2012 ปรากฏการณ์ ขั้วแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่
pole shift คือเหตการณ์ที่ขั้วแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่ แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่กำลังจะเกิดใน ค.ศ. 2012 หากแต่เกิดขึ้นตลอดเวลา เกิดมานานแล้ว แม้แต่ตอนนี้ก็เกิด นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าขั้วแม่เหล็กโลกมีการเคลื่อนที่ตั้งแต่ที่ค้นพบขั้ว เหนือแม่เหล็กโลกเมื่อกว่าศตวรรษก่อนแล้ว การเคลื่อนที่นี้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 1 องศาต่อ 1 ล้านปีหรืออาจเร็วกว่านั้น
ขั้วแม่เหล็กของพระอาทิตย์จะกลับทิศทางอยู่อย่างนั้น จนถึงปี ๒๕๕๕ เมื่อมันจะมีการกลับขั้วขึ้นอีกครั้งเมื่อ จุดสูงสุดของวงรอบดวงอาทิตย์ รอบใหม่มาถึง ทุกๆ ๑๑ ปี
ขั้วแม่เหล็กของโลกเองก็มีการพลิกตัวเช่นกัน แต่ด้วยช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ช่วงของการกลับขั้วมีช่วงห่างกัน ระหว่าง ๕๐๐๐ ถึง ๕๐ล้าน ปี และการกลับขั้วครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ ๗๔๐,๐๐๐ ปีก่อน นักวิจัยบางคนบอกว่า ดาวของเราได้เลยกำหนดการกลับขั้วนั้นมานานแล้ว และไม่มีใครรู้อย่างแน่ชัดว่า การกลับขั้วครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นอีกทีเมื่อใด
ใน ขณะนี้ ขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา และนักวิทยาศาสตร์ก็รู้มานานแล้วด้วยว่า ตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กนั้นเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยในศตวรรษที่๒๐ ขั้วแม่เหล็กได้เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตรต่อปี และเร็วนี้ ได้เพิ่มความเร็วขั้นเป็น ประมาณ๔๐กิโลเมตรต่อปี นี้จะทำให้เข็มทิศในแอฟริกา เปลี่ยนไป ๑องศาใน๑ ศตวรรษ
แกลตซาเมียร์ (Glatzmaier) ได้ทำแบบจำลองโครงสร้างภายในแกนโลกขึ้นเพื่อหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อแกนแม่ เหล็กโลก จากการทำการจำลองโดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แสดงให้เห็นว่า สนามแม่เหล็กมีการเพิ่มขึ้น ลดลง และกลับขั้วเป็นบ้าง การเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเรื่องปกติ แกลตซาเมียร์ (Glatzmaier) กล่าว
พวกเขายังเรียนรู้ อีกด้วยว่า อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อขั้วแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง การกลับขั้วกินเวลากว่าพันปี และระหว่างนั้น ขัดกับความเชื่อเดิมๆ สนามแม่เหล็กไม่ได้หายไป มันเพียงแค่ซับซ้อนขึ้นเท่านั้น แกลตซาเมียร์ กล่าว เส้นแรงแม่เหล็กมีการบิดเบี้ยงและพันกัน ขั้วแม่เหล็กโผล่ขึ้นมาในที่ๆแปลกประหลาด ขั้วแม่เหล็กโลกใต้อาจอยู่ที่ แอฟริกา หรือขั้วแม่เหล็กเหนืออาจอยู่ที่ตาฮิติ แต่ว่าสนามแม่เหล็กของโลกยังคงมีอยู่ และมันจะยังคงปกป้องเราจากรังสีในอวกาศและพายุดวงอาทิตย์
การสำรวจในช่วงไม่กี่ปีมานี้พบว่า ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าโลกใกล้จะสลับขั้วหรือกำลังวิปริต เพราะอัตราการเคลื่อนที่มีขึ้นมีลงอยู่เสมอ
หากเกิดการสลับขั้วแม่เหล็กโลกจริง จะทำให้เกิดหายนะถึงขั้นผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากหรือไม่เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะคุ้มกันรังสีอันตรายจากห้วง อวกาศ ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า หากเกิดความผิดปกติของสนามแม่เหล็กโลก เช่น สนามแม่เหล็กหายไปซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงที่มีการสลับขั้วแม่เหล็ก ก็ย่อมส่งผลต่อสรรพชีวิตบนพื้นโลกอย่างแน่นอน
ผลกระทบที่ว่านี้จะรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บล้มตายหรือเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หรือไม่? ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น
จากการเทียบบันทึกการสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตซึ่งเกิดมาแล้วหลายครั้ง เราไม่พบว่ามีความสอดคล้องกับเวลาที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เคยเกิด ขึ้นบนโลก นี่น่าจะพอเบาใจได้ในระดับหนึ่งว่า หากโลกสลับขั้วแม่เหล็กในช่วงนี้ ก็คงไม่ถึงขั้นคอขาดบาดตาย
งานวิจัยด้านสนามแม่เหล็กโลกเมื่อไม่นานมานี้เผยว่าสนามแม่เหล็กโลกซับซ้อนกว่าที่คิด โลกมิใช่มีเพียงแม่เหล็กแท่งใหญ่แท่งเดียว แต่ยังมีแม่เหล็กขนาดย่อมกระจายอยู่หลายส่วนทั่วโลก ช่วงที่มีการสลับขั้วแม่เหล็ก แม่เหล็กตัวใหญ่จะอ่อนกำลังลงไปมากจนเผยให้เห็นอิทธิผลของแม่เหล็กตัวย่อย
ในช่วงเวลาดังกล่าวโลกจะมีขั้วแม่เหล็กเหนือใต้หลายแห่งบนโลก สนามแม่เหล็กโลกจะซับซ้อนยุ่งเหยิงมาก แน่นอนว่าช่วงนี้เราอาจใช้เข็มทิศไม่ได้ สัตว์บางชนิดที่ต้องพึ่งพาสนามแม่เหล็กโลกก็อาจประสบความยากลำบาก แต่ด้านดีก็คือ สนามแม่เหล็กยังคงมีกำลังมากพอที่จะคุ้มครองสิ่งมีชีวิตได้
โปรดใช้พิจารณาญาณในการอ่าน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น