคำที่คล้ายคลึงกัน แต่มี่ความหมายต่างกันชัดเจน คือ คำว่า หลักเมือง คำว่า ศาลหลักเมือง และคำว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ขอแสดงความเข้าใจและคิดเห็นดังนี้
1.หลักเมือง หมายถึงนิมิตหมาย ว่าได้สร้างเมือง ณ ที่ตรงนั้น เมื่อวัน เดือน ปี เวลา นาที เท่านั้นเท่านี้
2.ศาลหลักเมือง หมายถึงสิ่งก่อสร้าง เป็นอาคารสวยงาม กะทัดรัด มั่นคง เป็นเทวสถานที่สถิตของเจ้าพ่อตามข้อ 3
3.ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หมายถึงที่สิงสถิตของเทพเจ้าผู้มีมเหศักดิ์ ดูแลปกป้อง คุ้มครองบ้านเมืองและประชาชน

2. แบบอย่างการสร้างหลักเมือง แบบอย่างการสร้างหลักเมืองที่ชัดเจนที่สุด คือ การสร้างหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 เวลา 06.54 น. เรื่องราวที่บันทึกไว้เป็นดังนี้


"หลังจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จกรีธาทัพเหยียบพระนคร ได้เพียงสองวัน วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ก็มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันตก ได้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 06.54 นาฬิกา พระราชวังใหม่ให้ตั้งในที่ซึ่งพระยาราชเศรษฐีและพวกจีนอยู่เดิม โดยโปรดให้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง แล้วจึงได้ฐาปนาสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ล้อมด้วยปราการระเนียดไม้ไว้ก่อน พอเป็นที่ประทับ"

จากข้อความข้างต้นมีเรื่องสำคัญอยู่ประการหนึ่งคือการยกเสาหลักเมือง ซึ่งถือว่าเป็นมิ่งขวัญสำคัญของเมือง แต่เสาหลักเมืองและดวงชาตาพระนคร ที่ปรากฏในปัจจุบัน มิใช่ของที่สถาปนาในรัชกาลที่ 1 เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ว่า

"แลที่ศาลเจ้าหลักเมือง ศาลพระกาฬ ศาลพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และศาลเจ้าเจตคุปต์นั้น เดิมเป็นแต่หลังคาตังไม้มุงกระเบื้อง ทรงพระกรุณาโปรดให้ช่างก่อรอบ มียอดปรางค์อย่างศาลพระกาฬที่กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาเก่าทั้งสี่ศาลและหอกลางนั้นเดิมสองชั้นสามชั้น ขัดแตะถือปูนทำเป็นยอดเกี้ยว โปรดให้ทำใหม่ก่อผนังถือปูน แปลงเป็นยอดมณฑป... แล้วทรงพระราชดำริถึงหลักเมืองชำรุด ทำขึ้นใหม่ แล้วจะบรรจุดวงชาตาเสียใหม่ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรมเก้าค่ำ (จุลศักราช 1214) พระฤกษ์จะได้บรรจุดวงพระชาตาพระนครลงด้วยแผ่นทองคำหนัก 1 บาท แผ่กว้าง 5 นิ้ว จารึกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ กรมหมื่นบวรรังษี กับพระสงฆ์ราชาคณะอีกสามรูป รวมห้ารูป เมื่อเวลาจารึกได้เจริญพระปริตแล้วพระฤกษ์ 12 พระยาโหราธิบดีได้บรรจุที่หลักเมือง เสร็จแล้วก็มีการสมโภช...."

ลักษณะของเสาหลักเมืองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้สร้างใหม่นั่นเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ สูง 108 นิ้ว กว้างผ่านศูนย์กลาง 30 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ปลายเสาเป็นชัยพฤกษ์ สูง 108 นิ้ว กว้างผ่านศูนย์กลาง 30 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ปลายเสาเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ บรรจุเทวรูปและดวงซาตากรุงเทพมหานครที่เรียกกันว่า "เจ้าพ่อหลักเมือง" ก็ควรได้แก่ เทวรูปองค์นี้ไม่ใช่ตัวเสาและเทวรูปองค์นี้ก็มีพิธีประกาศเทวดาอัญเชิญเทพเจ้าเข้าประดิษฐานในเทวรูปดังปรากฏในหนังสือประกาศพระราชพิธี เล่ม 1 มีความตอนหนึ่งว่า

"ข้าแต่ท้าวเทวราชสุรารักษ์ อันควรจะเสด็จสถิตนิวาสนานุรักษ์ บนยอดหลักสำหรับพระมหานคร ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญเทพยมหิทธิมเหศวรผู้ทรงศักดิ์สิทธิ์จงเข้าสิงสู่สำนักในเทวรูปซึ่งประดิษฐานบนยอดบรมมหานครโตรณ อันบบรจุใส่สุพรรณบัตร จารึกดวงพระชันษากรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยาบรมราชธานีนี้ จงช่วยคุ้มครองป้องกันสรรพไพรีราชดัษกร อย่าให้มาบีฆาถึงพระมหานครราชธานี และบุรีรอบขอบเขตขัณฑ์สีมามณฑล ทั่วสกลราชอาณาประวัติ" เนื่องจากพระราชพิธีอัญเชิญเทวดาสิงสถิตในเทวรูปดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้ "เจ้าพ่อหลักเมือง" มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของมหาชนมาก จากบันทึกรับสั่งสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ในหนังสือวงวรรณคดี ฉบับเมษายน 2491 ได้ทรงอธิบายประเพณีการตั้งหลักเมืองไว้ว่า

"หลักเมืองเป็นประเพณีพราหมณ์มีมาแต่อินเดียไทยตั้งหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์ ที่จะเกิดหลักเมืองนั้นคงเป็นด้วยประชุมชน ประชุมชนนั้นต่างกัน ที่อยู่เป็นหมู่บ้านก็มี หมู่บ้านหลาย ๆ หมู่รวมเป็นตำบล ตำบลเป็นตำบล ตำบลตั้งขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอนั้นเดิมเรียกว่าเมือง เมืองหลายๆ เมืองรวมกันเป็นเมืองใหญ่ เมืองใหญ่หลายๆ เมือง เป็นมหานคร คือ เมืองมหานคร"
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น