วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สุดหลอน! คฤหาสน์หรูอังกฤษ มีผีร้ายหลอนเจ้าของต้องหนี


สุดหลอน!มหาเศรษฐีอาหรับซื้อคฤหาสน์หรูผู้ดี เจอผีหลอกต้องย้ายบ้านหนี!

ตะลึง! มหาเศรษฐีอาหรับเจอประสบการณ์หลอน ซื้อคฤหาสน์หรูของอังกฤษแต่เจอผีหลอก เผยหลอนหนักขนาดเจอคราบเลือดบนผ้าห่มลูก และเสียงกรีดร้องจากเฉลียงคฤหาสน์ ก่อนตัดสินใจพาครอบครัวเผ่นหนีบอกศาลาเลิก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ว่า เกิดเหตุนายอันวาร์ ราชิด มหาเศรษฐีนักธุรกิจชาวอาหรับ วัย 32 ปี พร้อมครอบครัวต้องเจอต้องประสบการณ์สุดหลอน เจอผีในคฤหาสน์ใหญ่"คลิฟตัน ฮอลล์"ที่เข้าซื้อเป็นมูลค่า 3.6 ล้านปอนด์ ในเมืองน๊อตติ้งแฮมเชียร์ ของอังกฤษและต้องประสบเหตุเลวร้ายหลอกหลอน ในระยะเวลา 8 เดือนที่พักในสถานทีแห่งนี้ ทำให้พวกเขาต้องตัดสินใจย้ายออก

รายงานระบุว่า นายราชิด ภรรยา และครอบครัว พร้อมลูก 3 คน อายุ 7 ปี 5 ปี 3 ปี ได้เข้าพักคฤหาสน์"คลิฟตัน ฮอลล์"เมื่อเดือนม.ค.ปี 2007 โดยนายราชิด กล่าวว่า ประสบการณ์แรกที่เขาและครอบครัวประสบเกิดขึ้นเพียงวันแรกทันที โดยเมื่อพวกเขานั่งพักผ่อนในคฤหาสน์ ก็ได้ยินเสียงประตูถูกเคาะ ก่อนตามด้วยเสียงคนพูดว่า"สวัสดี มีใครอยู่ไหม"ตอนแรกเขาทำเป็นไม่สนใจ แต่มันกลับเกิดขึ้นอีกเพียงอีก 2 นาทีต่อมา ทำให้เขาต้องลุกขึ้นไปดู แต่พบว่าไม่มีใคร โดยประตูถูกล็อคและหน้าต่างก็ปิดเรียบร้อย

ส่วนเหตุการณ์ที่สอง เกิดขึ้นกับภรรยาของเขา เมื่อเธอได้ลงมายังชั้นล่างเพื่อชงนมให้ลูกตอน 05.00 น.แต่กลับเห็นลูกสาวคนโตนั่งดูทีวี และเมื่อเธอเรียกชื่อลูก กลับไม่มีเสียงตอบ ทำให้เธอตัดสินใจขึ้นไปบนห้องนอนลูกคนนี้ และพบว่าเธอกำลังนอนหลับ แต่ยังพบคราบเลือดบนผ้าห่มของเธอด้วย

ด้านนายราชิดเปิดใจเผยว่า พวกเขารู้สึกว่าตัวเองเหมือนครอบครัวในภาพยนตร์เรื่อง"The Others"ภาพยนตร์แนววิญญาณหลอนที่ดาราหญิง"นิโคล คิดแมน"เล่น โดยภาพใต้ความสวยงามของคฤหาสน์แห่งนี้ กลับมีสิ่งหลอกหลอนซ่อนอยู่ และพวกเขารู้สึกว่า พวกผีไม่ต้องการให้พวกเขาอยู่ทีนี่ และพวกเขาก็ไม่สามารถต่อสู้กับพวกมันได้ เพราะมองไม่เห็นตัว พร้อมทั้งกล่าวว่า เขาอยากจะเตือนเจ้าของคนใหม่ว่า มันเป็นเรื่องหลอนที่ต้องเจอประสบการณ์เช่นนี้ โดยเขาไม่อาจหลับลงเมื่อรู้ว่า เขาได้เก็บประสบการณ์เลวร้ายจากคฤหาสน์ดังกล่าวมาบ้าง
Share:

บ้านผีสิง

คำว่าบ้านผีสิงนั้น ผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินมาแล้ว
ซึ่งตามที่คนทั่วไปเข้าใจก็คือ เป็นบ้านร้างหลังเก่า ๆ
มีวิญญาณหรือภูตผีปิศาจสิงอยู่ในบ้าน
ใครไปอาศัยอยู่ก็มักจะถูกเล่นงานในลักษณะต่าง ๆ จนขวัญหนีดีฝ่อไปตาม ๆ กัน
จนกระทั่งต้องตระเวนหาหมอผีมาปราบหรือไล่ผีออกไปจากบ้านหลังนั้น
ในที่สุดลองฟังเรื่องบ้านผีสิงแห่งหนึ่งในอังกฤษ
จากปากคำบอกเล่าของผู้มีประสบการณ์ส่วนหนึ่งต่อไปนี้ดูซิครับ
ผู้เปิดเผยเรื่องนี้คือ แคธรีน เอ็ม. โกลด์นีย์, แฮร์รีย์ บุลลและหมอผีแฮร์รีย์
ไพรซ์บ้านผีสิงหลังนี้ผู้คนทั่วไปเรียกซื่อว่าบ้านผีสิงบอร์ลีย์ผู้ที่เคยนำครอบครัวเข้าไปอาศัยหลายราย
รวมทั้งครอบครัวของแฮร์รีย์ บุลล์


ต่างรู้สึกขวัญผวาและเป็นทุกข์ร้อนกับการรังควานของผีที่สิงอยู่ในบ้านหลังนี้เป็นอย่างยิ่งหมอผีแฮร์รีย์
ไพรซ์ได้รับการขอร้องให้เข้าไปปราบผีที่บ้านหลังนี้ ครั้นเขาเดินทางไปถึง
เขาสังเกตได้ว่า บ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าครำครึ ซึ่งทราบว่าเมื่อ
ครั้งสมิธและครอบครัวเคยมาอาศยในเดือนกันยายน ปี 1928
พบว่ามีหลายแห่งที่ผุพังต้องซ่อมแซมหลายจุด มีหนู คางคก แมงมุม
อาศัยอยู่ภายในห้องบนเพดาน
และใต้ถุนบ้านเต็มไปหมดในตอนแรกไม่มีใครเชื่อว่าน่าจะมีผีตามที่ชาวบ้านแถบนั้นร่ำลือแต่อย่างใดแต่ต่อมาสมิธ
ได้เดินสำรวจห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน
เพียงไม่กี่นาทีเขาก็เริ่มรู้สึกว่าได้สัมผัสกับสิ่งประหลาดเสียงระฆังดังกังวานโดยไม่มีใครตี
ลูกกุญแจเก่า ๆ กระเด็นออกจากล็อกประตู บางครั้งก็มีเสียงกรีดร้องแผ่ว ๆ
แจกันเก่า ๆ ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะตกลงมาบนพื้นและที่ประหลาดก็คือ
มีรอยเท้าคนเดินไปมาตามทางที่ผ่านประตูและห้องโถงหลังจาก นั้นมา สมิธและภรรยา
รวมทั้งลูกชายของเขามักจะประสบกับเหตุการณ์แปลก ๆ จนแทบจะกลายเป็นโรคประสาท

…..ครั้นถึงฤดูร้อน ปี 1930 บาทหลวงไลโอเนล อัลเยอร์นอล ฟอสเตอร์ และภรรยา
รวมทั้งบุตรสาวได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในบ้านผีสิงบอร์ลีย์ ก็ประสบกับเหตุการณ์
ประหลาดเช่นเดียวกัน มาเรียน ภรรยาของไลโอเนลได้เล่าว่า
เธอรู้สึกตกใจกลัวแทบเป็นบ้า เมื่อไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า
เหตุการณ์ประหลาดต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้น
ได้อย่างไร เช่น บางครั้งมีไฟลุกพรึบตรงฝาห้อง เฟอร์นิ
เจอร์ตกลงมาแตกหักโดยไม่มีพายุ ไม่มีคนผลัก สิ่งของลอยขึ้นไปชนเพดานห้อง
บางครั้งเธอรู้สึกว่ามีใคร
บางคนมายื้อยุดฉุดดึงเสื้อผ้าของเธอหมอผีแฮร์รีย์
ไพรซ์ได้กล่าวถึงบ้านหลังนี้ว่า มีวิญญาณสิงอยู่แน่นอน
แต่มีผู้คัดค้านว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านลึกลับ อาจมีพวกมิจฉาชีพแอบอาศัยอยู่
เสียงประหลาดที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากพวกนั้นซ่อนเทปไว้ ที่ใดที่หนึ่งก็เป็นได้
นอกจากนี้อาจมีประตูกลเข้าไปภายในบ้านหลังนี้ได้สองทาง
ทางหนึ่งอาจตัดตรงไปยังห้อง
เพดานด้านบน
จุดประสงค์ของพวกมิจฉาชีพคงใช้เป็นที่หลบซ่อนตำรวจก็เป็นได้และก็มีผู้คัดค้านบางรายถึงกับกล่าวว่า
ครอบครัวที่มาอาศัยบ้านหลังนี้ อาจสร้าง
สถานการณ์ขึ้นเพื่อต้องการมีชื่อเสียงโด่งดังให้คนทั่วไปรู้จักหมอผีแฮร์รีย์ได้เข้าไปสำรวจ
อีกหลายครั้ง พบหลักฐานประหลาดมากมายเช่น
พบอิฐลักษณะคล้ายอิฐที่นำมาจากสุสานต่าง ๆ ใบไม้ ขน สัตว์
เขาได้อ้างว่าพลังจิตของเขาได้สัมผัสกับวิญญาณต่าง ๆในบ้านนั้น
ขณะเดินสำรวจตามห้องต่าง ๆหลังจากนั้นเขาก็ได้ทำพิธีขับไล่วิญญาณดังกล่าว
แต่ยังไม่ทันที่จะได้ทราบผลพิสูจน์การขับไล่ผี
ปรากฏว่าบ้านหลังดังกล่าวนี้ก็ถูกรื้อถอนไปเสียก่อน

…..เรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ส่วนสมาชิกสมาคมค้นคว้าเรื่องจิตและวิญญาณของอังกฤษ ต่าง
ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า
น่าจะเป็นเรื่องจริงที่ควรแก่การค้นคว้าและพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ต่อไปส่วนผู้คัดค้านบางคนก็กล่าวว่า
แม้ว่าผลการพิสูจน์บ้านผีสิงบอร์ลีย์จะไม่
เด่นชัด แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งดีอีกประการหนึ่ง
คือยิ่งมีผู้พบบ้านผีสิงมากเท่าใด ก็จะถูกรื้อถอนทำลายมากขึ้น
และก็จะมีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามขึ้นมาทดแทนเสมอ
Share:

