วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

ดาวเทียมแปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่า


ดาวบริวารดาวเทียมไม่ใช่ดาวบริวารในธรรมชาติ

แต่เป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วส่งไปโคจรรอบโลก

เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

ดาวเทียมดวงแรกที่ถูกส่งไปในอากาศคือ ดาวเทียมสปุตนิค 1 (Sputnik 1)ของประเทศสหภาพโซเวียด เมื่อวันที่ 4ตุลาคม ในปีค.ศ.1957คำว่า"สปุตนิค"ในภาษารัสเซียแปลว่าเพื่อนเดินทาง ดาวเทียมนี้เป็นทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง58เซนติเมตรหนัก83กิโลกรัมใช้เวลา 96 นาทีในการโคจรรอบโลกเดือนถัดมาจึงได้ส่งดาวเทียมสปุตนิค 2 หนัก 500 กิโลกรัม
พร้อมส่งสิ่งมีชีวิตขึ้นไปด้วยคือ สุนัขชื่อไลก้า ทำให้ทราบว่าสัตว์เลือดอุ่นสามารถอยู่ในอวกาศได้ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1961 จึงมีการส่งนักบินอวกาศคนแรกชื่อ ยูริ กาการิน (YuriGagarin)ไปโคจรรอบโลกด้วยยานวอสตอก 1(Vostok)เป็นผลสำเร็จ

ดาวเทียมดวงแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ เอกซ์ พลอเลอร์ 1 ( Explorer 1 )หนัก 14 กิโลกรัม ซึ่งถูกส่งไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1958


ดาวเทียมดวงแรกของไทย คือ ดาวเทียมไทยคมถูกส่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศ ในเรื่องโทรศัพท์ การถ่ายทอดสดโทรทัศน์ โทรพิมพ์ และโทรสาร

ดาวเทียมต่างๆ มีประโยชน์หลายด้านได้แก่ ใช้ในการสื่อสารทางโทรทัศน์และวิทยุ การป้องกันประเทศและการสืบความลับ การพยากรณ์อากาศ การสำรวจภูมิศาสตร์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น อากาศ ดาราศาสตร์ ลักษณะของพืชพันธุ์ เป็นต้น

การเรียกชื่อดาวเทียมเหล่านั้นต่างกันไปตามหน้าที่การใช้งาน เช่น ดาวเทียมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เรียกว่า ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจทรัพยากรโลก เรียกว่าดาวเทียมสำรวจพิภพ ดาวเทียมที่ใช้ในการถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเมฃตลอดจนลมฟ้าอากาศ เรียกว่าดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และถ้าหากดาวเทียมนั้นทำหน้าที่หลายอย่าง จะเรียกว่า " ดาวเทียมอเนกประสงค์ "
Share:

การป้องกันผีหลอกในโรงแรม

นี่คือความเชื่อบางข้อของเจ้าของธุรกิจโรงแรมบางแห่ง

โรงแรมทุกๆ แห่งนั้น ย่อมจะมีอย่างน้อยหนึ่งห้องที่ซึ่งถูกปล่อยให้ว่างไว้ตลอดเวลา ไม่ว่าโรงแรมห้อง เต็มขนาดไหน พวกเขาจะไม่ขายห้องนั้นให้กับแขกคนใดทั้งสิ้น ว่ากันว่าห้องพิเศษห้องนั้นได้ "สงวนไว้" สำหรับ "แขกพิเศษเหล่านั้น" ฉะนั้น เมื่อคุณมีแผนที่จะเข้าพักในโรงแรมแห่งใดแห่งหนึ่ง ควรจองล่วง หน้าไว้ก่อนเสมอ

พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าพักแบบวอล์คอิน (Walk in) ถ้าพนักงานต้อนรับได้บอกคุณไปแล้วว่าไม่เหลือ ห้องว่างอีกต่อไปแล้ว จงอย่าได้ดื้อดึงอยู่ต่อหรือพยายามติดสินบนพวกเขาเพื่อที่จะให้พวกเขาให้ห้องพัก แก่คุณ ถ้าหากคุณทำอย่างนั้น เกือบทุกครั้งที่ห้องที่คุณได้ไปจะเป็น "ห้องพิเศษ"ที่ว่านั่น และอีกเช่นกันที่ บางครั้ง "แขกพิเศษ" เหล่านั้น อาจจะโผล่ไปที่ห้องอื่นๆ ด้วย ดังนั้นนี่คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าคุณจะป้องกันตัวคุณเองได้อย่างไร

