วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชนเผ่านาคา


ชาวเรือที่อาศัยการเดินทางข้ามทะเล เราะไปตามชายฝั่งนั้นสิ่งที่กลัวมากที่สุดคือ สัตว์ที่มีพิษที่อยู่ใต้น้ำ แม้จะไม่เห็นชัดว่าตัวอะไร ก้อเชื่อว่า งู เป็นสัตว์ที่ทำอันตรายได้อย่างหนึ่งและก็จะหายตัวไป การนับถือเทพเจ้าตามคติของชาวตะวันตกอย่างอียิปหรืออินเดียโบราณ จึงทำให้เกิดความเชื่อที่จะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมาบูชาและเชื่อในเรื่องพิษร้ายของงู ถ้าหากได้บูชาหรือทำสัญญาลักษณ์ก็จะสามารถรอดพ้นพิษร้านนั้นได้ จึงดูเข้าค้าวที่คนเดินทางทางน้ำ ทางทะเลจะนิยมบูชางูหรือสักรูปงูไว้ตามตัว บอกความเป็นพวกนาคาที่นับถืองูหรอนาค ซึ่งมีลายสักของอยู่หลายแห่งที่มีความเชื่อในเรื่องงุหรือนาคดังนั้นการสร้ารูปให้แปลกพิศดารสมฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้รูปลักษณ์ของนาคมีความพิศดารไปจากธรรมดา คือมีหงอนมีฤทธิ์ตามจินตนาการ ให้พ่นน้ำพ่นไฟแผ่พังพานบันดาลห่าฝนพ่นพิษร้ายได้ทั้งสิ้น นาคหรือพญานาคนี้จึงเป็นสัตว์วิเศษที่อยู่แลใต้น้ำใต้ทะเลด้วยประการฉะนี้
ด้วยเหตุนี้ผู้คนที่อยู่ในแหลมอินโดจีนจึงพากันนับถือนาคหรือพญานาคตามอย่างคนที่มาจากตามทะเล ซึ่งเป้นพ่อค้าวาณิชเดินทางไปมาค้าขาย และมีความเจริญกว่า ดังนั้นเมื่อมีการสร้างเทวสถานพระผู้เป็นเจ้าที่นับถือหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ก็จะกำหนดให้มีนาคเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์ ดังนั้นไม่ว่าโบราณสถานของพราหมณ์หรือพุทธจึงมีนาคเข้าไปปะปนในทุกแห่งแม้แต่ธรรมชาติที่มีลัษณะคล้ายนาคอยู่ตามหินผา หน้าถ้ำ หน้าภูเขา ก็เหมาเอาว่าเป็นนาคไปสิ้น มนุษย์กลุ่มนี้คือ พวกนาคาที่สักลายตามตัวอยุ่ในอินโดจีนนั้นไง
อิทธิพลของการนับถือพญานาคนั้นได้ผูกพันธ์กับชีวิตผู้คนมาช้านานและขยายความเชื่อไปทุกพื้นที่อย่างไร้ข้อจำกัด จนทุกวันนี้ก็ยังเชื่อเรื่องบังไฟพญานาคในแม่น้ำโขง สถานที่หลายแห่งได้ถูกสร้างตำนานพญานาคขึ้นมาว่าจะเป็น ปล่องพญานาค เมืองพญานาค คำชะโนช ถ้ำพญานาคริมแม่น้ำโขง เรื่องพญานาคที่ถ้ำติ่งเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น แม้แต่วรรณกรรมก็มีเรื่องราวพญานาคมากมาย เช่น เรื่องนาคมุจรินทร์ ที่แผ่พังพานบังแดดบังฝนให้พระพุทธเจ้า หรือพญานาคที่ขดตัวเป็นบังลังก์และแผ่พังพานเป็นนาคปรกให้พระพุทธองค์ หรือเรื่องพญาแถนเทวดาผู้เป็นใหญ่ ให้พญางูนำบริวารงูใหญ่น้อยจำนวนมากลงมาทำลายเมืองและผู้คนเสียให้สิ้น ทำให้เมืองร้างลงในเรื่องคันธกุมารเมืองน่าน ที่เดินทางมาพบนางกองศรี พระธิดาของเจ้าครองนครซ่อนในกองใหญ่ คันธกุมารให้นายชายไม้ร้อยกอกับนายชายเวียนร้อยเล่ม ช่วยกันตัดฟืนมาทำการก่อกองไฟกองใหญ่ (กองไฟนี้ต่อมากายเป็นป่าชัฏเรียกว่าดงพญาไฟหรือดงพญาเย็น) เมื่อพญาแถนเห็นควันไฟจึงสั่งให้พญางูร้ายนำบริวารลงมาทำลายผู้คนอีก คันธกุมารกับสหายจึงช่วยกันฆ่าฝูงงูนั้นตายจนหมดพญาแถนนั้นเมื่อไม่เห็นพยางูนำบริวารกับมาก็รู้ว่า ได้มีคนดีเดินทางมาเมืองนี้แล้ว คันธกุมารเมื่อกำจัดงูร้านหมดสิ้นแล้ว ก็บันดารให้น้ำหลากพัดพาเอากระดูกงูออกไปพ้นเขตเมือง กระดูกงูนั้นไปรวมตัวก่อกันเป็นภูเขาเรียกว่า ภูหอหรือภูโฮ่ง จากนั้นคันธกุมารก็ชุปชีวิตพญาเจ้าครองนครกับพระมเหสีและผู้คนเมืองขวางทะบุรีศรีมหานครกลับฟื้นคืนชีวิตและทำการฟื้นฟูพระนคร ซึ่งมีนามเรียกว่า เมืองนครราช เป็นต้น ตำนานของพญานาคนั้นแม้จะเกิดจากความเชื่อ ก็หาได้หมดสิ้นความเชื่อไปได้ง่ายตราบที่มีงเพ่นพ่าน
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น