วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมืองท่าโบราณ เปิดโลกตะวันตก-ตะวันออก


เมืองท่าโบราณของอินเดียนั้น ปรากฏชื่อที่น่าสนใจอยู่หลายเมือง เช่น เมืองกมรา (กาเวริปัฏฏินัม) เมืองโปดูเก (อริกเมฑุ) และเมืองโสปัตมัฎ ชื่อออกทางแขกจึงไม่คุ้นในการเรียกสำเนียงอย่างไทย นอกจากนี้ในชาดกและมิลินทปัญหาหยังปรากฏชื่อเมืองท่าโบราณอีกหลายเมือง เช่น เมืองภรุกัณจะ เมืองศูรปารกะ เมืองมุฉิริ เป็นเมืองอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตก และเมืองตามรลิปติ เมืองท่าที่อยู่ทางปากแม่น้ำคงคาแถบฝั่งทะเลตะวันออก

สำหรับดินแดนสุวรรณภูมินั้น ตั้งแต่พุทธศวรรษที่ 8 เป็นต้นมา ได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นหลายแห่ง และกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรต่างๆ เหล่านั้นต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ไปเป็นแนวทางในการปกครองและสร้างสรรค์จารีตประเพณีของบ้านเมืองตามแบบอย่างอินเดีย

ชาวอินเดียในยุคนั้นได้นำเอาศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรต่างๆ แล้วเผยแผ่วิชาการโบราณศษสตร์ตลอดจนคัมภีร์ศาสนาต่างๆ ดังเห็นได้ว่าอาณษจักรที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้งหลาย ได้มีการสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ ศาสนา และนำเอาจารีตประเพณี กฎหมาย อักษรศาสตร์ และวรรณคดี เป็นต้น

ตามแบบอย่างอินเดียโบราณมาใช้ทั้งสิ้น สรุปแล้วอารยธรรมต่างๆที่เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมินั้น ถูกนำมาจากต้นแบบของชาวอินเดียโบราณทั้งสิ้น โดยชาวอินเดียยุคนั้นเดินทางเข้ามาทางใต้ที่เมืองท่าตักโกลาแล้วเดินทางติดต่อกับเมืองต่างๆ ของอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิและอินโดจีนต่อไป

ดินแดนสุวรรณภูมินั้นเมื่อสำรวจทางโบราณคดีก็พบว่า มีโบราณวัตถุที่เป็นรูปแบบของศิลปะโรมัน อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ตะเกียงสำริดแบบโรมัน ลูกปัดแบบโรมันที่คลองท่อม เป็นต้น การที่ศิลปกรรมและโบราณวัตถุจากอิทธิพลศิลปะโรมันได้เข้ามาในชุมชนโบราณที่อยู่ตามดินแดนสุวรรณภูมินั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาให้รู้ถึงร่องรอยของเส้นทางที่สินค้าแบบโรมันได้แพร่กระจายเข้ามาในอดีตและได้มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนต่างๆในบริเวณดัวกล่าว

กล่าวคือ อาณาจักรโรมันนั้นได้ส่งกองคาราวานสินค้าออกเดินทางข้ามทะเลทรายจากศูนย์กลางการค้าใหญ่ เช่น เมืองปาลไมรา ในซีเรีย เมืองเปตรา ในจอร์แดน เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ สำหรับเมืองอเล็กซานเดรียนั้น เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 6-7 เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญของการเดินทางสินค้าระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก ถือว่าเป็นเมืองสำคัญของเส้นทางเดินแพรไหมจีน ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์การค้าขายกับพ่อค้าอินเดียและพ่อค้าจีน

กองคาราวานสินค้าได้พากันใช้เมืองดังกล่าวนั้น เป็นจุดสำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากประเทศตะวันตกไปยังประเทศตะวันออก และซื้อขายสินค้าจากประเทศตะวันออกกับไป

สินค้าที่ประเทศตะวันตกต้องการนั้น ได้แก่ เครื่องเทศ น้ำหอม อัญมณี (เพชร พลอย ไข่มุก) ผ้าเนื้อดี พวกอาหารแห้ง เช่น น้ำตาล ข้าว และ ฆี (น้ำมันเนย) งาช้าง ทั้งที่เป็นงาจริง และงาแกะสลัก รวมถึงเหล็กของอินเดียที่ถือว่ามีคุณภาพ นอกนั้นเป็นสัตว์ ได้แก่ เสื้อ ช้าง สิงโต ควาย เพื่อนำไปต่อสู่กับสัตว์ป่าซึ่งเป็นกีฬาที่จักรพรรดิโรมันทรงโปรด และสัตว์เลี้ยงที่นิยมในเหล่าสตรีสูงศักดิ์ของโรมัน เช่น นกแก้ว ลิง นกยูง เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่ชาวอินเดียต้องการมากนั้น ได้แก่ สินค้าประเภททองคำ (ภายหลังมีการห้ามทองคำออกนอกอาณาจักร) ภาชนะดินเผาเนื้อดีมีผิวสีแดงขัดมันตกแต่งลวดลายประทับ เรียกว่า เครื่องปั้นชนิดอาร์รีไทน์ (ARRETINE) และภาชนะดินเผาสีดำที่ตกแต่งผิวโดยกดซี่ฟันเฟื่องให้เกิดลายหยักเป็นแถวอย่างมีระเบียบ เรียกว่า เครื่องปั้นชนิดรูเลตด์ (ROULETTED) เครื่องแก้ว เหล้าไวน์ ดีบุก ตะกั่ว ปะการัง เป็นต้น ทำให้การค้าขายระหว่างอินเดียกับอาณาจักรโรมันนั้นมีความชัดเจนมากในพุทธศตวรรษที่ 6 ในเมืองเฮอคูเลเนียมนั้นพบงาช้างที่สลักเป็นรูปผู้หญิงชาวอินเดียที่ส่งมาขาย เช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆที่เสื่อมสลายไป

พุทธศตวรรษที่ 5-8 สมัยกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะนั้น มีเมืองท่าโบราณของอินเดียหลายแห่งมีพ่อค้าโรมันเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ แล้วซื้อสินค้าแลกเปลี่ยนกัน มีชื่อเมืองท่าว่า เมืองเนวาษะ เมืองนาฟทาโตริ เมืองนาโรด้า เมืองพรหมบุรี เมืองพรหมคีรี เมืองจันทราวัลลี เมืองโกณฑปุระ เมืองอมราวดี เมืองนาคารชุนโกณฑะ และเมืองกาเวริปัฏฏินัม เป็นต้น

ซึ่งเมืองท่าของอินเดียโบราณเหล่านี้ มีข้อสังเกตว่าบ้างชื่อนั้นได้มีการนำมาตั้งเป็นชื่อเมืองให้กับเมืองที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิและแหลมอินโดจีนด้วย ยิ่งเฉพาะเมืองที่อยู่ทางแหลมมลายูแล้วชื่อออกเป็นอินเดียหลายแห่ง
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น