วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดแห่งเซน

ปฐมหลักจากพุทธศาสนาได้แยกออกเป็น ๒ นิกายหลัก ๆ คือ นิกายหินยาน และ นิกายมหายาน แล้วก็ยังแบ่งรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกฝ่ายหนึ่ง ลัทธิมหายานได้มุ่งหน้าไปทำการเผยแผ่ที่ประเทศจีน และภายหลังต่อมานั้นได้เกิดลัทธิเต๋าขึ้น จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ ๖ ที่ ประเทศจีนได้มีการก่อตั้งลัทธิใหม่เกิดขึ้นนั่นก็คือ ลัทธิชาน เป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสนาพุทธอินเดีย และศาสนาพุทธลัทธิเต๋าของจีน โดยมีชื่อว่า "ชาน" เป็นภาษาจีน ซึ่งได้แปลงมาจากภาษาสันสกฤตว่า "ธยาน" และตรงกับภาษาบาลีว่า "ฌาน" เป็นความสำคัญของการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งซึ่งอยู่คู่กับสมาธิ ความเจริญรุ่งเรืองของลัทธิฌานในประเทศจีนนี้ มีมากเมื่อศตวรรษที่ ๗ -๑๒ ในราชวงศ์ถังราชวงศ์ซ่ง โดยแบ่งออกเป็นสองฝ่ายหลัก ๆ คือ สำนักฝ่ายเหนือ และ สำนักฝ่ายใต้ ทั้งสองนี้มีความแตกต่างกันทางด้านความเชื่อและคำสอน ดังนี้


สำนักฝ่ายเหนือ เชื่อว่า การปฏิบัตินั้นต้องค่อย ๆ ปฏิบัติสั่งสมบารมีไปอย่างไม่เร่งรีบร้อน
สำนักฝ่ายใต้ เชื่อว่า การปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติอย่างรวดเร็วเพราะการตรัสรู้ธรรมนั้นต้องอาศัยการรู้อย่างฉับพลัน ต่อมาไม่นานลัทธิฌานที่ได้ถือการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางและเผยแผ่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๑๙๐ ถูกเรียกขนานใหม่ว่า เชน หรือ เซน โดยภายหลังนั้นยังสามารถแบ่งออกไปได้อีก ๒ นิกายหลัก คือ
ต่อมาไม่นานลัทธิฌานที่ได้ถือการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางและเผยแผ่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๑๙๐ ถูกเรียกขนานใหม่ว่า เชน หรือ เซน โดยภายหลังนั้นยังสามารถแบ่งออกไปได้อีก ๒ นิกายหลัก คือ
โซโต
รินไซ
ทั้งสองนิกายนี้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่มีความเคารพในทางปันธิธรรมเหมือนๆ กัน รายละเอียดข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับเรื่องเซนยังมีอีกมาก แต่ผู้เขียนพิจารณาว่า เขียนไปก็อาจจะทำให้เกิดความสงสัย ดังนั้น จึงหยิบแต่แนวหลักของเซนแท้ของจีนมาเขียนรวมไว้กับญี่ปุ่น โดยรวม ๆ แล้ว เซนได้เข้าสู่ประเทศอเมริกาเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๕ และได้ความนิยมเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
เซนเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นลัทธิที่ใหญ่และมีศรัทธามากล้นจากทั่วโลกการเผยแผ่ลัทธิเซนนี้เริ่มจากประเทศจีนก่อนเป็นลำดับแรก แล้วแผ่ขยายไปยังประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง และได้แผ่หลายลงมาทางตอนใต้คือ ไทย สิงค์โปร์ และข้ามทวีปไปที่ อเมริกา อังกฤษ และอีกหลาย ประเทศในยุโรป สำหรับประเทศไทยของเรา เซนยังได้รับการนิยมไม่กว้างขวางเท่าไหร่นัก อันเนื่องศาสนาพุทธของประเทศเรานั้น มีนิกายหินยานหรือเถรวาทเป็นนิกายหลักประจำชาติอยู่แล้ว แต่ทว่าเรื่องของการกีดกั้นมิให้ศาสนพุทธมหายานลัทธิเซนเข้ามามีบทบาทนั้นมิอาจพึงกระทำได้ เนื่องจากเราเป็นประเทศประชาธิปไตยที่เปิดกว้างทุกเชื้อชาติและศาสนา แต่ก็มีหลายคนหลายกลุ่มที่เริ่มหันมาศึกษาพุทธศาสนาในเซนมากกว่าเดิม
สิ่งแตกต่างทั้งสองนิกายนั้น มีอยู่หลาย ๆ ประการด้วยกัน แต่สำหรับความเป็นนิกายเซนนั้น สิ่งที่แตกต่างก็มีปรากฏอยู่ แต่ผู้เขียนแอบมีศรัทธาคือ แนวทางการสอนของเซนที่ว่าเน้นสอนให้อยู่กับความจริง ในการยอมรับตัวเองและศึกษาธรรมพิจารณาธรรม โดยอาศัยธรรมชาติของชีวิตเป็นสิ่งที่สอน โดยมีจุดหมายสูงสุดด้วยการบรรลุธรรม ตัดสิ้นกิเลสตัณหา อุปาทานขันธ์สิ่งนี้ต่างหากที่คิดว่าเหมาะกับยุคสมัยหรือร่วมสมัยหรือร่วมสมัยในยุคแห่งปี ๒๐๐๐ โดยเฉพาะคนไทย

คนไทยจำนวนไม่น้อยเมื่อได้มาศึกษานิกายเซนแล้ว เริ่มมีความเข้าใจชัดยิ่งขึ้นว่า พุทธศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้ทรงมีการเน้นสอนเรื่องอะไรเป็นที่สุด ประดุจพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ แต่พุทธศาสนาที่เราท่านได้นับถือกันอยู่ปัจจุบันกลับกลายไปเน้นเพียงว่า การทำบุญทำทาน การขึ้นสวรรค์ ลงนรก หรือ พิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น หากใช่เน้นไปเพื่อความหลุดพ้นเพียงแต่สิ่งเดียว

อันพิธีกรรมนี้จริงอยู่ว่าเป็นงอค์ประกอบหนึ่งของศาสนาแต่หากว่ามากไปก็จะกลายเป็นเรื่องผลประโยชน์มากเกินไป เมื่อพระมีเงินมาก สิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาต่าง ๆ อาทิ ปัญหาเรื่องผู้หญิงปัญหาเรื่องของความโลภทางด้านสมณศักดิ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ขอให้ลองพิจารณาดูว่าจริงหรือเท็จ แต่หากว่าศึกษาเรื่องเซนจะพบว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเรื่องธรรมดาของโลก

ส่วนคำกล่าวที่ว่า พระเซนมีภรรยาได้นั้น ไม่เป็นจริงหากว่านับถือพุทธนิกายเซนโดยแท้ เพราะพระธรรมวินัยในข้อปาราซิกขาดจากความเป็นพระในการเสพเมถุนธรรมก็ยังมีเช่นกัน เว้นแต่เพียงว่า สามารถแตะต้องสัมผัสสตรีเพศในลักษณะจับมือถือแขนหรือกอดรัด ควงก้อยนั้น หากทำได้ดังที่บางคนมีความคิดเช่นนั้นการนับถือเซนก็คือ การนับถือพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นให้ไปถึงธรรมะ มิใช่ติดกันอยู่ที่ภายนอกของรูปแบบ หรือพิธีกรรมเท่านั้นหากคุณสนใจเซนจะช้าทำไมเปิดอ่านหน้าต่อไปได้เลยว่า เซนเป็นอย่างไร และให้ประโยชน์อะไรกับชีวิตของคุณบ้างทางแง่ของจิตใจ ในความเป็นชาวพุทธ
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น