- ก่อนที่จะเข้ายังห้องพักของคุณ จงเคาะประตูก่อนทุกครั้ง แม้คุณจะรู้ว่านี่เป็นห้องว่างก็ตาม

- หลังจากที่เข้าไปอยู่ในห้องแล้ว หากคุณรู้สึกเย็นวาบขึ้นมาในทันทีทันใด และมีอาการ "ขนลุก" จงออกจากห้องไปเงียบๆ และโดยทันที แล้วไปหาพนักงานต้อนรับเพื่อขอเปลี่ยนห้องใหม่ โดยส่วนใหญ่แล้ว พนักงานต้อนรับจะเข้าใจทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น

- หลังจากอยู่ภายในห้องแล้วจงเปิดไฟให้ครบทุกดวงในทันที พร้อมกับเปิดผ้าม่านเพื่อ ปล่อยให้แสงแดดส่องเข้ามา

- ก่อนเข้านอน จัดวางรองเท้าของคุณให้อยู่ในลักษณะกลับหัวกลับหางกัน บางคนบอกเอาไว้ว่านี่เป็น การแสดงถึงหลัก "หยิน-หยาง" เพื่อคุ้มครองคุณขณะที่คุณหลับ

- จงเปิดโคมไฟทิ้งไว้อย่างน้อยดวงหนึ่งขณะที่คุณหลับ ยิ่งเป็นไฟในห้องน้ำยิ่งดี

- หากคุณพักคนเดียว และห้องคุณเป็นเตียงคู่ อย่าเข้านอนโดยปล่อยให้อีกเตียงหนึ่งว่างเปล่า พยายามนำสิ่งของไปวางไว้เช่น กระเป๋าเดินทาง ที่เตียงว่างอีกเตียงหนึ่งก่อนที่คุณจะหลับ
Share:

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก

ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏมาว่า “ เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า “ ครั้งบ้านเมืองดี ” รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่ายแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น ” ๒

พระศรีศากยมุนีมาถึง

อีกฉบับหนึ่ง ด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชรับสั่งใส่เกล้าฯ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาให้อาราธนาพระพุทธรูปซึ่งอยู่ ณ เมืองสุโขทัยลงมากรุงเทพฯแล้ว ทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้า พระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการมหรสพสมโภชเพลากลางวัน กลางคืน ครั้นถึงวัน ๓ ฯ ๙ ๕ ค่ำ (ไม่มีปี ไม่มีศักราช เห็นจะเป็นปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐) เพลาเช้า พระสงฆ์ ๒๐ รูปรับพระราชทานฉันที่เรือบัลลังก์ แล้วเถิงเพลาบ่าย ๒ โมง จะได้ตั้งบายศรี ทอง เงินตอง ที่เรือหน้าพระพุทธรูป สมโภชเวียนพระเทียนนั้น ให้ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนมารับแว่นเวียนพระเทียนให้พร้อม จงทุกหมู่ทุกกรม อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง

สั่งบายศรีแปลกอยู่ บายศรีเงินสำรับ ๑ ทองสำรับ ๑ ตอง ๒ สำรับ รวม ๔ สำรับให้มีพุ่มข้าว ขันเชิงพานรองนำวักแว่น (สำหรับ) เวียนเทียน ติดเทียน เทียนยอดบายศรีแป้งหอม น้ำมันหอม

อนึ่ง พระพุทธรูปนั้นไม่ใช่องค์เดียวเห็นจะ ๓ องค์ จึงสั่งเครื่องนมัสการให้สนมพลเรือนรับเครื่องทองน้อย สำหรับบูชาพระพุทธรูปองค์ใหญ่สำรับ ๑ เครื่องกระบะมุกสำหรับบูชาพระพุทธรูปองค์น้อย ๒ สำรับ

เชิญพระศรีศากยมุนีสถิตวัดสุทัศนเทพวราราม


พระศรีศากยมุนี
หมายฉบับที่ ๓ นี้ ควรจะอยู่ที่ ๒ แต่เหตุไฉนเขาจึงจดไว้เป็นที่ ๓ ก็ไม่ทราบ ครั้นจะคัดขึ้นไปไว้ที่ ๒ เกรงจะผิด เหตุด้วยหมายฉบับหลังไม่มีปีและศักราช จึงได้ลงเรียงไว้ตามลำดับเดิม แต่ไม่เห็นมีท่าทางที่จะผิดด้วยการที่หล่อแก้ซ่อมแปลง ได้ทำที่วัดสุทัศน์ มีเดือนปีปรากฏว่าเป็นเดือนยี่ปีมะโรงสัมฤทธิศก สมโภชพระเดือน ๕ ปีมะเส็งเอกศกไม่ได้ เพราะพระไม่ได้ไปถึงที่ดังนี้

๒๑๗. ณ ๒ ๑ ฯ ๕ ๖ ค่ำ ทรงยกเลื่อนชักตามทางสถลมารค พระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวังหน้าบ้านร้านตลาดจนถึงที่

๒๑๗. การชักเลื่อนพระตามทางบกนั้น แพพระพุทธรูปได้มาเทียบที่ท่าช้าง แต่ที่ท่าช้างประตูเมืองไม่ตรงถนน ถึงว่าจะตรงถนน พระก็ใหญ่กว่าประตูเข้าไม่ได้ จึงต้องรื้อกำแพง เมื่อแห่พระมาถึงแล้วจึงก่อกำแพงขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนั้นในราชการจึงเรียกเป็นท่าพระมาทุกวันนี้

๒๑๘. ทรงพระประชวรอยู่แล้ว แต่ทรงพระอุตสาหะเพิ่มพระบารมี หวังที่หน่วงโพธิญาณจะโปรดสัตว์ ทำนุกบำรุงพระศาสนา เสด็จพระดำเนินตามกระบวนแห่พระ หาทรงฉลองพระบาทไม่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นเซพลาด

๒๑๘. เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทตามกระบวนนี้ ดูเป็นลักษณะอย่างเดียวกันกับแบกตัวลำยอง (กรมหลวงพระราชวังบวรทรงแบกตัวไม้ลำยองด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกจนถึงยอดเขาพระพุทธบาท) เห็นจะเสด็จพระราชดำเนินได้จริง เพราะการชักพระเช่นนี้คงจะเดินไปช้าๆ และไปติดไปขัด ต้องหยุดเอะอะกันบ่อยๆ เป็นเวลาได้ทรงพัก แต่คงจะทรงเหนื่อยมาก เพราะทรงพระประชวรอยู่แล้วจึงได้เซ

๒๑๙. เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรารับพระองค์ไว้

๒๑๙. กรมขุนกษัตราองค์นี้ คือเจ้าฟ้าเหม็น เดิมเป็นเจ้าฟ้าสุพันธุพงษ์ แล้วเปลี่ยนเป็นเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ได้เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต

๒๒๐. พระศรีศากยมุนี ๖ (ทำเนียบนามภาค ๑ หน้า ๓ เป็น พระศรีสากยมุนี (วิจิตร))มีลายจารึกไว้(ใน) แผ่นศิลาตั้งศักราชว่า ไปข้างหน้าลุงจะให้สัตย์ต่อหลาน ผู้น้อยจะเป็นผู้ใหญ่ ๆ จะได้เป็นผู้น้อย จารึกไว้แต่แรกสร้าง(มี)อยู่

๒๒๐. คำจารึกแผ่นศิลาที่พระศรีศากยมุนี ซึ่งผู้แต่งนำลงไว้ในที่นี้ เห็นจะเป็นด้วยเห็นจริงในใจว่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์เป็นอาว์ ถวายสัตย์ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นหลาน

๒๒๑. แล้วยกพระขึ้นที่ เสด็จกลับออกพระโอษฐ์ในที่สุดเพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สุดเท่านั้นแล้ว

๒๒๑. ซึ่งกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงยกพระขึ้นที่ในข้อนี้ เมื่อตรวจสอบสวนหลายแห่งเข้าใจได้ความว่า ท่านไม่ได้หวังจะกล่าวว่าพอแห่พระไปถึงแล้ว ก็เชิญขึ้นตั้งที่ทีเดียวเป็นอันได้ความ การเชิญพระขึ้นตั้งที่นั้นควรเป็นปีมะเส็งเอกศกต้นปี จวนสวรรคตอยู่แล้ว ถ้าลำดับการวัดสุทัศน์ และแห่พระศรีศากยมุนี ทั้งน้ำทั้งบกเห็นจะเป็นดังนี้

เดือน ๓ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ ขุดราก

เดือน ๕ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐ พระศรีศากยมุนีลงมาถึงสมโภช

ดือน ๖ แห่ขึ้นทางบก ขึ้นไปวัดสุทัศน์ในเดือน ๖ นั้นเอง ก่อฤกษ์แต่ได้ความต่อไปว่า ได้ทรงปฏิสังขรณ์แก้ไขพระศรีศากยมุนี เททองใหม่ที่วัดสุทัศน์นั้นเอง แรกที่จะรู้เรื่องนี้ได้เห็นคำอาราธนาเทวดา สำหรับราชบัณฑิตอ่าน ซึ่งได้มาแต่หอสมุด มีเนื้อความขึ้นนโม ๓ จบ อิติปิโสจบแล้ว จึงอาราธนาออกชื่อว่า ข้าพระพุทธเจ้า พระยาธรรมปรีชา หลวงธรรมสุนทร หลวงเมธาธิบดี ขุนศรีวรโวหาร ราชบัณฑิตยาจารย์ทั้งปวง พร้อมกันทำอัชเฌสนกิจอาราธนาสัตยาธิษฐาน เฉพาะพระพักตร์ พระศรีรัตนตรัยเจ้า ด้วยสมเด็จพระบรมขัตติยาธิบดินทร์ปื่นประชามหาสมมติเทวราช พระบาทบพิตรพระเจ้าอยู่หัว (ต่อไปก็สรรเสริญพระบารมีและพระราชศรัทธาบำรุงพระพุทธศาสนาแผ่พระราชกุศล แล้วจึงดำเนินความต่อไปว่า) บัดนี้ทรงพระราชศรัทธากระทำการปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ตรำแดดตรำฝน ต้องเพลิงป่า หาผู้จะพิทักษ์รักษามิได้ อยู่ที่เมืองสุโขทัยนั้น

ทรงพระกรุณาเจดีย์ฐาน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชา ลักขณะอันใดมิได้ต้องด้วยพุทธลักขณะผิดจากบาลีและอรรถกถานั้น ทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นให้ต้องด้วยพระอรรถกถาและพระบาลี ตั้งพระทัยจะให้พระราชพิธี ปฏิสังขรณ์นี้สำเร็จโดยสิริสวัสดิ์ปราศจากพิบัติบกพร่อง การที่จะใส่ไฟสำรอกขี้ผึ้งเททองนั้นจะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ต้องด้วยพระราชประสงค์จงทุกประการ จึงมีพระราชบริหารดำรัสสั่ง ให้อาราธนาพระเถรานุเถระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายคามวาสี อรัญวาสี มีสมเด็จพระสังฆราชาธิบดีเป็นประธาน ให้มาประชุมกันเจริญพระปริตร ขอพระรัตนตรัยให้ช่วยอภิบาลบำรุงรักษาข้าพระพุทธเจ้าราชบัณฑิตมาอาราธนาอันเชิญ เทพยเจ้าทุกสถาน สัคเค กาเม จรูเป ฯลฯ ลงท้ายเป็นคำสัตยาธิษฐาน ยัง กินจิ รัตนัง โลเก ฯลฯ แล้วก็จบ

