เมืองปะลันตาที่อยู่แม่น้ำปะเหลียน
หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิทางแถบทะเลฝั่งอันดามันขึ้น จึงมีความสนใจในเรื่องเมืองทางแถบทะเลอันดามันเป็นอย่างมาก ค้นไปค้นมากลับพบว่ามีเมืองสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เมืองอีกแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองพัทลุงนั้นคือ เมืองปะเหลียน (เมืองปะลันตา PALANDA) เป็นเมืองเก่าแก่ที่ตั้งมาพร้อมกับเมืองตักโกลา (เมืองตรัง) มีอายุไม่น่าจะต่ำกว่า ๑,๘๐๐ ปี มีชื่อปรากฏในบันทึกภูมิศาสตร์ของปโตเล มีว่า ปะลันตา เมืองนี้มีแม่น้ำปะเหลียนเป็นแม่น้ำเคียงคู่ไปกับแม่น้ำตรัง เดิมใช้เป็นเส้นทางสำหรับขึ้นบกเดินทางต่อ ไปถึงเมืองพัทลุงได้ และสามารถใช้เดินทางข้ามคาบสุมทรไปสู่ดินแดนตะวันออกได้
เมืองปะเหลียนจึงกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ โดยมีท่าเรือตันหยงสตาร์ (ขณะนี้เหลือท่าโต๊ะกาอยู่) สำหรับใช้จอดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ผ่านมาและใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางผ่านข้ามคาบสมุทรอินเดียเดิมัน้นเมืองปะเหลียนเป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับเมืองพัทลุง มีความสำคัญในฐานะเมืองที่ติดต่อกับท่าการค้าของชาวต่างประเทศ กล่าวคือในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น เจ้าเมืองพัทลุงได้มอบให้หลวงปะเหลียนโต๊ะกา เจ้าเมืองปะเหลียน เป็นผู้ไปติดขอชื้ออาวุธปืนกระสุนดินดำ ปืนลินลาปากนกเป็นต้น จากพระยาราชกปิตัน (ฟรานชิส ไลท์ ) ที่เกาะปีนัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ เพื่อนนำมาใช้ต่อสู้ป้องกันพม่า
เมืองปะเหลียนนั้นครั้งแรกตั้งอยู่ไกล้เมืองพัทลุงคือ หมู่ที่ ๓ ต.ปะเหลียน ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ ต. ท่าพญา เป็น อ.พญา ขึ้นกับเมืองตรัง และเปลียนชื่อเป็น อ. ปะเหลียน ใพ พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ อ.ปะเหลียนจึงได้ยุบรวมเป็น อำเภอหนึ่งของ จังหวัด ตรัง พระปริยันต์เกษตรานุรักษ์ (ทองขาว ณ พัทลุง) นั้นเป็นเจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้าย ก่อนที่พระยารัชฏานุประดิษฐ์ เจ้าเมืองตรังจะเข้ามาปกครองใน พ.ศ. ๒๔๕๐
อำเภอปะเหลียนนั้นได่ย้ายมาตั้งอยุ่ที่บ้านหยงสตาร์อยุ่ประมาณ ๑๐ ปี ต่อมาจึงได้มาตั้งอยู่ที่ตลาดท่าข้ามวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหยงสตาร์และสุดท้ายวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอปะเหลียนตามเดิมเมืองปะเหลียนแงนี้จึงมีทำเลที่ไม่แน่นอนเลยสักสมัย และมีการเปลี่ยนแปลงทำเลและชื่อ อยู่เสมอ ทั้งๆ ที่เดิมนั้น เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัย เช่า เมือง ตักโกลา คือ เมืองท่าสำคัญในแถบทะเลอันดามัน หรือ ชายฝั่งทะในสยามประเทศ
สรุปแล้วดินแดนทางแถบทะเลอันดามันทางเมืองตรังนั้นเป็นแหล่งเมืองท่าสำคัญในชื่อ ตะโกลา และปะลันดา ในสมัยโบราณจึงเป็นจุดที่พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางไปเมืองตามพรลิค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองครหิและเมืองไชยา (ยอร์ช เซเดส์ ว่าเป็นที่เดียวกัน) จนเกิดชุมชนของชาวอินเดียที่นำวิทยาการจากอารยธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ในแหลมอินโดจีนครั้งแรก รวมทั้งการเกิดศาสนาพราหมณ์ขึ้นที่ชุมชนเขาคาเมืองคนศรีธรรมราชด้วย
ดังนั้นท้องทะเลอันดามันที่เชื่อมต่อจากมหาสมุทรอินเดียที่เป็นเส้นทางเดินเรือเลาะตามชายฝั่งทะเลมาจากเมียมาร์ ลงมายังเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี ลงมาถึงบริเวณที่เป็นทะเลอันดามันที่มีหมู่เกาะต่างมากมายนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เรอจะสามารถหลบกำลังกระแสลมแรง หรือคลื่นในทะเลได้ แม้ว่าว่าหมู่เกาะเหล่านั้นจะถูกเรือโจรสลัดคอยดักปล้นเอาสินค้าก็ตาม แตการเดินเรือที่มีเรือหลายลำคอยคุ้มกัน เป้นขวบนใหญ่นักพื่อป้องกันภัยอันตราทางทะเลนั้น จึงทำให้เรือสินค้าเหล่านั้นรอดพ้นภัยทางทะเลได้ และแล่นจนถึงเมืองท่าทางชายฝั่งทะเลตะวันตกได้ เพราะจากเมืองท่าเหล่านี้มีเส้นทางบกที่สามารถจะเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ ที่อยุ่ทางชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ซึ่งดีกว่าจะแล่นเรือผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นดินแดนที่มีโจรสลัดชุกชุม
ส่วนเรือสินค้าที่เดินทางมาจากเกาะลังกาทวีปหรืออินเดียทางตอนใต้แม้จะมีเรือสินค้าขนาดใหญ่เดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดียมาได้ก็ตามแต่พอถึงบริเวณที่เป็นทะเลอันดามันแล้ว ก็เชือ่ได้ว่าเกาะต่างๆในท้องทะเลแถบนี้จะเป็นสถานที่บังคลื่นลมได้ดี ด้วยเหตุนี้เมืองท่าตามชายฝั่งทะเลจึงมีเรือสินค้าใหญ่น้อยเดินทางมาค้าขายด้วยเป็นอันมาก โดยเฉพาะเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่นำโดย เจิ่งเหอ ของจีนก็เดินทางมาพื้นที่แห่งนี้เช่นเดียวกันสถานที่ ที่เจิ่งเหอติดต่อค้าขายนั้นมักจะมีระฆัง และการตั้งศาลซัมปอกงขึ้น เป็นสถานที่สำคัญของการค้าขายกับจีนขึ้นตามรายทางหากสำรวจดุจะเห็นว่า มีเมืองชายทะเลและริมแม่น้ำที่ตั้งศาลซัมปอกงไว้หลายแห่ที่เดียว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น