วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา


วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองสวนพลู เป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่จากหนังสือพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ขอพระธิดากรุงจีน มาอภิเษกด้วย ขณะที่พระนางสร้อยดอกหมาก เดินทางมาถึงบริเวณหน้าวัด พระเจ้าสายน้ำผึ้งมาปลูกพลับพลารออยู่ ได้ส่งทหารไปเชิญพระนางขึ้นมาที่พลับพลา พระนางสร้อยดอกหมาก น้อยใจที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่มารับด้วยพระองค์เอง จึงกลั้นใจตาย พระเจ้าสายน้ำผึ้ง เสียพระทัยมาก จึงสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก แด่พระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามว่า "วัดเจ้าพระนางเชิง" ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า แรกสถาปนาวัด ได้มีการสร้างพระพุทธรูป เมื่อปี พ.ศ. 1867 คือก่อนพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 14 เมตรเศษ สูง 19 เมตร พระพุทะรูปองค์นี้ ชาวจีนนับถือมาก เรียกว่า "ซำปอกง" แปลว่า รัตนตรัย คนไทยทั่วไป เรียก "หลวงพ่อโต" หรือ "หลวงพ่อพนัญเชิง" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทองในสมัยอู่ทอง

องค์หลวงพ่อได้รับการบูรณะซ่อมแซมตลอดมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัชกาลที่ 4 ทำการซ่อมแซมใหม่ทั้งองค์ แล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนายก"

สมัยรัชกาลที่ 7 ได้เปลี่ยนพระอุณาโลมเดิมมาเป็น ทองคำหนัก 47 บาท ในปี พ.ศ. 2472
ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า "เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า ครั้งที่ 2 พระพุทธรูปองค์นี้ มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง" มีผู้นับถือกันมากจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่เจ็บป่วย จะถวายให้เป็นลูกของหลวงพ่อแล้วจะหายป่วยไข้ หรือไม่ก็จุดธูปเทียนอธิฐาน ขอให้หลวงพ่อคุ่มครองรักษา บารมีของหลวงพ่อจะแผ่มาปกป้องคุ้มครองรักษาให้

นอกจากนี้บริเวณด้านข้างวิหารหลวงพ่อโต ติดริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากเป็นอาคารแบบเก๋งจีน มีพระรูปเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ประดิษฐานอยู่บนชั้นสองของศาล ให้ทุกคนแวะเวียนไปไหว้กันด้วย

บริเวณด้านหน้าพระวิหาร หลวงพ่อโต มีพระอุโบสถ ที่ภายในมีสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง คือ พระพุทธรูป ประดิษฐานเรียงรายอยู่ 5 องค์ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ด้านซ้าย และองค์ที่อยู่ด้านขวาของพระประธาน คือ พระพุทธรูปทองคำ และนาค สมัยสุโขทัย
ปัจจุบัน ที่วัดนี้กลางเดือนสิบ จะมีงานทิ้งกระจาด และ งานนมัสการประจำปี

ประวัติหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง(ซำปอกง)
หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง พระพุทธไตรรัตนนายก จ.พระนครศรีอยุธยา ตาม"ประวัติหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง"สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย
พระพุทธไตรรัตนนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง (ซำปอกง)ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจาก พระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า พระพุทธไตรรัตนายก ชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง

ตำนานหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง กล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก ส่วนที่มาของคำว่าพนัญเชิงนั้น ตามตำนานมูลศาสนากล่าวว่าเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า พะแนงเชิง ซึ่งแปลว่า การนั่งพับเพียบ ซึ่งเป็นอาการที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมากใช้ในวาระสุดท้าย ของเรื่อง นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ศัพท์ที่ใกล้เคียงพบว่า คำว่าพะแนงเชิง ทางภาษาปักษ์ใต้หมายถึงอาการนั่งแบบขัดสมาธิ

หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง ประวัติพระพุทธรูปที่สำคัญของไทย พระพุทธรูปปางต่างๆ

วัดพนัญเชิงวรวิหาร พระนครศรีอยุธยา
วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานของ “หลวงพ่อโต” หรือ “พระพุทธไตรัตนนายก” พระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีหน้าตักกว้างกว่า 14 เมตร สูงกว่า 19เมตร ซึ่งได้รับความนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง เป็นที่เคารพสักการะของขาวไทย และจีนอย่างกว้างขวาง

วัดพนัญเชิงวรวิหารนั้นไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงที่ปรากฏในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า มีการสถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง หรือหลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเขิงนี้ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1867 ซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้าการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีถึง 26 ปี โดยปรากฏตำนานการสร้างวัดว่าเจ้าชายสายน้ำผึ้งเป็นผู้ทรงโปรดให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระนางสร้อยดอกหมาก หลังจากที่พระนางได้กลั้นพระทัยจนสิ้นชีพลงในเรือสำเภาที่ลอยอยู่หน้าวัดแห่งนี้ด้วยความน้อยพระทัย และสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อเสร็จพิธีปลงพระศพพระนางแล้ว มีผู้สันนิษฐานกันว่าวัดแห่งนี้มาจากคำว่า “พระนางเอาเชิง” ขณะที่มีความเชื่ออีกแนวทางหนึ่งว่ามาจาก “พแนงเชิง” ซึ่งหมายถึงนั่งขัดสมาธิ ด้วยหลวงพ่อโตองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ
ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงนั้น ในพงศาวดารกล่าวว่าก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึกนั้น องค์หลวงพ่อโตมีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หรือ หรือไม่ในช่วงสงครามโลกนั้นก็มีตำนานว่าท่านได้ปัดป้องระเบิดให้ชาวอยุธยาอยู่รอดปลอดภัย โดยหลวงพ่อโตนั้นเป็นที่เคารพสักการะ ทั้งในหมู่ชาวไทย รวมทั้งชาวจีนที่พากันเรียกขานองค์หลวงพ่อโตนี้ว่า “หลวงพ่อซำปอกง”
หลวงพ่อโตนั้นได้รับการบูรณะมาหลายรัชสมัย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบุรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์ และถวายนามว่าพระพุทธไตรรัตนนายก ตั้งแต่นั้นมา ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 600 ปี
สถานที่ตั้ง
ริมแม่น้ำป่าสัก ต. คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ความเชื่อและวิธีการบูชา
ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง โดยเชื่อว่าหากทำการค้าขายใดๆ แล้วมาตั้งอธิษฐานจิตต่อหน้าหลวงพ่อ จะทำให้ซื้อง่าย ขายคล่อง การค้าร่ำรวย และการงานรุ่งเรือง ถ้ามีเด็กเล็กที่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย นำมาถวายให้เป็นลูกของหลวงพ่อ หรือจุดธูปเทียนอธิษฐาน บารมีของท่านจะปกป้องคุ้มครองช่วยให้หายวันหายคืน ส่วนใหญ่นิยมบนบานด้วยการถวายผ้าห่มหลวงพ่อโต ซึ่งเชื่อว่าท่านจะอวยพรให้สัมฤทธิผลดังใจหมาย
คาถาบูชาพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง

(ท่องนะโม 3 จบ) อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ ทุติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ ตะตะยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัน อะภิปูชยามิ

เทศกาล งานประเพณี
งานประเพณีทิ้งกระจาดจัดเป็นประจำทุกปี ในช่วงกลางเดือน 7 ของจีน หรือตรงกับเดือน 9 ของไทย(ประมาณเดือนสิงหาคม ถึงต้อนเดือนกันยายน) เพื่อทำบุญตามตามคติความเชื่อของชาวจีน และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ภูตผีที่ไม่มีญาติทั้งหลาย ซึ่งจะออกมารับส่วนบุญบนโลกมนุษย์ปีละครั้ง ก่อนกลับไปรับผลกรรมที่เคยสร้างไว้เมื่อคราวเป็นมนุษย์
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น