รังสีแกมมา(Gamma
รังสีแกมมา(GammaRay) ใช้สัญลักษณ์ y เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นกลับสู่สถานะพื้นฐานโดยการปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา รังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าและมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีประจุไฟฟ้าและมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กและ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสง
ประโยชน์ของรังสีทางการแพชย์
1.รังสีวินัจฉัย ได้แก่ การเอกซเรย์ทั่วไป การตรวจพิเศษทางรังสี เพื่อใชในการวินิจฉัยโรค
2.รังสีรักษา รังสีในทางการแพทย์ที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รังสีแกมมา ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของแร่บางชนิด ได้แก่ แร่เรเดียม แร่ซีเซียม และแร่โคบอลต์ เป็นต้น และรังสีเอกซ์ที่เกิดจากเครื่องผลิตรังสี ซึ่งอาศัยหลักการทำงานเหมือนเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ คือ อิเล็กตรอนจะวิ่งไปชนเป้า และปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา รังสีทั้ง 2 ชนิดทำให้เนื้อมะเร็งตายได้เหมือนๆ กัน โดยที่การตายของเนื้อมะเร็งมี 2 ลักษณะ คือ เซลล์แตกตายในทันที หรือเซลล์สูญเสียคุณสมบัติในการแบ่งตัว การใช้รังสีรักษาในการรักษามะเร็งกระทำได้โดยการฉายรังสีไปยังตำแหน่งที่เป็นโรค ซึ่งสามารถฉายรังสีคลุมก้อนมะเร็งทั้งหมด และต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงได้ เครื่องฉายรังสีในปัจจุบัน มีด้วยกันหลายแบบ ขึ้นกับพลังงานทะลุทะลวง ซึ่งสามารถกำหนดความลึกของปริมาณรังสีสูงสุดได้ จึงทำให้ปริมาณรังสีสูงสุดอยู่ลึกไปจากผิวหนัง ดังนั้น เมื่อฉายรังสีอย่างระมัดระวังจะพบอาการแทรกซ้อนน้อยลง หรือในขนาดที่ยอมรับได้ เครื่องฉายรังสีที่นิยมใช้คือ เครื่องโคบอลต์ และเครื่องเร่งอนุภาคคือ การฉายรังสีที่อวัยวะที่เป็นมะเร็งเพื่อรักษาโรค
3.เวชศาสตร์นิวเครีย คือวิทยาการด้านการแพทย์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสีในการตรวจวินิจฉัย หรือ รักษาโรคบางชนิดเช่น โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ สารกัมมันตรังสี ( Radioactivity ) หรือ ราดิโอนิวไคลด์ ( Radionuclides ) คือสารที่มีโครงสร้างอยู่ในสภาวะไม่เสถียร จะมีการสลายตัวปล่อยอนุภาคและรังสีชนิดต่างๆออกมา ได้แก่ อนุภาคอัลฟ่า อนุภาคเบต้า และ รังสีแกมม่า สารกัมมันตรังสีมีทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และ มนุษย์ผลิตขึ้น ตัวอย่างสารกัมมันตรังสีที่นำมาใช้งานทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น Tc-99m, Tl-201, Xe-133, I-131สารเภสัชรังสี ( radiopharmaceuticals ) หมายถึง สารเคมีที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตรังสี ซึ่งสารเคมีนี้จะมีโครงสร้างและคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะใช้นำเข้าไปในร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรค
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น