มารี อองตัวเนต Marie-Antoinette


มารี-อองตัวเน็ต โฌเซฟ ฌานน์ เดอ ฮับสบูร์ก-ลอแรนน์ (ประสูติ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 ณ กรุงเวียนนา สิ้นพระชนม์ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2336 กรุงปารีส) เจ้าหญิงแห่งฮังการี และแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย ราชินีฝรั่งเศส และนาแวร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) (พ.ศ. 2317 – พ.ศ. 2336) รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มารี-อองตัวเนตแห่งออสเตรีย พระนางถูกประหารด้วยกิโยตินระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส



เมื่อทรงพระเยาว์

ที่กรุงเวียนนา
ธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (แห่งราชสำนักลอเรนน์) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซาแห่งออสเตรีย มารี อองตัวเนตดำรงพระยศเป็น กษัตริย์ แห่งฮังการี และราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชสำนักฮับสบูร์ก) พระนางประสูติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) เป็นธิดาองค์ที่ 15 และก่อนองค์สุดท้ายของพระบิดาและพระมารดา พระนางถูกเลี้ยงดูโดยอายาส เหล่าข้าราชบริพารของราชสำนัก (มาดาม เดอ บร็องเดส และต่อมาโดยมาดาม เดอ เลอเชนเฟลด์ ผู้เข้มงวด) ภายใต้การสอดส่องดูแลอย่างเข้มงวดของจักรพรรดินี ผู้มีแนวความคิดล้าหลังเกี่ยวกับการเลี้ยงดูโอรสและธิดา ด้วยการควบคุมสุขอนามัย และกระยาหารอย่างเข้มงวด และการทรมานร่างกายด้วยกิจกรรมหนักหน่วง มารี อองตัวเนตเติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์กในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ การศึกษาของพระนางค่อนข้างถูกปล่อยประละเลย (หรือในอีกแง่หนึ่ง คือถูกเลี้ยงมาแบบง่ายๆกว่าการเลี้ยงดูราชนิกูลในราชสำนักฝรั่งเศส ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ห่างไกลจากกฎเกณฑ์ทั้งปวงของราชสำนัก เกือบจะแบบชาวบ้านธรรมดา) สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้ไม่ดีนัก พูดภาษาฝรั่งเศสได้น้อยนิด และยิ่งถ้าเป็นภาษาอิตาเลียนแล้วพระนางพูดได้น้อยมาก แม้ว่าทั้งสามภาษานั้นจะเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาราชนิกูลของออสเตรียก็ตาม จักรพรรดินีได้บังคับให้พระนางอภิเษกสมรสกับหลานชายคนโตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้มีชันษาใกล้เคียงกัน และในขณะเดียวกัน จักรพรรดินียังใฝ่ฝันจะจัดการอภิเษกอิซาเบล ธิดาอีกองค์ กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้ทรงชราภาพ

เมื่อมารี อองตัวเนตทรงเจริญพระชนมายุได้ 13 ชันษา จักรพรรดินีที่ขณะนั้นทรงเป็นหม้าย ได้ทรงสนพระทัยเพิ่มขึ้นในด้านการศึกษาของโอรสธิดา เพื่อจะได้สามารถจัดการอภิเษกสมรสได้ อาร์คดัชเชสมารี อองตัวเนต ได้หัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด กับ คริสตอฟ วิลบัลด์ กลุค (คีตกวีชื่อดัง) และเรียนนาฏศิลป์ฝรั่งเศสกับโนแวร์ เมื่อพระมารดาต้องเลือกระหว่างนักแสดงสองคนเพื่อให้มารี อองตัวเนตหัดการอ่านออกเสียง และร้องเพลง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้ทัดทานอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเห็นว่านักแสดงไม่มีคุณสมบัติพอ มารี-เทเรซา แห่งออสเตรีย จึงได้ขอให้เขาจัดหาครูที่ราชสำนักฝรั่งเศสรับรองมาให้ ผู้ที่ถูกส่งมาคือ บาทหลวงแห่งแวร์มงด์ ผู้นิยมในยุคแสงสว่าง และผู้นิยมศาสตร์แห่งการคัดตัวหนังสือ เขาจะเป็นผู้ที่แก้ไขข้อบกพร่องทางการศึกษาของมารี อองตัวเนต

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต ได้มาสู่ขอมารี อองตัวเนตเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส จักรพรรดินีมารี-เทเรส แห่งออสเตรียรีบตกปากรับคำ ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสที่เคร่งศาสนาได้คัดค้านการหมั้นหมายดังกล่าวที่ดำเนินการโดยดยุคแห่งชัวเซิล เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เนื่องจากจะเป็นการเ้อื้อประโยชน์กับออสเตรีย ศัตรูตลอดกาล พวกเขาได้เรียกพระชายาของมกุฎราชกุมารแล้วว่า ผู้หญิงออสเตรีย


มกุฎราชกุมารี

เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) มารี อองตัวเนต ได้ประกาศสละสิทธิ์ในการเป็นอาร์คดัชเชสของราชสำนักออสเตรียอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พระนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย ในวันเดียวกันนี้เอง ได้มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น เมื่อบรรดาเจ้าหญิงแห่งแคว้นลอเรนน์ของฝรั่งเศส ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นพระญาติกับองค์มกุฎราชกุมาร เพื่อให้ได้เต้นรำกับพระองค์ก่อนบรรดาอาร์คดัชเชสจากออสเตรียที่มาร่วมงาน ท่ามกลางความกังวลของเหล่าผู้ดีทั้งหลาย ที่ได้มีการซุบซิบนินทาต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" กันแล้ว และในเย็นวันนั้นเอง มีประชาชน 132 คนขาดใจตายกลางท้องถนน ในระหว่างพิธีเฉลิมฉลองงานมงคลอภิเษกสมรส

มกุฎราชกุมารีผู้เยาว์ชันษาทรงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในรั้วในวังของฝรั่งเศส พระสวามีของพระนางตีตนออกห่าง โดยการหนีไปออกป่าล่าสัตว์แต่เช้าตรู่ (ทั้งคู่เริ่มมีสัมพันธ์็ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2316) พระนางต้องทนทุกข์กับการปรับตัวเข้ากับพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศส และทรงเกลียดการใช้ชีวิตกับผู้คนรอบข้าง นอกจากนั้นแล้ว พระนางยังได้รับคำปรึกษาทางไกลจากกรุงเวียนนา โดยการเขียนจดหมายโต้ตอบมากมายหลายฉบับกับพระมารดา และกับท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำกรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส ท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโตเป็นผู้เดียวที่พระนางสามารถวางพระทัยได้ เนื่องจากดยุคแห่งชัวเซิลได้ถูกปลดจากตำแหน่งภายในเวลาไม่ถึงปีหลังการอภิเษกสมรส จากแผนการอันซับซ้อนซ่อนเงื่อนของมาดาม ดู บาร์รี พระสนมผู้ทรงอิทธิพลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จดหมายโต้ตอบกับท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลชิ้นเยี่ยม ที่จะอธิบายชีวิตโดยละเอียดของมารี อองตัวเนตภายหลังการอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) จนกระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระนางมารี-เทเรสที่หนึ่ง พระมารดาในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780)
ขึ้นครองราชย์

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต และพระนางมารี อองตัวเนต ได้ทรงขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส และแห่งนาแวร์ แต่พฤติกรรมของพระนางไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) เป็นต้นมา กระแสต่อต้านพระนางเริ่มแพร่สะพัด พระนางถูกรายล้อมด้วยพระสหายสนิทจำนวนหนึ่ง (เจ้าหญิงแห่งลอมบาลล์ บารอนแห่งเบอซองวาล ดยุคแห่งควงยี รวมถึงโยลองด์ เดอ โปลาสตรง กับเคานท์เตสแห่งโปลินยัก) ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้แก่นางสนมคนอื่นๆ ด้วยการจัดหาเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจำนวนมาก จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือย และจัดเกมการละเล่นที่มีเงินเดิมพันจำนวนมหาศาล


ชีวิตในราชสำนัก

มารี อองตัวเนต พยายามมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือพระมหากษัตริย์ ด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีเป็นว่าเล่นตามพระทัย หรือไม่ก็ด้วยคำแนะนำของพระสหายผู้จะได้รับประโยชน์ พระนางต้องเดือดร้อนจากการเข้าไปพัวพันกับคดีกีเนส (เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงลอนดอน ผู้ถูกกล่าวหาว่าวางแผนผลักดันฝรั่งเศสเข้าร่วมสงคราม)เนื่องด้วยขาดความยั้งคิด ส่งผลให้พระนางสั่งปลดตูร์โกต์ในกาลต่อมา บารอนพิชเลอร์ ราชเลขาของพระนางมารี-เทเรสที่หนึ่ง ได้ให้ความเห็นโดยรวมอย่างสุภาพด้วยการบันทึกไว้ว่า :

"พระนางไม่ต้องการจะปกครอง หรืออำนวยการ หรือแม้แต่ชี้นำเรื่องใดๆก็ตาม สิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่พระนางคิดคำนึงมาตลอดเวลาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระนางไม่ค่อยคิดเรื่องอื่นเท่าไรนัก และอุปนิสัยรักอิสระของพระนางเป็นข้อพิสูจน์ที่เพียงพอแล้ว เนื่องจากพระนางจะสนพระทัยเฉพาะสิ่งบันเทิงเริงรมย์ หรือไม่ก็เรื่องไร้สาระ"

กลุ่มคนที่ต่อต้านพระนางได้รวมตัวกันตั้งแต่เมื่อพระนางขึ้นสู่ราชบัลลังก์ มีการแจกใบปลิวกล่าวหาว่าพระนางมีชายชู้ (ท่านเค้าท์แห่งอาร์ตัว พระเชษฐาเขย และท่านเค้าท์ฮาน แอกเซล เดอ เฟอเสน หรือแม้กระทั่งว่าพระนางมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรี (โยลองด์ เดอ โปลาสตรง และเค้าท์เตส เดอ โปลินยัก) มีการใช้จ่ายเงินสาธารณะอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อการบันเทิงเริงรมย์ และเป็นฝ่ายหนุนหลังออสเตรียที่ตอนนั้นถูกปกครองโดยพระเจ้าโจเซฟที่สอง แห่งออสเตรีย พระเชษฐาของพระนาง แต่ก็ต้องกล่าวว่า พระนางได้ทำทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับพวกต่อต้านออสเตรีย ด้วยการปลดดยุคแห่งเอกุยยง และแต่งตั้งดยุคแห่งชัวเซิลขึ้นแทน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ พระราชวังแวร์ซายร้างจากผู้คน พวกนางสนมที่ราชินีหวาดระแวงได้หนีหน้าหายไปเนื่องด้วยไม่สามารถสนับสนุนรายจ่ายที่เกิดจากชีวิตอันหรูหราในราชสำนักได้

ในที่สุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) มารี อองตัวเนตได้มีประสูติกาลพระธิดาองค์แรก ที่มีพระนามว่า มารี-เทเรสแห่งฝรั่งเศส (ชาตะ พ.ศ. 2321 - มรณะ พ.ศ. 2394) หรือมีชื่อเล่นว่า "มาดามรัวยาล" และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ก็ถึงคราวให้กำเนิดเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ มกุฎราชกุมาร แต่ประสูติกาลเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลดีแก่พระนางมารี อองตัวเนต เนื่องจากมีผู้กล่าวหาว่าโอรสธิดานั้นไม่ได้มีเ้ชื้อสายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางได้หันกลับมาใช้ชีวิตที่สนุกสนานเช่นเดิมอย่างรวดเร็ว และได้เฝ้าดูการก่อสร้างหมู่บ้านชนบทที่พระราชวังแวร์ซาย ให้เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่พระนางเชื่อว่าทำให้ได้ค้นพบชีวิตชาวนาอันผาสุก ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) พระนางได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่สอง มีพระนามว่าเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล ดำรงตำแหน่งดยุคแห่งนอร์มงดี
คดีสร้อยพระศอ

มารี อองตัวเนตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวในคดีสร้อยพระศอของพระนางมารี อองตัวเนต เมื่อนายโบห์แมร์เรียกร้องเงินจำนวน หนึ่งล้านห้าแสนปอนด์จากองค์ราชินี เป็นค่าสร้อยคอเพชรที่พระคาร์ดินัล เดอ โรออง เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำขึ้นในนามของราชินี มารี อองตัวเนตยืนยันที่จะให้จับกุมพระคาร์ดินัล แล้วเรื่องก็แดงขึ้นมา องค์กษัตริย์ได้มอบหมายให้รัฐสภาจัดการเรื่องนี้ ที่ในที่สุดก็ทราบตัวการ คือคู่รักที่อ้างว่าเป็นเค้าท์และเค้าท์เตสมอธ ที่ไปหลอกลวงพระคาร์ดินัลโรอองผู้บริสุทธิ์อีกต่อหนึ่ง แม้ว่าสมเด็จพระราชินีจะไม่มีความผิดเช่นกัน แต่ก็เสียพระเกียรติเป็นอันมาก เมื่อพระนางขอให้พระมหากษัตริย์เบิกตัวพระคาร์ดินัลเดอ โนไอญ์ และให้ส่งตัวพระนางไปลี้ภัยในที่สังฆมณฑลแห่งหนึ่งของพระคาร์ดินัลนี้

มารี อองตัวเนตได้ทราบถึงชื่อเสียงที่เสื่อมเสียของพระนางในที่สุด และได้พยายามตัดลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าปรับปรุงพระตำหนักของพระนาง ซึ่งก่อให้เกิดเรื่องอื้อฉาวระลอกใหม่ขึ้นในพระราชวัง เมื่อพระสหายโปรดเห็นว่าพวกเขาไม่มีภาระหน้าที่อีกต่อไป พระนางทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ พระนางยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป และได้รับการขนานพระนามว่า "มาดามหนี้ท่วมหัว" และมีคนกล่าวหาพระนางว่าเป็นต้นเหตุของการต่อต้านรัฐสภาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 รวมทั้งการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีหลายคนโดยไม่มีเหตุผลสมควร อันที่จริงแล้ว ในปี พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) พระนางเป็นผู้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปลดนายโลเมนี เดอ เบรียนน์ผู้เสื่อมความนิยม และแต่งตั้งนายชัค เนคแกร์ขึ้นแทน แต่การกระทำดังกล่าวก็สายไปที่จะกอบกู้ชื่อเสียงคืนมา



การปฏิวัติฝรั่งเศส

พ.ศ. 2332

ในปี พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) สถานการณ์ขององค์ราชินีเลวร้ายลงมาก มีเสียงเล่าลือว่าคุณผู้ชาย (พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ในอนาคต) จะยื่นเรื่องต่อสภาบุคคลชั้นสูงในปี พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) เพื่อขอพิสูจน์สายเลือดของโอรสธิดาของกษัตริย์ ข่าวลือยังอ้างด้วยว่าองค์ราชินีได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองวัล-เดอ-กราซ ชานกรุงปารีส บาทหลวงซูลาวี ได้เล่าไว้ใน บันทึกประวัติศาสตร์และการเมืองในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่า "พระนางได้นำเอาความโชคร้ายของสาธารณะชนไปกับพระนางด้วย และทางราชสำนักก็มีชีวิตชีวาขึ้น และได้รับการฟื้นฟูขึ้นโดยทันทีทันใด จากการที่พระนางเสด็จแปรพระราชฐานเพียงอย่างเดียว"

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ได้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์ขึ้น ระหว่างพิธีมิสซาเพื่อการเปิดสภาอย่างเป็นทางการ สาธุคุณเดอ ลา ฟาร์ ผู้อยู่บนบัลลังก์สงฆ์ ได้กล่าวประนามมารี อองตัวเนตอย่างเปิดเผย ด้วยการตีแผ่การใช้ชีวิตในราชสำนักอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย และยังกล่าวว่าผู้ที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตหรูหราดังกล่าวได้หลบไปหาความสำราญด้วยการ ใช้ชีวิตเลียนแบบธรรมชาติอย่างไร้เดียงสา อันเป็นคำประชดประชันแดกดันด้วยการเปรียบเปรยถึงชีวิตในพระตำหนักเปอติ ทรีอานง บ้านไร่ในพระราชวังแวร์ซายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สร้างขึ้นเพื่อมอบให้กับพระนางมารี อองตัวเนต (ตามที่เขียนไว้ใน บันทึกเกี่ยวกับคณะสมาชิกสภา ของ อาเดรียง ดูเกสนัว)

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน มกุฏราชกุมารพระองค์น้อยได้สิ้นพระชนม์ลง ได้มีการจัดพิธีพระศพขึ้นที่วิหารน้อยซังต์-เดอนีส์เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย กิจกรรมทางการเมืองไม่อนุญาตให้เชื้อพระวงศ์ไว้ทุกข์ได้อย่างสะดวกนัก มารี อองตัวเนต ผู้ซึ่งปั่นป่วนพระทัยจากเหตุการณ์นี้ และเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ในที่ประชุมสภาที่ปรึกษากษัตริย์ จึงปักใจเชื่อในแนวคิดต่อต้านการปฏิวัติ ในเดือนกรกฎาคม พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้สั่งปลดนายชาก เนกแกร์ องค์ราชินีได้เผาเอกสารต่างๆ และรวบรวมเพชรนิลจินดาของพระนาง และกราบทูลโน้มน้าวให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จออกจากพระราชวังแวร์ซายไปหลบในปราสาทที่เป็นป้อมปราการแข็งแกร่งกว่านี้ ห่างไกลจากกรุงปารีส หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) หน้งสือต่อต่านระบอบกษัตริย์ถูกแจกจ่ายไปทั่วกรุงปารีส ผู้ใกล้ชิดพระนางถูกหมายหัว และพระเศียรของมารี อองตัวเนตถูกตั้งราคาไว้ มีคนกล่าวหาพระนางว่าต้องการลอบวางระเบิดรัฐสภาและต้องการส่งทหารเข้ามาในกรุงปารีส

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวครั้งใหม่ขึ้น ขณะที่มีงานเลี้ยงพระกระยาหารโต๊ะยาวโดยเหล่าราชองครักษ์จากพระตำหนักทหารขององค์กษัตริย์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้แก่กองทหารเรือจากฟลองเดรอที่เพิ่งกลับมาถึงกรุงปารีส ได้มีการโห่ร้องถวายพระพรแก่องค์ราชินี อีกทั้งประดับประดาสถานที่ด้วยธงชัยสีขาว และธงไตรรงค์ิ ประชาชนในกรุงปารีสได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับงานพระราชพิธีนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถวายช่อดอกไม้ ในขณะที่ประชาชนขาดแคลนขนมปัง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ขบวนประท้วงของเหล่าสตรีได้เดินทางมาถึงพระราชวังแวร์ซาย เ่พื่อเรียกร้องขอขนมปัง โดยกล่าวว่าพวกเขากำลังเดินทางไปหา คนทำขนมปังชาย (พระมหากษัตริย์) และคนทำขนมปังหญิง (องค์ราชินี) รวมทั้ง บุตรชายของคนทำขนมปัง (มกุฎราชกุมาร) ในเช้าวันรุ่งขึ้น ประชาชนผู้ลุกฮือติดอาวุธด้วยหอกและมีด ได้บุกเข้าไปในพระราชวัง สังหารองครักษ์เพื่อเป็นการข่มขวัญเชื้อพระวงศ์ ทำให้บรรดาเชื้อพระวงศ์จำต้องเดินทางกลับกรุงปารีสโดยมีกองทหารของมาร์กี เดอ ลา ฟาแยต และเหล่าผู้ลุกฮือตามประกบ ระหว่างทาง ได้มีผู้ข่มขู่องค์ราชินีโดยการให้ทอดพระเนตรเชือกเส้นหนึ่ง พร้อมกับกราบทูลว่าจะใช้เสาโคมในกรุงปารีสแขวนคอพระนางด้วยเชือกเส้นนี้
Share:

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดแห่งเซน

ปฐมหลักจากพุทธศาสนาได้แยกออกเป็น ๒ นิกายหลัก ๆ คือ นิกายหินยาน และ นิกายมหายาน แล้วก็ยังแบ่งรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกฝ่ายหนึ่ง ลัทธิมหายานได้มุ่งหน้าไปทำการเผยแผ่ที่ประเทศจีน และภายหลังต่อมานั้นได้เกิดลัทธิเต๋าขึ้น จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ ๖ ที่ ประเทศจีนได้มีการก่อตั้งลัทธิใหม่เกิดขึ้นนั่นก็คือ ลัทธิชาน เป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสนาพุทธอินเดีย และศาสนาพุทธลัทธิเต๋าของจีน โดยมีชื่อว่า "ชาน" เป็นภาษาจีน ซึ่งได้แปลงมาจากภาษาสันสกฤตว่า "ธยาน" และตรงกับภาษาบาลีว่า "ฌาน" เป็นความสำคัญของการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งซึ่งอยู่คู่กับสมาธิ ความเจริญรุ่งเรืองของลัทธิฌานในประเทศจีนนี้ มีมากเมื่อศตวรรษที่ ๗ -๑๒ ในราชวงศ์ถังราชวงศ์ซ่ง โดยแบ่งออกเป็นสองฝ่ายหลัก ๆ คือ สำนักฝ่ายเหนือ และ สำนักฝ่ายใต้ ทั้งสองนี้มีความแตกต่างกันทางด้านความเชื่อและคำสอน ดังนี้


สำนักฝ่ายเหนือ เชื่อว่า การปฏิบัตินั้นต้องค่อย ๆ ปฏิบัติสั่งสมบารมีไปอย่างไม่เร่งรีบร้อน
สำนักฝ่ายใต้ เชื่อว่า การปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติอย่างรวดเร็วเพราะการตรัสรู้ธรรมนั้นต้องอาศัยการรู้อย่างฉับพลัน ต่อมาไม่นานลัทธิฌานที่ได้ถือการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางและเผยแผ่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๑๙๐ ถูกเรียกขนานใหม่ว่า เชน หรือ เซน โดยภายหลังนั้นยังสามารถแบ่งออกไปได้อีก ๒ นิกายหลัก คือ
ต่อมาไม่นานลัทธิฌานที่ได้ถือการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางและเผยแผ่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๑๙๐ ถูกเรียกขนานใหม่ว่า เชน หรือ เซน โดยภายหลังนั้นยังสามารถแบ่งออกไปได้อีก ๒ นิกายหลัก คือ
โซโต
รินไซ
ทั้งสองนิกายนี้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่มีความเคารพในทางปันธิธรรมเหมือนๆ กัน รายละเอียดข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับเรื่องเซนยังมีอีกมาก แต่ผู้เขียนพิจารณาว่า เขียนไปก็อาจจะทำให้เกิดความสงสัย ดังนั้น จึงหยิบแต่แนวหลักของเซนแท้ของจีนมาเขียนรวมไว้กับญี่ปุ่น โดยรวม ๆ แล้ว เซนได้เข้าสู่ประเทศอเมริกาเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๕ และได้ความนิยมเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
เซนเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นลัทธิที่ใหญ่และมีศรัทธามากล้นจากทั่วโลกการเผยแผ่ลัทธิเซนนี้เริ่มจากประเทศจีนก่อนเป็นลำดับแรก แล้วแผ่ขยายไปยังประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง และได้แผ่หลายลงมาทางตอนใต้คือ ไทย สิงค์โปร์ และข้ามทวีปไปที่ อเมริกา อังกฤษ และอีกหลาย ประเทศในยุโรป สำหรับประเทศไทยของเรา เซนยังได้รับการนิยมไม่กว้างขวางเท่าไหร่นัก อันเนื่องศาสนาพุทธของประเทศเรานั้น มีนิกายหินยานหรือเถรวาทเป็นนิกายหลักประจำชาติอยู่แล้ว แต่ทว่าเรื่องของการกีดกั้นมิให้ศาสนพุทธมหายานลัทธิเซนเข้ามามีบทบาทนั้นมิอาจพึงกระทำได้ เนื่องจากเราเป็นประเทศประชาธิปไตยที่เปิดกว้างทุกเชื้อชาติและศาสนา แต่ก็มีหลายคนหลายกลุ่มที่เริ่มหันมาศึกษาพุทธศาสนาในเซนมากกว่าเดิม
สิ่งแตกต่างทั้งสองนิกายนั้น มีอยู่หลาย ๆ ประการด้วยกัน แต่สำหรับความเป็นนิกายเซนนั้น สิ่งที่แตกต่างก็มีปรากฏอยู่ แต่ผู้เขียนแอบมีศรัทธาคือ แนวทางการสอนของเซนที่ว่าเน้นสอนให้อยู่กับความจริง ในการยอมรับตัวเองและศึกษาธรรมพิจารณาธรรม โดยอาศัยธรรมชาติของชีวิตเป็นสิ่งที่สอน โดยมีจุดหมายสูงสุดด้วยการบรรลุธรรม ตัดสิ้นกิเลสตัณหา อุปาทานขันธ์สิ่งนี้ต่างหากที่คิดว่าเหมาะกับยุคสมัยหรือร่วมสมัยหรือร่วมสมัยในยุคแห่งปี ๒๐๐๐ โดยเฉพาะคนไทย

คนไทยจำนวนไม่น้อยเมื่อได้มาศึกษานิกายเซนแล้ว เริ่มมีความเข้าใจชัดยิ่งขึ้นว่า พุทธศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้ทรงมีการเน้นสอนเรื่องอะไรเป็นที่สุด ประดุจพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ แต่พุทธศาสนาที่เราท่านได้นับถือกันอยู่ปัจจุบันกลับกลายไปเน้นเพียงว่า การทำบุญทำทาน การขึ้นสวรรค์ ลงนรก หรือ พิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น หากใช่เน้นไปเพื่อความหลุดพ้นเพียงแต่สิ่งเดียว

อันพิธีกรรมนี้จริงอยู่ว่าเป็นงอค์ประกอบหนึ่งของศาสนาแต่หากว่ามากไปก็จะกลายเป็นเรื่องผลประโยชน์มากเกินไป เมื่อพระมีเงินมาก สิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาต่าง ๆ อาทิ ปัญหาเรื่องผู้หญิงปัญหาเรื่องของความโลภทางด้านสมณศักดิ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ขอให้ลองพิจารณาดูว่าจริงหรือเท็จ แต่หากว่าศึกษาเรื่องเซนจะพบว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเรื่องธรรมดาของโลก

ส่วนคำกล่าวที่ว่า พระเซนมีภรรยาได้นั้น ไม่เป็นจริงหากว่านับถือพุทธนิกายเซนโดยแท้ เพราะพระธรรมวินัยในข้อปาราซิกขาดจากความเป็นพระในการเสพเมถุนธรรมก็ยังมีเช่นกัน เว้นแต่เพียงว่า สามารถแตะต้องสัมผัสสตรีเพศในลักษณะจับมือถือแขนหรือกอดรัด ควงก้อยนั้น หากทำได้ดังที่บางคนมีความคิดเช่นนั้นการนับถือเซนก็คือ การนับถือพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นให้ไปถึงธรรมะ มิใช่ติดกันอยู่ที่ภายนอกของรูปแบบ หรือพิธีกรรมเท่านั้นหากคุณสนใจเซนจะช้าทำไมเปิดอ่านหน้าต่อไปได้เลยว่า เซนเป็นอย่างไร และให้ประโยชน์อะไรกับชีวิตของคุณบ้างทางแง่ของจิตใจ ในความเป็นชาวพุทธ
Share:

พุทธทำนาย

หนังสือใบลานสี ได้ถูกตกมาในวัดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอัตตะบือ (ประเทศลาว) ข้าพเจ้าได้รับรู้จากพระอาจารย์ผู้ทรงศีลองค์หนึ่งได้เผยแพร่ให้เลยเกิดความศรัทธา เสียสละทรัพย์ พิมพ์แจกจ่ายมายังพี่น้องชาวพุทธทั้งหลาย เพื่อเป็นกุศลและเพื่อพิจารญาณด้วยตนเองถึงเหตุการณ์มหันตภัยของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งจะบังเกิดขึ้นตามพุทธทำนายไว้

โลชังชม โทโพโส อินโตกรุณา

พระอินทร์ พรหม ยมราช ได้สั่งไว้ว่า ถ้าบุคคลใดได้รู้แล้ว จงรีบบอกให้คนอื่นฟังหรือพิมพ์แจกตามกำลังศรัทธา จะเกิดมหากุศลช่วยให้ท่านได้หลุดพ้นจากมหัตภัยพิบัติทั้งปวง ถ้าบุคคลจะลงมาเกิดพร้อมหนังสือใบลานฉบับนี้ ถ้าใครไม่มีไว้ในบ้านเรือน จะมีภูตผี ปีศาจ เข้ามาทำลายอย่างแน่นอน

ในปีจอถึงปีกุน เมื่อเดือนหงายจะมีงูพิษอยู่บนศีรษะ ฉกกัดให้ถึงตาย และผู้คนทั้งหลายจะเกิดความเดือดร้อนหลายประการ

ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนศึกสงครามบ่แล้ว
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนน้ำและไฟ
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนบ่มิไผสิเบิงไผ
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนอึดข้าวปลาอาหาร
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนผัว - บ่เห้นหน้ากัน
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนมีคนตายตามทุ่ง
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนบ่มีผู้เฒ่า
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนไปต่างประเทศบ่สะดวก
ทุกข์ยากฮ้อน ย้อนนอนบ่หลับ

ในปีจอนี้ ในเมืองจันทร์จะมีฤษีองค์ทองคำ สิกขาเพศออกมาเป็นพ่อค้าในปีจอ ขึ้น 8 ค่ำ ห้ามบ่อให้ตักน้ำอาบ น้ำกิน ตามห้วยหนิงคลองบึงหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน (ก่อนค่ำ) พระยายมราชจะนำเอายาพิษพ่นใส่ในโลกมนุษย์

ในปีจอ เมืองกรุงเทพฯ จะแตกพังทลายในเวลาไก่ขัน พระแก้วมรกต หัวเชียงเมี้ยง ข้าวเม็ดใหญ่จะกลับสู่เวียงจันทร์ นี่คือ พระคาถาขององค์อินทร์ พรหมยมราชได้เขียนไว้ในใบลาน จงเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อช่วยหลุดพ้นจากภัยพิบัติได้ ในยามเกิดเหตุการณ์มหันภัย พระคาถาเขียนไว้ว่า

ปะโต เมตัง ประระชีมินัง สุคะโต จุติ จิตตะ เมตตะ นิพะนัง สุขะโต จุติ พระคาถาบทนี้ เขียนลงใบลาน แผ่นทองหรือแผ่นผ้าก็ดี ติดไว้ที่ประตูบ้านหรือในรถหรือโพกศีรษะ ยากเกิดเหตุการณ์จะช่วยให้หลุดพ้นจากภัยอันตราย

ในการละเวลานี้ เทพเจ้าเหล่าเทวดาผู้รักษาคุ้มครองโลก ได้กราบทูลต่อพระอินทร์ ว่ามนุษย์โลกทำกุศลเพียง 3 ส่วน และทำบาปกรรมถึง 7 ส่วน เมื่อเป็นเช่นนี้ องค์อินทร์จะสั่งลงโทษมนุษย์ผู้ใจบาป ถึง 9 ข้อ นับตั้งแต่ปีจอ ถึง ปีกุน ดังนี้
1. จะเกิดพายุลมแรง แผ่นดินไหว
2. จะให้เกิดอัคคีภัย
3. จะเกิดอุทกภัย
4. จะเกิดฟ้าผ่า
5. จะเกิดร้อนเกินไป หนาวเกินไป
6. จะเกิดสารพิษต่าง ๆ
7. จะเกิดกาฬโรคต่าง ๆ
8. จะเกิดข้าวยากหมากแพง
9. จะเกิดฆาตพยาบาทเบียดเบียนกันเอง

มหัตภัยทั้ง 9 อย่างนี้ จะหลุดพ้นได้ โดยเฉพาะผู้มีบุญ คนที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเท่านั้น รู้แล้วจงบอกต่อกันไปให้รีบทำความดีมากๆ ถ้าเลยปีจอ ปีกุน ไปแล้วทุกคนพร้อมทั้ง ลูกหลานจะได้รับความสุข สบายใจ ทุกคน ให้ทุกคนเคร่งครัดในศีล 5

สุดท้าย ผู้ทรงศีลได้กล่าวย้ำถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหนังสืออินทร์ตกว่า ถ้าท่านผู้เคารพบูชาหรือบนว่าจะบอกแก่ผู้อื่นหรือ พิมพ์แจกจ่ายให้ สาธุชนทั้งหลายได้รับรู้ แล้วท่านจะปรารถนาสิ่งใดจะได้สมใจนึกจะปราศจาก ภัยพิบัติทั้งปวงตลอดไป ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

ศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตะวัน
ณ สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย โดยคณะทูตไทยที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2485 ตามคำแปล เป็นภาษาไทย ว่าดังนี้

สาธุ อะระหังตา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระเมตตากรุณาสรรพสัตว์ทั้วโลก ที่เกิดมาแล้ว แต่ลำบาก ทั่วหน้า ทุกชาติ ทุกศาสนาตามธรรมชาติ เมื่ออาตมาเข้ามานิพพานไปแล้วครบห้าพันปีเป็นที่สุด โลกจะหมุนไปใกล้ถึงจำนวนที่ตถาคตทำนายไว้สองพันห้าร้อยปีมนุษย์และสัตว์ จะได้รับภัยพิบัติเสีย ครั้งหนึ่งใน ระยะ 30 ปี สิ่งที่สาธุชนไม่เคยเจอะเจอจะได้เห็น ไม่เคยพบจะได้พบ ยักษ์หินที่ถูกสาปให้หลับกับตื่นขึ้นมาอาละวาดยิ่งนัก ใกล้กับ พ.ศ. 2550 ยิ่งทวีกันใหญ่ขึ้นทุกทิวาราตรี มนุษย์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันกันจนเลือดนองเต็มพื้นดิน พื้นน้ำจะลุกลามเผามนุษญ์ไม่ขาดระยะ ต่างฝ่ายต่างทำลายเหมือนยักษ์ กระหายเลือดแผ่นดินจะเป็นเปลวไฟจะตายอย่างละครึ่งหนึ่งจึงจะเลิกล้ม ต่างฝ่ายต่างหมดกำลังด้วยกันตามวิสัยยักษ์ร้ายนอกศาสนาซึ่งถือกำเนิดจากป่าอำมหิต ส่วนพุทธศาสนิกชน ผู้ทำแต่บุญเดินตามทางตถาคตสามารถระงับร้อนไม่รุนแรงบ้านใดได้บูชา พระโพธิสัตว์ผ้ากาสาวพัตร์ ก็จะรับภัยพิบัติเบาบาง แต่หนีภัยธรรมชาติไม่พ้น ไฟจะลุกลามทางทิศตะวันออกไหว้วัดวาอาราม สมณะชีพราหมณ์จะอดอยากยากเข็ญ ลูกไฟจะตกจากฟ้า เหล็กกล้าจะผุดจากน้ำสงครามจะเกิดทั่วทิศพระยานาคจะพ่นพิษเป็นเพลง ทหารจะเป็นเจ้า ข้าวสารจะขาดแคลน ทุกแคว้นจะอดอยาก หมากพลูจะหมดเปลือง สีเหลืองจะชนะพระยังอยู่คู่เมืองอีกต่อไป สีขาวจะแพ้ภัยในที่สุด ครุฑจะบินกลับฐานคนจะกลับบำรุงพระพุทธเจ้าว่า ดังนี้ ชา ตะ มะ สะ ละ วา พระพุทธชินสิตนี้ท่านให้ เขียนใส่กระดาษ หรือผ้าขาวติดไว้หน้าบ้าน หรือหัวนอน ดังนี้ จะมีอายุยืนยาว จะทันผู้มีบุญชื่อ พระยาธรรมมิกราชา เมื่อแรกสถิตอยู่ เขตอยุธยา บัดนี้ท่านเสด็จอยู่ลานช้าง (ภาคอีสานในปัจจุบัน) พระยาธรรมมิกราชา เข้ามาปีกุนเดือน 11 เป็นเที่ยงแท้หนักหนาท่านเสร็จมาในปีระกา แรม 5 ค่ำ มหากษัตริย์มาทางทิศตะวันตก สมณะชีพราหมณ์ตามมาพอประมาณได้ 76,400 รูป ทั่วอาณาจักร สมเด็จพระบรมนักปราชญ์ได้ประกาศคาถาว่าดังนี้ นะสัจจัง ทะ คะยัง มะสำคำปัง คอยดูในปีมะโรงคนจะเดินโกงโคง คลาน ผู้ใดอยากพบผู้มีบุญชื่อ พระยาธรรมมิกราชา ให้ภาวนา ให้หมั่นรักษาศีล สดับรับฟังพระธรรมเทศนา คอยดูปีมะเส็งตลิ่งจะพัง มหาสมุทรจะชอกช้ำ อย่าเที่ยวไปกลางแจ้ง ท่านเข้ามาปีกุน เดือน 8 เป็นเที่ยงแท้ ผู้ใดไม่เชื่อจะรับอันตราย

คอยดูในปีจอ คนจะพ้นภัย สะโรนะกา โททายะโม พุทธะตะยะภาวนา ทุกค่ำเช้า ผู้นั้นจะมีอายุยืนนานจะได้เห็นพระยาธรรมมิกราชา (พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตย) ในปีกุนท่านจะเข้ามาอีก ถ้าไม่เห็นหนังสือบ้านใด ผู้นั้นจะได้รับอันตรายรู้แล้วให้บอกต่อกันด้วย

คำเตือน โลกมนุษย์กำลังจะเข้าสู่กาลียุค จะทำให้เกิดภัยธรรมชาติจากดิน น้ำ ลม ไฟ จะเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สาม ตามมา มนุษย์จะตายไปกว่าครึ่ง

สำหรับประเทศไทยจะเริ่มเกิดตั้งแต่ปี 2550 คาดว่าจะได้รับภัยทางน้ำและไฟ โดยเฉพาะที่จังหวัดที่ติดชายทะเลและกรุงเทพฯ แผ่นดินจะยุบตัวคลื่นน้ำจะพัดเข้าถล่มความสูง 200 เมตร มนุษย์จะล้มตายมากกว่าครึ่ง น้ำจะเข้าช่องแคบสระบุรี และด้านตอนล่างของโคราชบางส่วน ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ สุดท้ายประเทศไทยจะเหลือประชากรประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์

ส่วนประเทศอื่นทั่วโลกจะเหลือเพียง สิบเปอร์เซ็นต์ เท่านั้น บุคคลที่รอดชีวิตส่วนมากก็จะสูญเสียสติสัมปชัญญะ ไม่ปลอดภัยเหมือนเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะไม่เข้าใจบำเพ็ญณานภาวนา ฉะนั้นอย่าหลงใหลในทรัพย์สินของตนเองให้มากเพราะเมื่อเข้ายุคศิวิไล เงิน ทอง จะไม่มีค่าเลย เพราะ มนุษย์ยุคนั้นวัดกันที่ความดี ศีลธรรม บุญกุศลเท่านั้น ปีมะโรง พ.ศ. 2555 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2556 ประกา พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2562
Share:

เทศน์มหาชาติ

พระอรรถกถาจารย์พรรณนาถึงเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อไว้ว่า ผู้ที่ได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ๑๐๐๐ พระคาถาจบภายในวันเดียวจะได้อานิสงส์มาก เช่น ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือนิพพานสมบัติ ที่สุดแม้แต่จะปรารถนาให้พบพระศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยก็จะได้พบสมความปรารถนา และในแต่ละกัณฑ์ยังมีอานิสงส์แตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องอีกด้วย

ผู้ใดบูชากัณฑ์ทศพร จะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ ถ้าเป็นบุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์ ทั้งจะได้บุตรหญิงชาย เป็นคนว่านอนสอนง่าย มีรูปกายงดงาม มีความประพฤติดี กิริยาวาจาเรียบร้อยทุกประการ
ผู้ใดบูชากัณฑ์หิมพานต์ ย่อมได้ในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ ครั้นตายไปแล้วจะได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสมบัติอันโอฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิจ ครั้นจุติจากสวรรค์แล้วจะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาล หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร บริวารมากมายนานาประการ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า รถ ยานพาหนะ นับประมาณมิได้ ประกอบด้วยความสุขกายสบายใจทุก ๆ อิริยาบถ
ผู้ใดบูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง ทาส ทาสี และสัตว์สองเท้าสี่เท้า ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมาย เสวยสุขอยู่ในปราสาทแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ
ผู้ใดบูชากัณฑ์วนปเวสน์ จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า จะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีปเป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด สามารถปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไป
ผู้ใดบูชากัณฑ์ชูชก จะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ประกอบด้วยสมบัติอันงดงามกว่าชนทั้งหลายจะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต แม้จะได้สามีภรรยาและบุตรธิดา ก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย
ผู้ใดบูชากัณฑ์จุลพน แม้จะบังเกิดในภพใด ๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยดอกไม้หอมตลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยปทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพย์สมบัติในโลกหน้าสืบไป
ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาพน จะได้เสวยสมบัติในดาวดึงส์เทวโลก และจะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมาก มีอุทยานและสระโบกขรณีเป็นที่ประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป อีกจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิจนิรันดร
ผู้ใดบูชากัณฑ์กุมาร ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่พึงปรารถนาครั้นตายไปได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ ในสมัย ที่พระศรีอาริยเมตไตรยมาอุบัติก็จะได้พบศาสนาของพระองค์ จะได้ถือปฏิสนธิ ในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์แล้วบรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง 4 ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้
ผู้ใดบูชากัณฑ์มัทรี เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว ทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะไปในที่ใด ๆ ก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน
ผู้ใดบูชากัณฑ์สักกบรรพ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยลาภ ยศ ตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง 4 ประการ ได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาล
ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาราช จะได้มนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชา เมื่อจากโลกมนุษย์ไปก็จะได้ไปเสวยทิพย์สมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติอันตัดเสียซึ่งชาติชรา พยาธิ มรณะ พ้นจากโอฆะทั้งสาม มีการโมฆะ เป็นต้น
ผู้ใดบูชากัณฑ์ฉกษัตริย์ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยพร 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละทุก ๆ ชาติแล
ผู้ใดบูชากัณฑ์นครกัณฑ์ จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติ ข้าทาสชายหญิง ภรรยาสามี หรือบิดามารดา เป็นต้น อยู่พร้อมหน้ากันโดยความผาสุก ปราศจากโรคาพาธทั้งปวง จะทำการใด ๆ ก็พร้อมเพรียงกัน ยังการงานนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ความเชื่อแบบพุทธ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมทางศาสนา เช่น การเวียนว่ายตายเกิด การทำดีได้ดี การทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งการทำความดีและความชั่วนั้นจะเห็นผลได้ชัดเจนในตอนสรุปเรื่องหรือประชุมชาดกกลับชาติว่า คนทำความดีเมื่อไปเกิดชาติใหม่ก็เกิดมาดีทุกคน ด้วยเหตุนี้พระอรรถกถาจารย์จึงพรรณนาถึงเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อไว้ว่า ผู้ที่ได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์ 1000 พระคาถา จบภายในวันเดียวจะได้อานิสงส์มาก เช่น ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือนิพพานสมบัติ ที่สุดแม้แต่จะปรารถนาให้พบพระศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยก็จะได้พบสมความปรารถนา และในแต่ละกัณฑ์ยังมีอานิสงส์แตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องอีกด้วย

หากจะวิเคราะห์ความเชื่อในเรื่องมหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ๑๐๐๐ พระคาถาพอจะสรุปได้ดังนี้คือ มีทั้งความเชื่อแบบพุทธ ความเชื่อแบบพราหมณ์ และความเชื่อในเรื่องผี ความเชื่อในเรื่องผี ปรากฏอยู่ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกหลายกัณฑ์ ซึ่งตอนนี้จะขอทำความเข้าใจเรื่องผีเสียก่อน ผีมีอยู่ ๓ ชนิด ได้แก่

ผีที่ดี คือผีที่คอยปกปักรักษาเรา เรียกกันโดยทั่วไปว่า เทวดา เช่นรุกขเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา เสื้อเมืองทรงเมือง ดังนี้เป็นต้น
ผีร้าย เป็นผีที่คอยหลอกหลอน ชอบกินเครื่องเซ่น เครื่องสังเวย ชอบรับสินบน หากไม่ได้ตามที่ต้องการก็จะคอยทำอันตราย เข้าสิงสู่ผู้คนให้เดือดร้อน
ผีที่เป็นซากศพ ได้แก่คนที่ตายแล้วเราก็เรียกว่าผีไม่ว่าจะตายโดยวิธีใด ตายด้วยโรคาพยาธิ หรือตายด้วยคลื่นยักษ์ “สึนามิ” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ก็ตาม
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนี้เชื่อว่าคนทำดีผีย่อมคอยปกปักรักษา จึงกล่าวถึงผีที่ดี ผีที่คอยปกปักรักษา คอยช่วยเหลือพระเวสสันดรบ้าง คอยดลใจชาวเมืองบ้าง หรือคอยปกปักรักษากัณหาชาลีในกัณฑ์มหาราชบ้าง ดังนี้เป็นต้น

ส่วนความเชื่อแบบพราหมณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนี้ ปรากฏในรูปแบบของพิธีกรรมและวิธีการหลายตอน เช่นการทำนายฝัน และการทำบายศรีสู่ขวัญในกัณฑ์มหาราช ความเชื่อแบบชาวพุทธ ได้แก่ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมทางศาสนา เช่น การเวียนว่ายตายเกิด การทำดีได้ดี การทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งการทำความดีและความชั่วนั้นจะเห็นผลได้ชัดเจนในตอนสรุปเรื่องหรือประชุมชาดกกลับชาติว่า คนทำความดีเมื่อไปเกิดชาติใหม่ก็เกิดมาดีทุกคน
Share:

พุทธศาสนาแบบตันตระ

(บทความจาก สภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัย)

คำว่าพระพุทธศาสนาแบบตันตระ นั้นโดยทั่วไป ใช้เรียกพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคหลัง กล่าวคือ มนตรยาน วัชรยาน หรือสหัชยาน การที่นิกายโยคาจาร ได้ย้ำถึงความสำคัญของวิญญาณและความเจริญของวิญญาณได้ค่อยๆทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ในพระพุทธศาสนา มนตร์ ธารณี และแผนภาพเป็นรูปวงกลมหรือสามเหลี่ยม เริ่มมีความสำคัญเพิ่มขึ้น สำหรับโยคี มนตร์เหล่านี้ถือกันว่ามีอำนาจขลังอย่างสำคัญ ถ้าจะเปรียบก็พอเปรียบกันได้กับ ปริตร ในคัมภีร์บาลี เพราะปริตรนั้น ก็ถือกันว่าสามารถป้องกันผู้ท่องบ่นให้พ้นจากความชั่วทั้งปวงได้ ครั้งหนึ่งการปฏิบัติแบบลึกลับ ถูกนำเข้ามาในพระพุทธศาสนา การปฏิบัตินั้น ต้องการผู้ปฏิบัติเพียงกลุ่มเล็กๆ ฉะนั้นการจะรักษาไว้ให้สืบต่อกันไปได้ จึงจำเป็นต้องมีสถาบันแห่งครูและศิษย์ (คุรุและเจฬะ) ปฏิบัติสืบต่อกันไปเรื่อยๆ

เพื่อจะรักษาธรรมชาติอันลึกลับของการปฏิบัตินั้นไว้ นักปฏิบัติจำต้องใช้ภาษาสัญลักษณ์ ซึ่งเข้าใจกันได้เฉพาะในหมู่นักปฏิบัติเท่านั้น สำหรับคนสามัญคำพูดเหล่านั้น มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง นักเขียนในนิกายนี้ได้ใช้ภาษาที่มีความหมายสองแง่ในทำนองเป็น “คำคม” ความหมายจริงๆของคำเหล่านั้นจะทำให้คนสามัญต้องสดุ้งตกใจ แต่สำหรับ “นักปฏิบัติ” เขาจะแปลความหมายไปอีกทาง คนธรรมดาย่อมแปลความหมายของคำต่างๆตามที่เคยแปลกันมา ฉะนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจ ฉะนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง

ลักษณะอีกประการหนึ่งของพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ก็คือเชื่อในเทพเจ้าและเทพีเป็นจำนวนมาก เขาเชื่อว่าด้วยความโปรดปรานของเทพเจ้าและเทพีเหล่านั้นผู้ปฏิบัติก็จะบรรลุ “สิทธิ” หรือความสำเร็จได้ เขามันจะสร้างรูปแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่นอยู่ ในท่ามกลางเทพีเป็นจำนวนมาก

(เทพ เทพีที่เกิดมาก่อนในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้ามิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีอยู่จริง ซึ่งนักตันตระชาวพุทธได้แปลงมาเป็นเทพพุทธะ เทพีพุทธะ ทั้งยังได้สร้าง พุทธเจ้าปางดุ พุทธมารดาปางดุขึ้น อีกทั้งยังมีเทพโพธิสัตว์ และเทพธรรมบาล อีกมาก นักตันตระชาวพุทธสร้างขึ้น มิใช่ต้องการความโปรดปรานของเทพพุทธะทั้งปวงเหล่านั้น แต่ต้องการได้คุณสมบัติของเทพพุทธะเหล่านั้น เพราะว่า เทพพุทธะเหล่านั้นแต่ละองค์ก็เป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์หนึ่งของสรรพชีวิต พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคุณสมบัติพิเศษจากอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นพิเศษในการบรรลุธรรม คุณสมบัตินั้นเป็นสิ่งที่นักตันตระต้องการเพื่อการบรรลุสิทธิ มิใช่การบูชาเพื่อให้ท่านโปรดปราน ศรีภัทร

ยังมีพระพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ที่เหมือนกับพระพุทธศาสนาแบบที่กล่าว มาแล้ว นั่นก็คือพระพุทธศาสนาแบบ วัชรยาน พระพุทธศาสนาแบบนี้ นอกจากจะไม่มีคำสอนที่ดีหรือบริสุทธิ์ตามแบบเดิมแล้ว ก็ยังผสมผสานกับประเพณีท้องถิ่น และยอมรับพิธีกรรมลึกลับและน่ากลัวต่างๆ จึงแพร่หลายอยู่ในหมู่ชนชั้นต่ำ ผู้นำทางศาสนาแบบนี้ปฏิบัติและส่งเสริมข้อปฏิบัติหลอกลวงต่างๆ เช่นข้อปฏิบัติ 5 ประการ เกี่ยวกับ ม. คือมัทยะ (น้ำเมา) มางสะ(เนื้อ) มัตสยา(ปลา) มุทรา(ผู้หญิง) และไมถุนะ(เสพเมถุน) ในหนังสือ ศรีสมาช(คุยหสมาช) สาธนมาลา ,ชญาณสิทธิ เป็นต้น เราจะพบว่ามีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล 5 ซึ่งเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นในหนังสือ คุยหสมาช สนับสนุนให้มีการฆ่า การหลอกลวง การลัก และการเสพเมถุน ใครจะคิดบ้างว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยกับการกระทำเช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม ลัทธินี้ก็แพร่หลายไปกว้างขวาง ในอินเดียตะวันออก มหาวิทยาลัยวิกรมศีลา ซึ่งเป็นศูนยกลางแห่งการศึกษาแบบตันตระ ซึ่งค่อยๆแพร่หลายไปยัง เบงกอล อัสสัม และโอริสสา ประชาชนคนดีๆ ทั้งหลายต่างพากันต่อต้าน การปฏิบัติหลอกลวงเช่นนั้นอย่างหนักหน่วง และกระปฏิบัติหลอกลวงนี้เอง มีส่วนอย่างสำคัญ ในความเสื่อมศูนย์แห่งพระพุทธศาสนาในอินเดีย **(จากสองคอลัมท์ข้างบน ได้กล่าวถึงชนชั้นต่ำ ขอให้ท่านได้อ่านต่อไปจนจบแล้วจะเข้าใจในความเข้าใจผิดของตนต่อพุทธวัชรยาน ขออธิบายคำว่าชนชั้นต่ำ ตั้งแต่มีพุทธศาสนาขึ้นมา ผู้ที่ปฏิบัติพุทธธรรมได้ถูกจัดอันดับแม้ต่ำที่สุดก็ถูกเรียกว่า “บัณฑิต” ดังนั้นจึงมิไม่ชนชั้นต่ำเป็นชาวพุทธเลย แต่เราก็ต้องยอมรับว่า มีบุคคลชั้นต่ำซึ่งใช้ประโยชน์จากความศรัทธาของมหาชนต่อพุทธศาสนา พวกนี้มิเคยมีจิตใจใฝ่หาการบรรลุพุทธภาวะเลย เพียงอาศัยรูปแบบของชาวพุทธดำรงชีพ แล้วปฏิบัติตามตัณหาราคะของตน มิเคยได้พัฒนาใจ ขัดเกลาจิต ไม่เคยตีความในพุทธปรัชญาเพื่อการหลุดพ้น แต่พยายามตีความเพื่อสนองตัณหาแห่งตน เพราะรูปแบบที่ตนยืมมาดำรง ทำให้ตนมีเกียรติได้รับความเคารพจากมหาชน ยิ่งทำให้การหลอกลวงเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น อีกทั้งยังดึงดูดชนชั้นเดียวกันได้ให้เป็นเช่นเดียวกันได้มากขึ้นเรื่อยๆ

พระเจ้าอโศกได้จับผู้ปลอมตัวบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ถึงหกหมื่นกว่าคน ผู้ปลอมตัวบวชเหล่านั้นชาวพุทธเรามิได้ยอมรับพวกเขาเป็นพุทธศาสนิก ถือเป็นชนชั้นต่ำที่แฝงตัวมาอาศัยหากินเท่านั้น แต่ในกรณีที่ท่านได้กล่าวว่าชนชั้นต่ำในวัชรยานเป็นตัวการทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจนสูญสลาย แล้วทำไมท่านยังยอมรับเขาเหล่านั้นเป็นพุทธศาสนิกชน แล้วทำไมผู้ปลอมบวชในสมัยพระเจ้าอโศกเราไม่ถือเขาว่าเป็นพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาไม่ว่านิกายใดและลัทธิใดก็มีผู้ที่เป็นชาวพุทธที่แท้จริงและเป็นผู้ที่อาศัยพุทธศาสนาเกาะกินและบ่อนทำลายด้วยกันทั้งนั้น ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน จึงมีทั้งผู้จรรโลงและทำลายด้วยกันทั้งนั้น

การกล่าวว่า เฉพาะชาวพุทธวัชรยานเป็นตัวการทำให้พุทธศาสนาต้องกลายเป็นศาสนาแห่งความสกปรก มั่วสุมอยู่ในโลกีย์ตัณหา จนตกต่ำและต้องสูญสลายไปจากดินแดนที่ให้กำเนิดนั้นถูกต้องหรือไม่ ในกรณีของข้อปฏิบัติ 5 ม.ซึ่งเป็นเรื่องของปรัชญา นักตันตระชาวพุทธให้ความหมายทางปรัชญาไปทางหนึ่ง แต่เราก็ห้ามมิใช่ชนชั้นต่ำซึ่งมิใช่นักตันตระชาวพุทธตีความไปตามที่ตนเองต้องการอีกทางหนึ่งไม่ได้ สุดท้ายชาวพุทธเราเองก็ร่วมมือกับชนชั้นต่ำซึ่งมิใช่ชาวพุทธ โจมตีชาวพุทธด้วยกันเองและสถาปนาชนชั้นต่ำที่ไม่ใช่ชาวพุทธให้เป็นชาวพุทธที่ทรงปัญญาจนสามารถทำลายพระพุทธศาสนาไปได้ หลักการของการปฏิบัติกับสุรา ที่กล่าวไว้ว่า เพื่อให้เกิดความมึนเมาจะได้สุดสวิงกิ้งอย่างเต็มที่ แต่การเกี่ยวข้องกับสุราของนักตันตระชาวพุทธยังคงปฏิบัติตามศีลข้อห้า คือให้ใช้เป็นกระสายยาได้ไม่เกินขนาดหนึ่งเมล็ดแตงโม แต่ในกรณีที่ พระอาจารย์ได้พบศิษย์ที่ทะนงตนว่าได้บรรลุการดำรงสติตลอดเวลาทุกสถานการณ์ พระอาจารย์จำนำสุรามาทดสอบกับศิษย์ การปฏิบัตินี้จะอยู่ในความควบคุมของพระอาจารย์ เรื่องเนื้อและปลา การเสพเนื้อเสพปลา ต้องเสพด้วยความเมตตา 1 สัตว์นั้นต้องถึงซึ่งกาลเอง 2 ต้องเสพด้วยจิตเมตตาเพื่อให้สัตว์นั้นได้สร้างกุศล 3

เนื้อสัตว์เมื่อมาบำรุงกายเราต้องคำนึงถึงจำนวนชีวิตของสัตว์ ควรเสพสัตว์ด้วยชีวิตจำนวนน้อย มากกว่าใช้ชีวิตสัตว์จำนวนมากในแต่ละมื้อ ส่วนคำว่ามุทรา ในที่กล่าวไว้ว่ามุทราแปลว่า ผู้หญิงที่มาร่วมเสพกาม แต่ในวัชรยานชาวพุทธ มุทราแปลว่าสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ คือคุณสมบัติของสิ่งซึ่งทำให้พระพุทธเจ้าในอดีต เป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้น มุทราคือสัญลักษณ์แห่งพุทธภาวะของพระพุทธเจ้าในอดีต หลักสุดท้ายคือ เมถุน เมถุนในพุทธวัชรยาน เป็นการปฏิบัติสมาธิจิตด้วยการ รวม ปัญญาและอุบายเข้าด้วยกัน เป็นการ เสพเมถุนภายในจิตของผู้ปฏิบัติเองคนเดียว(มีกล่าวไว้ในหนังสือหลักขอให้อ่านต่อไป) ธรรมะจะเป็นสิ่งประเสริฐ หรือเป็นเครื่องมือสุดต่ำช้า อยู่ที่ผู้นำเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติ พุทธธรรมเมื่ออริยะชนชาวพุทธนำไปปฏิบัติ ก็นำจิตให้สูงขึ้นไปสู่ความเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์ แต่พุทธธรรมถ้าชนผู้มิใช่ชาวพุทธนำไปดัดแปลงแล้วปฏิบัติ เราคงไม่เรียกผู้ปฏิบัตินั้นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน สามัคคีธรรมที่วัสสการพราหมณ์ นำธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไปดัดแปลงและปฏิบัติจนแคว้นวัชชีล่มสลาย เราจะถือว่าวัสสการพราหมณ์เป็นชาวพุทธ หรือ ชาวพราหมณ์ ศรีภัทร)

ในบรรดาพระพุทธศาสนาแบบต่างๆ คำสอนแบบตันตระถูกละเลยและเข้าใจผิดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ที่ว่า ตันตระนี้เกิดขึ้นจากประเพณีต่ำๆของพวกฮินดู และการปฏิบัติผิดๆซึ่งมีอยู่ในกลุ่มชนที่ไร้การศึกษา คำสอนแบบตันตระทุกอย่าง คนทั้งหลายรังเกียจกันมาก จนกระทั่งนักปราชญ์ก็ไม่กล้าแตะต้อง ผลก็คือ การสำรวจหรือการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา ถูกทอดทิ้งเป็นเวลาช้านาน

นักปราชญ์ชาวยุโรป คนแรกที่กล้ารื้อฟื้นตันตระขึ้นมา โดยเฉพาะตันตระของฮินดูว่าด้วย กุณฑลินีโยคะ คือเซอร์ จอห์น วูดรอฟ ท่านผู้นี้ได้พิมพ์หนังสือชุดตันตระและปรัชญาตันตระขึ้นโดยใช้นามปากกาว่า อาร์เธอร์ อเวลอน ในคำนำเรื่องจักรสัมภารตันตระ เขากล่าวไว้ว่า “คนโง่เข้าใจความแท้จริงด้านจิตใจไม่ถูกต้อง เขาจึงเรียกความแท้จริงเข่นนั้นว่า ไสยศาสตร์ ความชั่วและความโง่นั้นมีอยู่มากแล้วตามธรรมชาติของมัน และมันได้สร้างวิชาให้เราศึกษาในแง่ตรงกันข้าม แต่ถ้าเราไม่ยึดถือความรู้นั้น ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความโต้เถียงกันทางศาสนา ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอย้ำว่า เราต้องเชื่อสติปัญญาและความยุติธรรมของเราเอง โดยพยายามเข้าใจศาสนาทุกศาสนาในแง่ที่ดีที่สุด และจริงที่สุด” แม้อเวลอนเอง ก็เชื่อว่า ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงสาขาหนึ่งของลัทธิตันตระแบบฮินดู และเชื่อว่า ตำราซึ่งเขาค้นคว้านั้นเป็นหลักดั้งเดิมของตันตระทีเดียว ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องมาโดยตลอดตราบเท่าที่ความรู้เรื่องตันตระจารคัมภีร์ของธิเบตยังไม่ได้เป็นที่รับรู้กันนอกดินแดนหิมาลัย เพราะคัมภีร์ตันตระเหล่านั้น ถึงแม้จะมีคำแปลแล้วแต่ก็ยังยากที่จะเข้าใจ ทั้งในด้านเหตุผล ในด้านประวัติศาสตร์ และในการปฏิบัติ

เหตุผลสำหรับเรื่องนี้ ก็คือว่าคัมภีร์เหล่านี้เราไม่สามารถจะเข้าใจได้เฉพาะในด้านปรัชญาเท่านั้น แต่เราเข้าได้จากประสบการณ์ด้านโยคะ ซึ่งไม่สามารถจะศึกษาได้จากหนังสือ ยิ่งกว่านั้นหนังสือซึ่งใช้ค้นคว้ากันนี้ ก็เขียนด้วยสำนวนแปลกๆ คือ ใช้ภาษาที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร ซึ่งภาษาสันสกฤตเรียกว่า สนธยาภาษา

การใช้ภาษาที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษรนั้น ทำให้คนโง่ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักปฏิบัติ ไม่สามารถจะเข้าใจได้ และนำไปปฏิบัติผิดๆ อีกด้วย แต่ก็จำเป็นต้องใช้ภาษาเช่นนั้น เพราะภาษาธรรมดาไม่สามารถจะแสดงประสบการณ์สูงสุดของจิตใจได้ สิ่งที่นักปฏิบัติได้บรรลุนั้น อธิบายให้เข้าใจกันไม่ได้ แต่สามารถแนะนำให้ปฏิบัติตามได้ ด้วยการยกอุทาหรณ์ และใช้อุปมาเปรียบเทียบ

ลักษณะทำนองเดียวกันนี้ มีอยู่ในพระพุทธศาสนานิกายฌานของจีนและนิกายเซนของญี่ปุ่น เพราะนิกายทั้งสองนั้น ได้มีความสัมพันธ์กับนักปฏิบัติโยคะตันตระของพระพุทธศาสนาในยุคกลาง ผู้ปฏิบัติจนบรรลุผลเหล่านี้เรียกตัวเองว่า สิทธะ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในอินเดียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-11 พวกนี้เองเป็นผู้ประกาศคำสอนแบบตันตระวัชรยาน คัมภีร์ลึกลับและกวีนิพนธ์เป็นจำนวนมากของเขา ถูกทำลายเกือบหมด เมื่อประเทศอินเดียถูกพวกมุสลิมรุกราน แต่หนังสือเหล่านั้น ส่วนใหญ่ ได้แปลเป็นภาษาธิเบต ประเพณีการบำเพ็ญโยคะ และสมาธิก็ถ่ายทอดกันเรื่อยมาเป็นเวลาหลายชั่วคน

อย่างไรก็ตาม ในอินเดีย ยังคงมีชนชั้นต่ำที่ปฏิบัติตันตระ โดยคลุกเคล้าไปกับประเพณีของคนเหล่านั้น จนในที่สุดก็หมดคุณค่ากลายเป็นลัทธิไสยศาสตร์ ซึ่งไม่ได้รับความเชื่อถือ จากนักปฏิบัติตันตระที่แท้จริง

การปฏิบัติตันตระแต่เก่าก่อนของชาวพุทธ ได้มีอิทธิพลต่อศาสนาฮินดูอย่างมากมาย และความจริงจังของชาวฮินดูในการใช้การปฏิบัติตันตระ ส่งผลให้นักปราชญ์ในการต่อมาเข้าใจว่าตันตระนั้นเกิดจากฮินดู และนิกายต่ำๆของพระพุทธศาสนายอมรับและนำเข้ามาใช้ในภายหลัง

จากหลักฐานที่ได้ค้นพบยืนยันว่า พระพุทธศาสนาได้มีการปฏิบัติตันตระกันแล้วตั้งแต่ มหาสังฆิกะยุคแรก ประมวลมนตราธารณีปิฎกของมหาสังฆิกะ ในหนังสือมัญชูศรีมูลกัลป์ปะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า เขียนขึ้นในตริสตศตวรรษที่ 1 ได้มีการกล่าวถึง มนตร์ ธารณี มณฑลและมุทรา เป็นอันมาก เป็นความครบถ้วนสมบูรณ์ของการปฏิบัติตันตระ ฉะนั้นการกล่าวว่าชาวพุทธชั้นต่ำยอมรับและนำเข้ามาซึ่งตันตระของฮินดูมาปนเปื้อน ในคริสตศตวรรษที่7-11 จึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงเลย นักปราชญ์และผู้ปฏิบัติชาวพุทธได้ปฎิบัติตันตระมาก่อนฮินดูหลายศตวรรษ และก็มิใช่ปฏิบัติกันในหมู่ชาวพุทธชั้นต่ำ ผู้ที่ได้ศึกษาตันตระที่แท้จริงจึงรู้ว่า พุทธตันตระและฮินดูตันตระนั้น แม้มีคำเรียก คำกล่าว ที่คล้ายกัน และจุดประสงค์และการปฏิบัติต่างกันเป็นตรงกันข้าม

อาจารย์ศังกร นักปรัชญาฮินดูผู้ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ได้เรียบเรียงหนังสือไว้เป็นรากฐานของปรัชญาไศวะ ได้ยอมรับเอาทรรศนะของนาครชุนและสาวกของนาครชุนเป็นอันมาก จนชาวฮินดูผู้เคร่งครัดระแวงว่าเขาอาจเป็นสาวกลับๆของพระพุทธศาสนา ในทำนองเดียวกัน นักตันตระฮินดูก็ได้ยอมรับเอาวิธีการ และหลักการแห่งลัทธิตันตระของพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงใช้ตามความต้องการของตน ทรรศนะดังกล่าวนี้ไม่ใช่จะยอมรัรบกันแต่ในประเทศธิเบตเท่านั้น แม้นักปราชญ์ชาวอินเดีย เมื่อได้สำรวจตรวจสอบคัมภีณ์พระพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่เป็นภาษาสันสฤตยุคแรกๆ และได้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างคัมภีร์เหล่านั้น กับคัมภีร์ตันตระของฮินดู ในด้านประวัติศาสตร์ และความคิดแล้วก็ยอมรับทรรศนะนั้นเหมือนกัน

ในหนังสือ “ลัทธิลึกลับของพระพุทธศาสนา” เบนอยโตช ภัตตาจารย์ ได้สรุปว่า “อาจกล่าวได้อย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ว่าพุทธศาสนิกชนเป็นพวกแรกที่สร้างลัทธิตันตระขึ้นในศาสนาขนตน ต่อมาพวกฮินดูได้ยืมตันตระนั้นไปจากพุทธศาสนิก จึงเป็นการไร้ประโยชน์ที่กล่าวว่า พระพุทธศาสนารุ่นหลังเป็นสาขาหนึ่งของศาสนาไศวะ”

ออสติน แวดเดล เป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจผิดว่าลัทธิตันตระของฮินดู และของพระพุทธศาสนาใช้วิธีการทางไสยศาสตร์เหมือนกัน เขามักจะแสดงตัวเสมอว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาแบบธิเบต เขาแสดงความคิดเห็นว่า “ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากลัทธิบูชาผีสางเทวดา สิ่งที่เรียกกันว่า “มนตร์” และ “ธารณี” ก็คือคำพูดที่ไร้ความหมาย พิธีกรรมลึกลับของลัทธิตันตระ ก็เป็นเพียงการเล่นกลอย่างโง่ๆ โดยใช้ภาษาที่ไม่มีใครรู้เรื่อง และไร้ความหมาย ส่วนการบำเพ็ญโยคะแบบตันตระก็เปรียบเหมือน “กาฝาก” หรือ “ตัวพยาธิ” ซึ่งเติบโตแพร่หลายเร็วอย่างน่ากลัว แล้วก็บ่อทำลาย “ชีวิตอันร่อแร่” ของพระพุทธศาสนาบริสุทธิ์ที่มีอยู่บ้างในฝ่ายมหายาน คำสอนของมาธยมิก โดยใจความแล้ว ก็เป็นอุจเฉทวาทะที่ใช้เหตุผลผิดๆ กาลจักรก็ไม่สมควรจะถือเป็นระบบปรัชญา” (ความรู้และความเข้าใจในพุทธตันตระของไทยแต่แรกเริ่ม ได้รับจากการแปลหนังสือเรื่องพุทธศาสนาตันตระยานหรือวัชรยานของ ออสติน แวดเดลทั้งสิ้น ศรีภัทร)

เพราะเหตุที่ชาวตะวันตกได้รับความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาแบบธิเบตเป็นครั้งแรกจาก “ผู้เชี่ยวชาญ” เช่นนั้น เขาจึงพากันรังเกียจเกลียดชัง ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง ผู้ทีศึกษาลัทธิตันตระ จากหนังสือที่ชาวตะวันตกเขียน ก็พลอยเกลียดลัทธินี้ตามชาวตะวันตกไปด้วย

การใช้หลักตันตระของฮินดูโดยเฉพาะ หลักของลัทธิ “ศักดิ” มาตัดสินคำสอนหรือสัญลักษณ์ต่างๆของลัทธิตันตระ ในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมใช้ไม่ได้และเป็นการผิดพลาดย่างมหันต์ ทั้งนี้เพราะระบบทั้งสอง ใช้วิธีการหาเหตุผลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทั้งสองระบบจะใช้วิธีโยคะ ใช้ศัพท์เฉพาะหรือศัพท์ปรัชญาเหมือนกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาเป็นอันเดียวกันกับศาสนาพราหรมณ์ เพราะฉะนั้น กมาใช้ความรู้ตันตระในศาสนาฮินดู มาตีความตันตระในพระพุทธศาสนา หรือการใช้ความรู้ตันตระในพระพุทธศาสนา ไปตีความตันตระในศาสนาฮินดูจึงไม่ถูกต้อง
Share:

วัชรยาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แคว้นพาราณสี ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์ครั้งที่3ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข”ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ(บารมี 6 มีอยู่ในลิงค์มหายาน)พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไป ความ อดทนมี 3 ประเภท 1 อดทนต่อการต่อต้าน 2 อดทนต่อความ ลำบากในการศึกษาและปฏิบัติ ธรรม 3 อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตน ตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้3ประเภทพื้นฐาน

ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา
ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ
แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น

ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ
ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ
ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่น
และยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีกเช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลกในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น พื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยาน ต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ

แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุน ในปืค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียน เรื่อง การปฏิบัติตันตระเรื่องคุหยสมัชชตันตระ และมยุรีตันตระซึ่งเป็นตันตระเฉพาะของท่าน ในศตวรรษที่16 ท่าน ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุดทิเบตจึงรับคำสอนมาอย่างเต็มที่

การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อ คือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์ ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการอภิเษก ถึงแม้การปฏิบัติจะดีเพียงไร ก็จะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้น ผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน ถามว่า คำสอนวัชระยานคืออะไรเพื่ออะไร คำสอนวัชระยาน มีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียว ต้องศึกษาปฏิบัติคำสอนตันตระเท่านั้นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับ การบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้ เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ด้วยเวลาอันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วยเท่าเปล่าเป็นเดือน

เป็นที่รู้กันดีในทิเบตว่ามิลาเรปะ ท่านได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่าน ด้วยการปฏิบัติตันตระ แล้วตันตระคืออะไรตันตระ ตันตระ โดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง การต่อเนื่องของจิตวิญญาณที่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยที่การเปลี่ยนชาติภพมิได้ทำให้ระดับจิตที่ได้พัฒนาแล้วลดระดับลง อันเป็นคำสอนการปฏิบัติระดับสูง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในแวดวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการอภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามากเข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษา หรือปฏิบัติตันตระเองได้โดยไม่ผ่านการอภิเษก จากคุรุ

การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษ หรือ ยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ มีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร คำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น แต่ คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้อง การบรรลุรู้แจ้ง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด

คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ ด้วย วิธีการซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจาก คำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้น เราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบตเท่านั้น ในปัจจุบัน ภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆที่เป็นสันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน

พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์ ซองซันกัมโปเรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีน องค์หญิงเวนเชง ราชธิดากษัตริย์ไทซุงของราชวงศ์ถังและเจ้าหญิงภรูกุฎิแห่งเนปาล องค์หญิงทั้งสองเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาและเคร่งครัดในการปฏิบัติ องค์เวนเชงได้อัญเชิญพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยที่พระพุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่(ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน3องค์) พระพุทธรูปโจโวพระประธานแห่งวัดโจคัง กรุงลาซา ที่ประดิษฐานมาจนถึงวันนี้ ในยุคนั้นพุทธศาสนาถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิมอย่างรุนแรง แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงหลั่งไหลเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่า ได้มีการสังคายนาโต้วาที ณ กรุงลาซา เป็นการโต้วาทีพุทธศาสนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าฑิโซงเดเชน ผลออกมาชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานจากอินเดียมากกว่า ดังนั้น พระเจ้าฑิโซงเดเชนจึงเลือกที่จะให้พุทธศาสนาวัชระยานเป็นศาสนาประจำชาติต่อไป พระองค์จึงส่งอำมาตย์ไปนิมนต์ พระศานตรักษิตะภิกษุชาวอินเดียจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทาลันทาคุรุแห่งนิกายสวาตันติกะมัธยมิกเข้ามาเพื่อสถาปนาพุทธศาสนาขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยว่าเพียงหลักปรัชญาอย่างเดียวไม่ตรงกับอุปนิสัยชาวทิเบต ซึ่งนิยมในการเซ่นสังเวย สิ่งลี้ลับ อิทธิปราฏิหาริย์ ตามลัทธิบอนที่ตนได้เชื่อถือมาแต่โบราณ แม้จะพยายามปรับเปลี่ยนตั้งแต่ในรัชสมัยก่อนๆ ศานตรักษิตจึงได้ให้คำแนะนำแก่กษัตริย์ฑิโซงเดเชนขอให้อัญเชิญคุรุปัทมสมภพ มหาสิทธาจารย์แห่งแคว้นอุทิยาน ผู้บรรลุพุทธธรรมในสายต่างๆมากมายเช่น โยคาจารย์และตันตระแห่งนิกายมนตรายาน เมื่อคุรปัทมสมภพเข้ามาได้ใช้อิทธิและความสามารถจัดการกับผู้ขัดขวางทั้งมวลจากลัทธิเก่าก่อนมีผู้เปลี่ยนเข้าสู่พุทธศาสนาเกือบทั้งประเทศ ส่วนผุ้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนลัทธิความเชื่อก็ถูกย้ายให้ออกไปอยู่ในที่อื่น จนสถาปนาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติทิเบตได้สำเร็จ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่ากูรูริมโปเช หรือ แปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐกูรูริมโปเช คุรุปัทมสมภพได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และ ได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าฑิโซงเดเชน ทั้งนี้ ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย
Share: