อาณาจักรมายา ตั้งอยู่ในอเมริกากลาง มีพื้นที่บริเวณประเทศเม็กซิโกคาบเกี่ยวกับเบลีซและกัวเตมาลา มีความรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 1502 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่นครวากา ปัจจุบันคือ เอลเปรู มีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกาน (Teotihuacán) ซึ่งถือว่าเป็นอาณาจักรที่ใหญ่มากเพราะมีพื้นที่กินถึง ประเทศคือเม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส
ตามประวัติ อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองไพศาลมาก มีอายุยาวนานนับได้ 2000ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราช 250 อาณาจักรแห่งนี้มีซากสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตน่าทึ่งที่สุด ไว้เป็นมรดกโลก และฝากปริศนาให้คนรุ่นหลังขบคิดกันว่าเกิดจากสาเหตุใด
อาณาจักรมายาเป็นอาณาจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ประกอบด้วยเมืองเอกหลายเมืองด้วยกันมีเมืองสำคัญหลายเมือง คือ เมืองติกัล (Tikal) เพเตน (Peten) ในประเทศกัวเตมาลา ปาเลงกอ (Palenque) ในภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก เมืองโคปัน (Copan) ในประเทศฮอนดูรัส เมือง อิทซา (Itzar) อักซ์มัล (Uxmal) และมายาปัน (mayapan) ในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน เมืองของชาวมายาประกอบด้วยชุมชนเกษตรอยู่ชั้นนอก ชุมชนเมืองอยู่ชั้นในล้อมรอบจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นบริเวณสิ่งก่อสร้างที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นมีหลายแบบ เช่น ปิรามิด วิหาร ปละปราสาทราชวัง ซึ่งสร้างจากศิลาล้วนๆ บ่บอกความเจริญรุ่งเรืองของชาวมายาอย่างดี
ทุกวันนี้นักโบราณคดียังคงศึกษาอาณาจักรมายันเพื่อไขปริศนากันต่อไป ทอม เชฟเวอร์ นักโบราณคดีหนึ่งเดียวขององค์การนาซาจากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล ก็เป็นคนหนึ่ง เชฟเวอร์และทีมงานทำการศึกษาซากเมืองเพเตนในประเทศกัวเตมาลาซึ่งติดกับพรมแดนเม็กซิโก โดยการขุดค้นหาหลักฐานใต้พื้นดินและใช้รีโมตเซนซิ่งหาหลักฐานที่สายตามนุษย์มองไม่เห็น
สิ่งที่เชฟเวอร์ค้นพบใต้พื้นดินทั่วทั้งบริเวณของเมืองร้างแห่งนี้คือเรณูของต้นหญ้าแทนที่จะเป็นเรณูของต้นไม้ใหญ่ หลักฐานนี้แสดงว่าป่าไม้ของเมืองเพเตนลดลงกินบริเวณกว้างเมื่อประมาณ 1,200 ที่ผ่านมา
ทีมงานบอกว่าเมื่อไม่มีป่าฝนก็จะเกิดการกัดเซาะและการระเหยของน้ำ และการกัดเซาะจะรุนแรงจนกวาดเอาปุ๋ยที่หน้าดินไปจนหมดสิ้น หลักฐานการกัดเซาะได้ถูกค้นพบในชั้นดินตะกอนในทะเลสาบ
ยิ่งไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปกคลุมพื้นดินคือป่าไม้จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น บ๊อบ โอเกิลส์บี นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศของศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลหนึ่งทีมงานใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์คำนวณผลแล้วปรากฏว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 5-6 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้ผืนแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช
นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อการมีฝนด้วย ดังนั้นในฤดูแล้งเมืองเพเตนจะตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ ขณะที่น้ำใต้พื้นดินก็ลึกถึง 500 ฟุต จนไม่สามารถจะขุดนำมาใช้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวมายาจะต้องอาศัยการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำแต่มันก็คงจะระเหยไปจนไม่ทันได้ใช้
ขณะที่อาณาจักรมายันมีประชากรจำนวนมากซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อาหารและน้ำเป็นจำนวนมากด้วย การศึกษาพบว่าประมาณคริสต์ศักราช 800 เมืองของชาวมายามีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก ในพื้นที่ชนบทมีประชากร 500-700 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ และ 1,800-2,600 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ในบริเวณศูนย์กลางของอาณาจักรทางตอนเหนือของประเทศกัวเตมาลา พอๆ กับนครลอสแองเจลิสในปี 2000 ซึ่งมีประชากร 2,345 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 950 ก็เกิดความหายนะ " บางทีราว 90-95% ของชาวมายาต้องตายไป" เชฟเวอร์กล่าว
หลักฐานที่สนับสนุนความเป็นไปได้ก็คือ การพบว่ากระดูกของชาวมายาซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวสองสามทศวรรษก่อนอาณาจักรมายันจะล่มสลายซึ่งแสดงว่าเป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง
เชฟเวอร์สรุปการศึกษาในครั้งนี้ว่า นักโบราณคดีเคยโต้เถียงกันมานานว่า สาเหตุของการล่มสลายว่าเป็นเพราะความแห้งแล้ง หรือสงคราม หรือโรคระบาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ทีมงานของเขาคิดว่าทั้งหมดล้วนมีบทบาท ทว่าสาเหตุหลักก็คือ การขาดอาหารและน้ำอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติผสมผสานกับการทำลายป่าไม้ของมนุษย์ และเขาคิดว่าการเรียนรู้ว่าชาวมายาทำอะไรถูกต้องและทำอะไรผิดพลาดจะช่วยให้ประชาชนพบวิถีทางที่ยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยจะหยุดยั้งการทำสิ่งที่เลยเถิดในช่วงเวลาอันสั้นซึ่งเคยทำลายชาวมายามาแล้ว
อาณาจักรมายามีซากสิ่งก่อสร้างหลายแห่งหลายที และแต่ละที่นั้นถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น
• ติกัล (Tikal) มีพีระมิดของชาวมายา สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้าน
• เปเตน (Peten)
• ปาเลงเก (Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)
• ซีบิลชัลตุน (Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls
นักโบราณคดียุคปัจจุบันต่างตื่นตะลึงกับสิ่งก่อสร้างอันมหัศจรรย์มากมายของชาวมายาซึ่งไม่ใช้เครื่องมือโลหะในการก่อสร้างเลย เช่น วิหารรูปทรงพีระมิด ราชวังและหอดูดาว เป็นต้น ยอดพีระมิดของชาวมายาจะแบนราบต่างจากพีระมิดของชาวอียิปต์ พีระมิดที่เมืองติกัลสูงถึง 212 ฟุต บนส่วนยอดมีห้องมากมาย และแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพ ราชวังของเมืองติกัลเป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องมากถึง 42 ห้อง และเมืองอักซ์มัลมีโรงละครขนาดใหญ่ มันช่างอลังการเหลือเกินอย่าว่าแต่สมัยโบราณเลย เพราะจนถึงปัจจุบันนี้การสร้างสิ่งก่อสร้างแบบนี้นับว่ายากมากๆ
เป็น ที่ยอมรับว่าปฏิทินของชาวมายันมีความเที่ยงตรงอย่างมาก เที่ยงตรงกว่าปฏิทินระบบที่เราใช้กันในสากลมากมาย เพราะชาวมายันทำปฏิทินจากระบบดวงดาว โดยปฏิทินนี้ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยถึง 380,000 ปี (ในขณะที่ปฎิทินที่เราใช้ต้องมี Leap Year ทุกๆ 4 ปีเป็นต้น)จะเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น
คำ ถามนี้เป็นปัญหาโลกแตก (literally speaking) จริงๆ เพราะนอกจากจะเกี่ยวกับเรื่องวันสิ้นโลกแล้ว ยังเป็นคำถามที่ไม่มีใครให้คำตอบที่แน่นอนได้ มีเพียงการคาดเดา การผูกโยงข้อมูลต่างๆ เพื่อทำนายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันสิ้นโลก เหตุการณ์ที่คาดเดากันว่าจะเกิดและเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องมีทั้งเรื่องของ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนดวงอาทิตย์ที่จะเกิดผลกระทบยิ่งใหญ่กับระบบสุริยะ จักรวาลและโลกของเรา ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจนถึงวันที่ 21 ธันวา 2012 การเปลี่ยนขั้วของขั้วโลกเหนือใต้ ฯลฯ
แล้วชาวมายันทำนายไว้ว่าอย่างไร
ชาว มายันไม่ได้เขียนชัดเจนว่า วันที่ 21 ธันวา 2012 จะเป็นวันสิ้นสุดของโลก มีผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า มันคือวันที่โลกจะเปลี่ยนแปลงจากยุคหนึ่งเป็นอีกยุคหนึ่ง และเรามีหน้าที่ที่จะต้องเตรียมรับมือกับวันนั้นให้ได้ เพื่อความอยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลง และหลังจากวันนั้น โลกของเราจะมีสันติสุขอย่างแท้จริง
ปฏิทินของชาวมายันโดยคร่าว
จาก ปฏิทินของชาวมายัน เรากำลังอยู่ในช่วงปลายของ 1 วันแห่งระบบจักรวาล หรือ End of a Galactic Day ซึ่งระยะเวลา 1 วัน แห่งระบบจักรวาลนั้นยาวนานถึง 25,625 ปี และแบ่งได้เป็น 5 ช่วง ช่วงละ 5,125 ปี และขณะนี้เราอยู่ในช่วงปลายของช่วงที่ 5 แล้ว ชาวมายันบอกว่า นับจากปี 1999 เราจะมีเวลา 13 ปีที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและจิตสำนึกของการอยู่บนโลกใบนี้เพื่อที่จะรอดจาก การทำลายล้าง และในขณะเดียวกัน ก็ก้าวสู่เส้นทางที่จิตสำนึกใหม่ปูให้กับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ตามศาสตร์ของชาวมายัน ทุกๆ 5,125 ปี ดวงอาทิตย์จะเกิดปรากฏการณ์บางอย่างที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางทางช้างเผือกอัน กว้างใหญ่ และจากปรากฏการณ์นั้นเอง ดวงอาทิตย์จะได้รับ “ประกายไฟ” (Spark of light) ซึ่งทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงและส่งผ่านความร้อนรุนแรงมากขึ้น อย่างที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “Solar Flares” และยังทำให้ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อมายังโลก เกิดการสับเปลี่ยนขั้วโลก และทำให้เกิดหายนะทางธรรมชาติตามมามากมาย ปรากฏการณ์เหล่านี้ ชาวมายันเชื่อว่าเป็นเพียงกระบวนการทางธรรมชาติกระบวนการหนึ่งที่จะเกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเหมือนการหายใจของคน และจะไม่มีทางเปลี่ยนแปลงหรือหยุดไป เหตุการณ์เหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว 4 ครั้ง (4 รอบแรกของปรากฏการณ์จากดวงอาทิตย์) และจะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 5 เมื่อครบ 5,125 ปี ซึ่งก็คือวันที่ 21 ธันวาคม 2012 นั่นเอง
ตามประวัติ อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองไพศาลมาก มีอายุยาวนานนับได้ 2000ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราช 250 อาณาจักรแห่งนี้มีซากสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตน่าทึ่งที่สุด ไว้เป็นมรดกโลก และฝากปริศนาให้คนรุ่นหลังขบคิดกันว่าเกิดจากสาเหตุใด
อาณาจักรมายาเป็นอาณาจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ประกอบด้วยเมืองเอกหลายเมืองด้วยกันมีเมืองสำคัญหลายเมือง คือ เมืองติกัล (Tikal) เพเตน (Peten) ในประเทศกัวเตมาลา ปาเลงกอ (Palenque) ในภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก เมืองโคปัน (Copan) ในประเทศฮอนดูรัส เมือง อิทซา (Itzar) อักซ์มัล (Uxmal) และมายาปัน (mayapan) ในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน เมืองของชาวมายาประกอบด้วยชุมชนเกษตรอยู่ชั้นนอก ชุมชนเมืองอยู่ชั้นในล้อมรอบจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นบริเวณสิ่งก่อสร้างที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นมีหลายแบบ เช่น ปิรามิด วิหาร ปละปราสาทราชวัง ซึ่งสร้างจากศิลาล้วนๆ บ่บอกความเจริญรุ่งเรืองของชาวมายาอย่างดี
ทุกวันนี้นักโบราณคดียังคงศึกษาอาณาจักรมายันเพื่อไขปริศนากันต่อไป ทอม เชฟเวอร์ นักโบราณคดีหนึ่งเดียวขององค์การนาซาจากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล ก็เป็นคนหนึ่ง เชฟเวอร์และทีมงานทำการศึกษาซากเมืองเพเตนในประเทศกัวเตมาลาซึ่งติดกับพรมแดนเม็กซิโก โดยการขุดค้นหาหลักฐานใต้พื้นดินและใช้รีโมตเซนซิ่งหาหลักฐานที่สายตามนุษย์มองไม่เห็น
สิ่งที่เชฟเวอร์ค้นพบใต้พื้นดินทั่วทั้งบริเวณของเมืองร้างแห่งนี้คือเรณูของต้นหญ้าแทนที่จะเป็นเรณูของต้นไม้ใหญ่ หลักฐานนี้แสดงว่าป่าไม้ของเมืองเพเตนลดลงกินบริเวณกว้างเมื่อประมาณ 1,200 ที่ผ่านมา
ทีมงานบอกว่าเมื่อไม่มีป่าฝนก็จะเกิดการกัดเซาะและการระเหยของน้ำ และการกัดเซาะจะรุนแรงจนกวาดเอาปุ๋ยที่หน้าดินไปจนหมดสิ้น หลักฐานการกัดเซาะได้ถูกค้นพบในชั้นดินตะกอนในทะเลสาบ
ยิ่งไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปกคลุมพื้นดินคือป่าไม้จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น บ๊อบ โอเกิลส์บี นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศของศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลหนึ่งทีมงานใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์คำนวณผลแล้วปรากฏว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 5-6 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้ผืนแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช
นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อการมีฝนด้วย ดังนั้นในฤดูแล้งเมืองเพเตนจะตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ ขณะที่น้ำใต้พื้นดินก็ลึกถึง 500 ฟุต จนไม่สามารถจะขุดนำมาใช้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวมายาจะต้องอาศัยการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำแต่มันก็คงจะระเหยไปจนไม่ทันได้ใช้
ขณะที่อาณาจักรมายันมีประชากรจำนวนมากซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อาหารและน้ำเป็นจำนวนมากด้วย การศึกษาพบว่าประมาณคริสต์ศักราช 800 เมืองของชาวมายามีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก ในพื้นที่ชนบทมีประชากร 500-700 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ และ 1,800-2,600 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ในบริเวณศูนย์กลางของอาณาจักรทางตอนเหนือของประเทศกัวเตมาลา พอๆ กับนครลอสแองเจลิสในปี 2000 ซึ่งมีประชากร 2,345 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 950 ก็เกิดความหายนะ " บางทีราว 90-95% ของชาวมายาต้องตายไป" เชฟเวอร์กล่าว
หลักฐานที่สนับสนุนความเป็นไปได้ก็คือ การพบว่ากระดูกของชาวมายาซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวสองสามทศวรรษก่อนอาณาจักรมายันจะล่มสลายซึ่งแสดงว่าเป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง
เชฟเวอร์สรุปการศึกษาในครั้งนี้ว่า นักโบราณคดีเคยโต้เถียงกันมานานว่า สาเหตุของการล่มสลายว่าเป็นเพราะความแห้งแล้ง หรือสงคราม หรือโรคระบาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ทีมงานของเขาคิดว่าทั้งหมดล้วนมีบทบาท ทว่าสาเหตุหลักก็คือ การขาดอาหารและน้ำอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติผสมผสานกับการทำลายป่าไม้ของมนุษย์ และเขาคิดว่าการเรียนรู้ว่าชาวมายาทำอะไรถูกต้องและทำอะไรผิดพลาดจะช่วยให้ประชาชนพบวิถีทางที่ยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยจะหยุดยั้งการทำสิ่งที่เลยเถิดในช่วงเวลาอันสั้นซึ่งเคยทำลายชาวมายามาแล้ว
อาณาจักรมายามีซากสิ่งก่อสร้างหลายแห่งหลายที และแต่ละที่นั้นถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น
• ติกัล (Tikal) มีพีระมิดของชาวมายา สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้าน
• เปเตน (Peten)
• ปาเลงเก (Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)
• ซีบิลชัลตุน (Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls
นักโบราณคดียุคปัจจุบันต่างตื่นตะลึงกับสิ่งก่อสร้างอันมหัศจรรย์มากมายของชาวมายาซึ่งไม่ใช้เครื่องมือโลหะในการก่อสร้างเลย เช่น วิหารรูปทรงพีระมิด ราชวังและหอดูดาว เป็นต้น ยอดพีระมิดของชาวมายาจะแบนราบต่างจากพีระมิดของชาวอียิปต์ พีระมิดที่เมืองติกัลสูงถึง 212 ฟุต บนส่วนยอดมีห้องมากมาย และแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพ ราชวังของเมืองติกัลเป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องมากถึง 42 ห้อง และเมืองอักซ์มัลมีโรงละครขนาดใหญ่ มันช่างอลังการเหลือเกินอย่าว่าแต่สมัยโบราณเลย เพราะจนถึงปัจจุบันนี้การสร้างสิ่งก่อสร้างแบบนี้นับว่ายากมากๆ
เป็น ที่ยอมรับว่าปฏิทินของชาวมายันมีความเที่ยงตรงอย่างมาก เที่ยงตรงกว่าปฏิทินระบบที่เราใช้กันในสากลมากมาย เพราะชาวมายันทำปฏิทินจากระบบดวงดาว โดยปฏิทินนี้ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยถึง 380,000 ปี (ในขณะที่ปฎิทินที่เราใช้ต้องมี Leap Year ทุกๆ 4 ปีเป็นต้น)จะเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น
คำ ถามนี้เป็นปัญหาโลกแตก (literally speaking) จริงๆ เพราะนอกจากจะเกี่ยวกับเรื่องวันสิ้นโลกแล้ว ยังเป็นคำถามที่ไม่มีใครให้คำตอบที่แน่นอนได้ มีเพียงการคาดเดา การผูกโยงข้อมูลต่างๆ เพื่อทำนายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันสิ้นโลก เหตุการณ์ที่คาดเดากันว่าจะเกิดและเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องมีทั้งเรื่องของ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนดวงอาทิตย์ที่จะเกิดผลกระทบยิ่งใหญ่กับระบบสุริยะ จักรวาลและโลกของเรา ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจนถึงวันที่ 21 ธันวา 2012 การเปลี่ยนขั้วของขั้วโลกเหนือใต้ ฯลฯ
แล้วชาวมายันทำนายไว้ว่าอย่างไร
ชาว มายันไม่ได้เขียนชัดเจนว่า วันที่ 21 ธันวา 2012 จะเป็นวันสิ้นสุดของโลก มีผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า มันคือวันที่โลกจะเปลี่ยนแปลงจากยุคหนึ่งเป็นอีกยุคหนึ่ง และเรามีหน้าที่ที่จะต้องเตรียมรับมือกับวันนั้นให้ได้ เพื่อความอยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลง และหลังจากวันนั้น โลกของเราจะมีสันติสุขอย่างแท้จริง
ปฏิทินของชาวมายันโดยคร่าว
จาก ปฏิทินของชาวมายัน เรากำลังอยู่ในช่วงปลายของ 1 วันแห่งระบบจักรวาล หรือ End of a Galactic Day ซึ่งระยะเวลา 1 วัน แห่งระบบจักรวาลนั้นยาวนานถึง 25,625 ปี และแบ่งได้เป็น 5 ช่วง ช่วงละ 5,125 ปี และขณะนี้เราอยู่ในช่วงปลายของช่วงที่ 5 แล้ว ชาวมายันบอกว่า นับจากปี 1999 เราจะมีเวลา 13 ปีที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและจิตสำนึกของการอยู่บนโลกใบนี้เพื่อที่จะรอดจาก การทำลายล้าง และในขณะเดียวกัน ก็ก้าวสู่เส้นทางที่จิตสำนึกใหม่ปูให้กับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ตามศาสตร์ของชาวมายัน ทุกๆ 5,125 ปี ดวงอาทิตย์จะเกิดปรากฏการณ์บางอย่างที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางทางช้างเผือกอัน กว้างใหญ่ และจากปรากฏการณ์นั้นเอง ดวงอาทิตย์จะได้รับ “ประกายไฟ” (Spark of light) ซึ่งทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงและส่งผ่านความร้อนรุนแรงมากขึ้น อย่างที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “Solar Flares” และยังทำให้ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อมายังโลก เกิดการสับเปลี่ยนขั้วโลก และทำให้เกิดหายนะทางธรรมชาติตามมามากมาย ปรากฏการณ์เหล่านี้ ชาวมายันเชื่อว่าเป็นเพียงกระบวนการทางธรรมชาติกระบวนการหนึ่งที่จะเกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเหมือนการหายใจของคน และจะไม่มีทางเปลี่ยนแปลงหรือหยุดไป เหตุการณ์เหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว 4 ครั้ง (4 รอบแรกของปรากฏการณ์จากดวงอาทิตย์) และจะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 5 เมื่อครบ 5,125 ปี ซึ่งก็คือวันที่ 21 ธันวาคม 2012 นั่นเอง