เมื่อได้เห็นเช่นนี้ ถึงว่าจะเชื่อว่าเป็นประกาศรัชกาลที่ ๑ ก็ยังไม่สู้แน่ ภายหลังได้พบหมายเป็นข้อความต้องกัน จึงเอาเป็นแน่ได้ ในหมายฉบับนี้ว่า พระชำนิรจนารับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่าจะได้หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดเสาชิงช้า ณ วัน ๓ ฯ ๒ ๔ ปีมะเส งสัมฤทธิศก เพลาบ่ายสามโมงนั้นบัดนี้โหรมีชื่อ คำนวณพระฤกษ์ทูลเกล้าฯ ถวายเลื่อนเข้ามา พระสงฆ์ ๓๐ รูปจะได้เจริญพระพุทธมนต์ เพลาบ่ายวันขึ้น ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ ครั้น ณ วัน ๔ ฯ ๕ ๒ เพลาเช้า ๒ โมง บาท ๑ พระฤกษ์จะได้เททอง พระสงฆ์ที่สวดมนต์จะได้รับฉัน ให้นายด้านวัดปลูกโรงทึมสงฆ์ให้พอพระสงฆ์ ละสั่งอื่นๆ ต่อไปตามตำราหมาย

มีข้อยันกันว่า อนึ่งให้พระราชบัณฑิตแต่งคำอาราธนาเทวดา แล้วนุ่งผ้าขาวสวมเสื้อครุยไปอาราธนาเทวดา ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ เพลาบ่าย ๕ ค่ำ เช้าทั้ง ๔ วัน มีบูชาจุฬาฐทิศทั้ง ๔ วัน

มีเกณฑ์ดอกไม้แขวน แต่เรียกชอบกลว่า แล้วให้เย็บพวงมะโหด ร้อยพู่กลิ่นส่งให้สนมพลเรือน ออกไปแขวนบูชาวันละ ๑๐๐ พวงทั้ง ๔ วัน และมีกำหนดอีกหนึ่งว่าให้ล้อมวังเหลาไม้กลัดเข้าไปส่ง ณ ทิมดาบชาววัง จะได้ส่งให้ท่านข้างในเย็บพวงมะโหด ๕๐ กำๆ ละ ๓๐ อัน ให้ส่งทั้ง ๓ วัน

เมื่อมีการต้องหล่อแก้อยู่เช่นนี้ ก็ต้องกินเวลาไปอีกช้านาน เป็นเวลาที่ได้ก่อพื้นพระอุโบสถและฐานพระขึ้นไปถึงที่ทับ กันกับการตกแต่ง คงจะได้ไปแล้วเสร็จยกพระพุทธรูปขึ้น ในที่ปีมะเส็งเอกศกใกล้เวลาเสด็จสวรรคต ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในเวลาพระขึ้นตั้งที่ อันเป็นเป็นเวลาทรงพระประชวรมากอยู่แล้ว จึงรับสั่งว่า เพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สิ้นธุระเท่านั้นแล้ว เหตุด้วยทรงเป็นห่วงกลัวจะสวรรคตเสียก่อนที่ได้เชิญพระขึ้นที่ การแต่งพระศรีศากยมุนี และการก่อฐานพระคงจะได้ทรงเร่งรัดอยู่มาก ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นเชิญพระขึ้นที่ทันสมพระราชประสงค์ ทรงพระโสมนัสจึงทรงเปล่งอุทานว่า “ สิ้นธุระแล้ว ”

กรมหลวงนรินทรเทวี นำมากล่าวในที่นี้ด้วยความยินดี ต่อพระราชศรัทธาพระราชอุตสาหะ ทั้งหวังจะสรรเสริญพระราชสติสัมปชัญญะ ซึ่งทรงกำหนดทราบกาลของพระองค์ ถ้าหากว่าไม่ทรงประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และมิได้ผูกพันพระราชหฤทัย ในการที่จะได้ทอดพระเนตรเห็นพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งที่ไม่ทรงเร่งรัดให้การนั้นสำเร็จไปพร้อมกัน ช้าไปอีกไม่เท่าใดก็จะไม่ได้ทอดพระเนตรเห็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสร้างปราสาทราชมนเทียรพระราชวัง พระนครและพระอารามใหญ่ อย่างวัดพระเชตุพนเป็นต้น มิได้ทอดทิ้งให้การนั้นติดค้างอยู่เลย ย่อมทำให้แล้วสำเร็จทันทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นไว้แต่วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งได้ลงมือเมื่อปลายแผ่นดินเสียแล้ว จึงไม่ทรงหวังพระราชหฤทัยว่าจะได้ทอดพระเนตรการพระอารามนั้นแล้วสำเร็จ ทรงกำหนดพระราชหฤทัยไว้แต่เพียงให้ได้เห็นพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งที่ก็เป็นอันพอพระราชประสงค์ ความที่ทรงมุ่งหมายนั้นได้สำเร็จดังพระราชประสงค์ คำซึ่งรับสั่งว่าสิ้นธุระนั้น กรมหลวงนรินทรเทวีจึงถือว่าเป็นคำปลงพระชนมายุ ณ เดือน ๗ เดือน ๘ ทรงพระประชวรหนักลง ณ วัน ๕ฯ ๑๓ ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒) ปีมะเส็งเอกศก เวลา ๓ ยาม ๘ บาท เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๘ ปี
Share:

ผีพราย

ผีพรายนั้นบางตำราวาเป็นผีประเภทหรือพวกเดียวกับนางไม้ ฉะนั้นเรื่องความส าวและสวยรับรองไม่เป็นสองรองใคร และคงจะเป็นผีสาวมากกว่าเพศผู้ ข้อหลังนี่ไม่อยากยืนยันเพราะกลัวจะเมื่อยขาเอาเป็นว่าผู้ชายเราไม่สน...มาว่ากันแต่เรื่ องสวยๆงามๆดีกว่า....แม้จะเป็นผีก็ยังอยากชีกอว่างั้นเถอะ อ้อ...ลืมบอกไปผีพรายส่วนใหญ่มีนิวาสถานอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก แต่ผีพรายกับพรายน้ำที่ส่องแ สงวับๆแวบๆ เวลาต้องแสงไฟตอนกลางคืนนั้นคนล่ะเรื่องเดียวกันแหละตัวเอง

ประวัติความเป็นมาและอิทธิฤทธิ์ของผีพราย

ผีพรายนั้นไม่มีประวัติความเป็นมาอะไรมากนัก นอกจากเป็นผีประเภทนางไม้ อย่างที่บอกไว้แต่แรก และชอบอาศัยอยู่ในน้ำ ทำไมถึงชอบไปอยู่ที่นั่นก็ไม่กล้าดำลงไปถามเหมือนกันเดี๋ยวจะไม่ได้กลับขึ้นมาบนบกอีกก็เลยปล่อยให้ความสง สัยยืนยงมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ อย่าไปยุ่งกับเขาเลยจะดีกว่า รู้แค่พอหอมปากหอมคอก็พอแล้ว อ้อ...อ้อ ..เพิ่งนึกขึ้นได้ ในวรรณคดีไทยเสภาเรื่องขุนช้างขุ นแผน ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับผีพรายอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ผีสาวกลับเป็นผีหนุ่มหรือน่าจะเป็นผีผู้พราย (หมายถึงพรายตัวผู้หรือผีพรายผู้ชาย) คือตอนที่หมื่ นหาญนายโจร สั่งให้นางบัวคลี่ลูกสาวของตนวางยาพิษหมายจะใช้เป็นเครื่องมือสังหารลูกเขยคือพรายแก้วหรือขุนแผน

"มักเป็นผู้หญิงสาวสวยหุ่นดี"

แต่เจ้าโหงพรายผีที่ขุนแผนเลี้ยงไว้รู้เข้า จึงแอบกระซิบบอกกับขุนแผนผู้เป็นนายของตนขุนแผนเรียนวิชาเลี้ยงผีรวมทั้งคาถาอาคมเครื่องรางของขลังมาจากอาจารย์สมัยที่บวชเป็นเณรอยู่วัดแคสำหรั บเจ้าโหงพรายนั้นพลายแก้วเคยใช้ขี่เป็นพาหนะเหาะไปหานางพิมพิลาไลยที่สุพรรณบุรี

ลักษณะของผีพราย

ผีพรายตามที่บอกไว้แต่แรกว่าเป็นผีประเภทนางไม้สาวสวย และชอบอาศัยอยู่ใ นน้ำแต่ตัวที่เจ้าพลายแก้วขี่ไปบ้านนางพิมนี่เป็นผีพรายที่อยู่บนบกและไม่แน่ใจว่าเป็นเพศใดกันแน่ หากเป็นผีพรายเพศหญิงมักจะไว้ผมยาว มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม หุ่นสเลนเดอร์อีกต่างหาก

"อาหารน่าจะเป็นเครื่องเซ่น"

อาหารและวิธีการออกหากิน

ผีพรายนั้นน่าจะกินพวกเครื่องเซ่นเหมือนกับผีธรรมดาทั่วๆไป แบบเดียวกับพวกผีนางไม้ทั้งหลาย อันได้แก่ ผีนางตานี ผีนางตะเคียนเป็นต้น แต่ไม่เคยได้ข่าวว่ าผีพรายหารายได้พิเศษในทางให้หวยบอกเลขจนมีคนตั้งศาลยกให้เป็นเจ้าแม่เหมือนผีสองชนิดที่กล่าวนามมาแล้วนั้น เลยไม่รู้ว่าจะได้เครื่องเซ่นมาด้วยวิธีไหน เพราะคนเราลองไม่ได้ผลประโยชน์และไม่ใช่เป็นเครือญาติกันด้วยแล้ว เรื่องจะเอาอาหารหวานคาวไปเซ่นสังเวยด้วยความเสน่หานั้นคงเป็นไปได้ยาก

วิธีป้องกันและจัดการกับผีพราย

ผู้สันทัดกรณีบอกว่า ผีพรายผู้หญิงนั้นชอบอาศัยอยู่ในน้ำเวลาใครลงไปเล่นน้ำคนเดียวโดยเฉพาะในที่ลึกๆ อาจจะโดนผีพรายเอาผมพันขาลากจมหายไปก็ได้ ทั้ งนี้เพราะต้องการจะเอาตัวไปเป็นบริวารหรือไม่ก็ให้มารับตำแหน่งหน้าที่ผีพรายน้ำแทนแล้วตัวเองจะได้ไปผุดไปเกิด เวลาที่มีข่าวคนจมน้ำตายมักจะเชื่อกันว่าเ พราะถูกผีพันขาเอาไว้มากกว่าจึงทำให้จมน้ำตาย ซึ่งเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเพราะไม่มีใครยอมเป็นอาสาสมัครไปทดสอบเลยสักรายเดียว วิธีป้องกันก็คืออย่ าไปเล่นน้ำคนเดียว โดยเฉพาะที่ลึกๆ และในเวลากลางคืนส่วนวิธีจัดการกับผีพรายนั้นคงต้องพึ่งหมอผีผู้เรื่องวิทยาการทางด้านคาถาอาคม

"พรายน้ำกับพรายทะเล"

ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับผีพราย

เวลาที่ใครตื่นนอนขึ้นมาแล้วพบว่า ตามเนื้อตามตัวและแขนขามีรอยช้ำเป็นจ้ำๆ โดยไม่ทราบสาเหตุเพราะเมื่อคืนก็ไม่ได้เมาหรือเดินสะดุดนักเลงที่ไหน ท่านผู้รู้ บอกว่าอาการช้ำนั้นอาจเกิดจากการถูกพรายย้ำก็เป็นได้ แต่ถ้าขนาดถึงขั้นขอบตาเขียวหรือฟันโยกไปทั้งปากสงสัยต้องลองให้นึกทบทวนดูดีๆ ว่าเมื่อคืนนี้ไปฝ่า ด่านอะไรมาบ้างหรือเปล่านอกจากผีพรายน้ำจืดที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมีผีพรายอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าพรายทะเล

ซึ่งเวลาอาละวาดจะก่อให้เกิดคลื่นหรือลมพายุท ำให้ท้องทะเลปั่นป่วน ชาวเรือมีวิธีแก้ โดยการสร้างรูปแม่ย่านางไว้ที่หัวเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้ผีพรายทะเลมารบกวน ขอปิดท้ายเรื่องราวเกี่ยวกับผีพรายด้วยบ ทกวีที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงนิพนธ์ค้างไว้ 2 บท ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพรายย้ำและศรีปราชญ์ยอดกวีเอกคนหนึ่งของไทยได้แต่งต่อจนจบ ดังนี้

อันใดย้ำแก้ม แม่หมองหมาย
ยุงเหลือบฤาริ้นพราย ลอบกล้ำ
ผิวชนแต่จักกราย ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
Share: