วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

คลื่นยักษ์สึนามิ


นับตั้งแต่เริ่มกำเนิดโลกมา โลกเราได้ประสบกับวิกฤติการณ์ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงมากมายในปัจจุบันโลกก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จัดเป็นกระบวนการธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของพลังงาน โดยเกิดขึ้นทั้งใน บรรยากาศบนผิวโลก พื้นโลก พื้นสมุทร รวมถึงในชีวมณฑล (Biosphere) ด้วย มีตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่ไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเสมอๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรงและเป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าภัยธรรมชาติต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินภัยธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่มนุษย์ก็มี ส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยภัยธรรมชาติครั้งล่าสุด ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม 2541ที่ผ่านมานี้คือเกิด คลื่นยักษ์ใต้น้ำถล่มปาปัวนิวกินีและก็ยังเป็นกระแสข่าวที่สั่นสะเทือนถึงขวัญของชาวไทยภาคใต้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงภาวะการท่องเที่ยวในปี Amazing Thailand อีกด้วย
เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มปาปัวนิวกินี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา โดยหมู่บ้านกว่า 10 แห่งถูกคลื่นซัดเสียหาย ตั้งแต่คืนวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 3,000 คน และกว่า 6,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย โดยคลื่นมีความสูงระหว่าง 23 -33 ฟุต เมื่อพุ่งเข้า ปะทะชายฝั่งปาปัวนิวกินี ทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเกิดจากผลของ แผ่นดินไหวใต้น้ำที่มีค่า 7.0 ตามมาตราวัดริกเตอร์สเกล ทำให้เกิด ความเสียหายตาม พื้นที่ชายฝั่งยาวประมาณ 60 ไมล์ (90 กิโลเมตร"Tsunami" สึนามิเป็นชื่อคลื่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยชุดของคลื่นที่มีความยาวคลื่นค่อนข้างมาก และช่วงห่างระยะเวลา ของแต่ละลูกคลื่นยาวนาน เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งจมตัวลงตรงแนวรอยเลื่อน หรือการที่มวลของน้ำ ถูกกระตุ้นหรือรบกวน โดยการ แทนที่ทางแนวดิ่งของมวลวัตถุ สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวแผ่นดินถล่มการระเบิดและการประทุขอ ภูเขาไฟหรือแม้กระทั่งการกระทบของ อนุภาคขนาดใหญ่เช่น อุกกาบาตสามารถก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ซึ่ง คลื่นสึนามิสามารถ ทำลายชายฝั่งทะเลเป็นสาเหตุให้เกิดความพินาศเสีย หายต่อทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน
"Tsunami" สึนามิเป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "harbor wave" หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่งหรือท่าเรือ โดยที่คำว่า "Tsu" หมายถึง "harbor" อ่าว,ฝั่งหรือท่าเรือ ส่วนคำว่า 'Nami' หมายถึง "คลื่น"ในอดีตนั้นสึนามิ ถูกใช้ในความหมายถึงน้ำท่วม ใหญ่ริมฝั่ง ทะเลเนื่องมาจากแผ่นดินไหว 'tidal waves' ซึ่งเป็นที่ใช้กันอยู่แพร่หลายทั่วไปเช่นเดียวกับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวในทะเล 'seismic seawave' ซึ่งใช้กันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ คำว่า 'tidal wave' นี้เป็นการเรียกชื่อ คลื่นสึนามิที่ผิด ถึงแม้ว่าผลกระทบที่เกิดจาก คลื่นสึนามิ มีต่อชายฝั่งทะเลนั้นขึ้นกับ ระดับของน้ำขึ้น น้ำลง ยามเมื่อคลื่นสึนามิพุ่งกระแทกสู่ฝั่ง แต่คลื่นสึนามิไม่ได้มีความสัมพันธ์กับระดับของน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งระดับน้ำ นั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุล ผลจาก แรงดึงดูดของดวงจันทร์ พระอาทิตย์และโลกสึนามินั้นไม่ได้เป็น Tidal waves เนื่องจาก กระบวนการของtidal waves ต้องใช้เวลานานนับ ศตวรรษ ในการกัดเซาะทับถมชายฝั่ง แต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเปลี่ยนสภาพพื้นที่ ่ชายฝั่งในช่วงเวลาสั้นๆส่วนคำว่า 'seismic sea wave'ก็ทำให้เกิด ความเข้าใจผิด เช่นกัน คำว่า 'seismic' เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งมี ความสัมพันธ์ก่อให้เกิดการไหวตัวแต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดจากปรากฏการณ์ ที่เป็นNon-seismic อย่างเช่นเกิดแผ่นดินถล่มหรือ ผลจากอุกกาบาตพุ่งชนคลื่นสึนามิไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยตรงจากแผ่นดินไหวอย่างเดียว แต่ เป็นปฏิกิริยาเกิดจากการที่แผ่นดินไหวแล้วเกิดแผ่นดินยุบหรือถล่ม หรือก้อนอุกกาบาตพุ่งลงทะเล ทำให้มวลน้ำถูกแทนที่จึงเกิดปฏิกิริยาของแรงต่อ เนื่องทำให้เกิดคลื่นยักษ์ใต้น้ำขึ้น ซึ่งก็คือ คลื่นสึนามิ นั้นเอง ซึ่งก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น 'Non-seismic sea wave' ได้เช่นกัน คลื่นสึนามิ ที่เรียกว่า Seismic sea wave นั้นเกิดจากกรณีที่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในมหาสมุทรหรือใกล้ชายฝั่งแผ่นดินไหวจะสร้างคลื่นขนาดมหึมา เกิดขึ้นใต้น้ำพลังงานจะแผ่ออกทุกทิศทุกทางจากแหล่งกำเนิดนั่นคือแผ่ออกจากรอบศูนย์กลางบริเวณที่เกิด แผ่นดินไหวนั่นเองคลื่นจะค่อนข้างใหญ่มากเมื่อ เข้าสู่ฝั่งสภาพที่เป็นจริงในทะเลเปิดน้ำลึกจะเห็นคล้ายลูกคลื่นพองวิ่งเลียบไปกับผิวน้ำ ซึ่งเรือยังสามารถแล่นอยู่บนลูกคลื่นนี้ได้แต่เมื่อคลื่นนี้เคลื่อนมาถึง บริเวณน้ำตื้น ใกล้ชายฝั่ง มันจะเคลื่อนโถมเข้าสู่ชายฝั่งบางครั้งสูงถึง 35 m(2,000 ฟุต) ซึ่งคลื่นสึนามินี้เคลื่อนตัวได้เร็วมาก โดยมีความเร็วประมาณ 1,000 กม.ต่อชั่วโมง (630 m/h) การเตือนภัยไม่สามารถ ทำได้ทันเกล่าวโดยรวมแล้วสาเหตุการเกิดคลื่นสึนามินั้น มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น

เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เช่นเหตุการณ์ที่การากาตัว เมื่อปีค.ศ. 1883
เกิดจากแผ่นดินถล่ม เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวซากามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีคศ. 1933
เกิดจากการที่ก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวลิทูยาอลาสกาเมื่อปีค.ศ.1933
เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว เช่นเหตุการณ์ อลาสกันซูนาม บริเวณอลาสกาในปีค.ศ.1964
การเกิดระเบิดใต้น้ำจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเลอย่างไร ?
สึนามินั้นไม่เหมือนกับคลื่นที่เกิดจากลม ซึ่งเรามักจะสังเกตเห็นคลื่นได้จากในทะเลสาปหรือในท้องทะเลซึ่งคลื่นเหล่านั้นมัก เป็นคลื่นที่ไม่สูงนัก หรือคลื่นที่มีลูกคลื่นตื้น ๆ ประกอบกับมีระลอกและความยาวของคลื่นที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องลมเป็นตัวที่ก่อให้เกิด คลื่นซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่ว ๆไป ตามชายหาด อย่างเช่น หาดบริเวณแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีคลื่นม้วนตัวกลิ้งอยู่เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูก หนึ่งไปสู่อีกลูกหนึ่งซึ่งบางคราวกินเวลาต่อเนื่อง กว่า 10 วินาทีและมีความยาวของลูกคลื่นกว่า 150 เมตรในทางตรงกันข้ามคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นเกินกว่า100 กม.และช่วงระยะเวลาของระลอกคลื่น ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความยาวของคลื่น ที่มีความยาวมากนั่นเอง

คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว จากบริเวณน้ำลึกเข้าสู่บริเวณฝั่ง เมื่อใกล้ฝั่งความเร็วของ
คลื่นสึนามิจะลดลง ความสูงของคลื่นจะก่อตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลื่นสึนามิ
ขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิจะโถมขึ้นสู่ฝั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นสูงมาก
ยิ่งขึ้น เมื่อคลื่นสึนามิเข้าปะทะแผ่นดินพลังงานของมันจะสูญเสียไปเนื่องจากการสะท้อน
กลับของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งในขณะที่พลังงานของคลื่นที่แผ่เข้าสู่ฝั่งจะถูกทำให้กระจาย พลังงานสู่ด้านล่างและเกิดกระแสหมุนวน ทั้งนี้ทั้งนั้นการสูญเสียพลังงานนี้มิได้ทำให้ คลื่นสึนามิลดความรุนแรงลงมันยังคงเคลื่อนเข้าปะทะฝั่งด้วยพลังงานอย่างมหาศาล คลื่นสึนามิมีพลังงานมหาศาลในการกัดเซาะ พังทลายโดยเฉพาะชายฝั่งหาดทรายที่ปกคลุมด้วยต้นไม้และพืชพันธ์จะถูกน้ำท่วมปกคลุม ระดับน้ำจะสูงขึ้นและการเคลื่อนตัวของน้ำที่รวดเร็วจะปะทะกับบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ คลื่นสึนามินั้นบางครั้งสามารถปะทะฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่10 เมตร 20 เมตร และบางครั้งอาจสูงถึง 30 เมตรได้


เหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่
จากบันทึกประวัติศาสตร์ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งทะเลนั้น มีเหตุการณ์สำคัญๆ ดังนี้

1500 ปีก่อนพุทธศักราช Santorin Crete (แถบเมดิเตอร์เรเนียน)
1 พ.ย. 1755 แอตแลนติกตะวันออก
21 ธ.ค. 1812 ซานตาบาบาร่า แคลิฟอร์เนีย
7 พ.ย. 1837 ชิลี
17 พ.ค. 1841 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
2 เม.ย. 1868 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
13 ส.ค. 1868 เปรู และ ชิลี
10 พ.ค. 1877 ชิลี
27 ส.ค. 1883 การากาตัว (มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน)
15 มิ.ย. 1896 ฮอนชู ญี่ปุ่น (มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 20,000 คน)
31 ม.ค. 1906 เอควาดอร์
28 ธ.ค. 1908 Messine
7 ก.ย. 1918 คูริล
11 พ.ย. 1922 ชิลี
3 ก.พ. 1923 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
18 พ.ย.1929 บริเวณ Grand Banks แคนาดา
2 มี.ค. 1933 ฮอนชู ญี่ปุ่น
1 เม.ย. 1946 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
4 พ.ย. 1952 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
9 มี.ค. 1957 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
23 พ.ค. 1960 บริเวณชายฝั่งชิลี แล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกระยะทางกว่า 17,000 กิโลเมตร ไปสู่ญี่ปุ่นมีผู้สูญหายกว่า 200 คน
28 มี.ค. 1964 Prince William Sound อลาสกา สหรัฐอเมริกา (มีผู้เสียชีวิต 109 คน)
4 ก.พ. 1965 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
29 พ.ย. 1975 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
3 มิ.ย.1994 บริเวณเกาะชวาตะวันตก อินโดนีเซีย เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดเมื่อเวลา ตี 1.18 นาที (เวลาท้องถิ่นชวา) วันที่ 3 มิถุนายน แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งชวา ใกล้กับทางด้านตะวันออกของร่องลึกชวาในมหาสมุทรอินเดีย แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.2 - 7.8 ตามมาตราวัดริกเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตมากกว่า 200 ชีวิต และที่พักอาศัยบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก โดยทีมสำรวจสึนามิระหว่างชาติ ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านซุนามิและวิศวกร ซึ่งมาจากอินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้เข้าสำรวจพื้นที่ของบาหลีและชวา ช่วงวันที่ 20-25 มิถุนายน 1994 ทีมสำรวจชุดนี้ได้พบว่า คลื่นสึนามิที่เข้าสู่ฝั่งชวา มีความสูงตั้งแต่ 1 -14 เมตร ในขณะที่บาหลีมีความสูงตั้งแต่ 1-5 เมตร
21 ก.พ.1996 บริเวณเปรู เป็นผลจากแผ่นดินไหวใต้น้ำ
17 ก.ค.1998 บริเวณเกาะปาปัวนิวกินี (มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน)
บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิและเหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่
คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดขึ้นในภูมิภาคหรือในบริเวณมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล ขึ้นอยู่กับขนาดของคลื่นและบริเวณ ที่เกิด ซึ่งคลื่นสึนามิเป็น ปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเขตที่มีแนวของการเกิด แผ่นดินไหวและภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอยู่มาก จุดกำเนิดสำคัญของคลื่นสึนามิในแปซิฟิกก็คือบริเวณร่องลึกก้นสมุทร นอกชายฝั่งอลาสกา หมู่เกาะคูริล รัสเซียและทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะในเขตแปซิฟิค ตอนกลาง (mid-pacific) บริเวณหมู่เกาะฮาวายมักจะประสบกับคลื่น สึนามิบ่อยครั้ง ร้อยละ 80 ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ในบริเวณ Pacific Seismic Belt ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดคลื่น ซึ่งในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเสี่ยงที่มากกว่าในบริเวณอื่นๆ มหาสมุทรแปซิฟิกกินพื้นที่ถึงกว่า 1 ใน 3 ของผิวโลกแล้วล้อม รอบด้วยร่องน้ำลึก ก้นสมุทร อันเกิดจากแผ่นดินโลกมุดตัว บวกกับถูกกระหนาบด้วยแนวโค้งของหมู่เกาะภูเขาไฟ
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น