ดิฉัน เติบโตมาในความเชื่อให้เกรงกลัวต่อบาปและการทำผิด จำได้สิ่งที่เด็กๆรุ่นราวคราวเดียวกับดิฉันรู้สึกหวา ดกลัวและไม่อยากจะเป็น คือ เปรต...จินตนาการของเด็กเมื่อนึกถึงเปรตนั้นช่างน่าห วาดกลัวเพราะทั้งลำตัว ที่ยืดยาว ปากเท่ารูเข็ม เพราะไปเป็นคนชอบดุด่าผู้มีพระคุณ มือและเท้าโตเท่าใบลาน เพราะชอบทำร้ายร่างกายบุพการีของตัวเอง เปรตจึงไม่อาจกินอะไรได้อย่างใจนึกเวลาจะกินก็ทรมาน ต้องอยู่อย่างอดอยากหิวโหย นี่ดูคล้ายจะเป็นเครื่องเตือนสติให้ผู้น้อยรู้จักกตั ญญูต่อผู้มีพระคุณของ ตัวเอง
เปรตคือโอปปาติกะ เกิดจากคนเราเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ชอบประกอบอกุศกรรมเ ป็นอาจิณ เปรตนั้นมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่กรรมที ่พวกเขากระทำ ในไตรภูมิพระร่วงตอนเปรตภูมิ ได้กล่าวถึงเปรตไว้มากมายหลายจำพวก มีถิ่นฐานอยู่รอบเมืองราชคฤห์ กลางสมุทร เหนือขุนเขา บ้างก็มีพาหนะเที่ยวไปในอากาศ ครั้นเดือนแรมเป็นเปรต เดือนขึ้นเป็นเทพยดา หรือกลับกันก็มี แฝงอยู่ในต้นไม้ใหญ่ เป็นพวกผีเสื้อ ผีในต้นไม้ก็มี บ้างก็ซ่อนตนอยู่ในแผ่นดินก็มี!!
เปรตบางจำพวกตัวงามดั่งทอง แต่ปากเหม็นหนักหนามีหนอนเต็มปากก็มีเหตุที่เป็นเช่น นั้นเพราะเคยรักษาศีล จึงมีตัวงดงามแต่ปากเหม็นหนอนกินปากเพราะได้ติเตียนย ุนงสงฆ์ให้ผิดกัน ยังมีอีกหลากประเภทของเปรตที่แตกต่างกันไปตามการกระท ำเช่นคนหลอกลวงค้าขาย สมัยก่อนคงมีไม่กี่เรื่อง คนโบราณจึงยกตัวอย่างเรื่องข้าวว่า ตอนมีชีวิตหลอกลวงคนด้วยการนำข้าวดีผสมข้าวเลวขายให้ คนอื่น ครั้นตายไปจึงต้องกอบเอาข้าวที่ลุกเป็นไฟมาใส่บนหัวต ัวเอง เป็นต้น
ส่วนเปรตในตำนานผีไทยกล่าวไว้ว่ามีอยู่ 12 ตระกูลใหญ่สามารถหาอ่านรายละเอียดได้จากประชุมศิลาจา รึกวันพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม เล่ม 1ซึ่งนอกจาก 12 ตระกูลใหญ่ของเปรตแล้วยังแบ่งออกเป็น 19 จำพวกอีก เช่นเปรตผู้มีขนเป็นเข็ม หรือผู้มีขนเป็นกรดและยังมีเปรตผู้มีเท้าข้างเดียว และยังมีเปรตเท้ามาก เปรตมือข้างเดียว และมีมือมากอีกด้วย เป็นต้น
นอกจากนี้เปรตยังถูกแบ่งออกเป็นเปรตไม่สมประกอบอีก สี่ชนิด ที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะนอกจากจะเป็นเปรตที่มีรูปร่างไม่สมประกอบ ร่างกายซูบผอมอดโซแล้ว ยังมีเปรตที่รูปร่างพิการต่างๆ และเปรตที่ต้องอยู่ตามลำพังด้วยอำนาจบาปกรรมที่ได้เค ยทำเอาไว้และสุดท้ายคือ เปรตที่มีรูปร่างอย่างมนุษย์ทั่วไป มีวิมานอยู่แต่ในยามกลางคืนต้องออกจากวิมานไปเสวยกรร มจนกว่าจะถึงรุ่งสาง เปรตชนิดนี้เรียกว่า วิมานนิกเปรต ค่ะ
คำว่า เปรต แปลว่า ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ผู้ตายไปแล้ว ใน ทางพุทธศาสนาหมายถึง สัตว์พวกหนึ่งที่ที่เกิดในเปตสิสัยซึ่งเป็นอบายภูมิ ๑ ใน ๔ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าประเภทของเปรตมีหลายประเภท เช่นประเภทหนึ่งเรียกว่า ปรทัตตูปชีวิเปรต คือเปรตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยส่วนบุญที่มีผู้ทำอุท ิศให้ หากไม่มีส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้ก็มักจะกินเลือดและห นองของตัวเองเป็นอาหาร โบราณมีความเชื่อที่ว่า ถ้าใครทำร้ายพ่อแม่ ชาติหน้าจะไปเกิดเป็นผีเปรต เป็นต้น
สมัยก่อนตำนานที่ถือเป็นเรื่องเล่าของเปรตที่ดังที่ส ุดเห็นจะเป็น ตำนานเปรตวัดสุทัศน์ที่มักถูกเล่าคู่กับตำนานแร้งวัด สระเกศ เหตุก็เพราะเป็นความเชื่อครั้งต้นรัตนโกสินทร์ที่กล่ าวถึงเปรตวัดสุทัศนเทพ วรารามราชวรมหาวิทหาร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่เก ิดโรคห่าระบาด ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าภายในสิบห้าวันมีผู้คนล้มตายกว่าหมื่นคน กระทั่งเผาศพในพระนครไม่ทัน ต้องนำร่างผู้เสียชีวิตมาไว้ที่ประตูผีใกล้ๆ กับวัดสระเกศ จึงเป็นเหตุให้มีแร้งกา มาจิกกินร่างไร้วิญญาณเหล่านั้น
ประกอบกับวัดสุทัศน์ฯ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเปรตนอนพาดกายและมีภิกษุย ินพิจารณาสติอยู่ ซึ่งภาพนี้ถือว่ามีชื่อเสียงในอดีตเป็นที่เลื่องลือว ่าต้องไปชมกับตา จึงกลายเป็นเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่ามีเปรตที่วัดสุท ัศน์ฯ นั่นเอง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถบนั้นมาแต่โบราณเล่าว่า อาจเป็นเพราะเสาชิงช้าหน้าวัดประกอบกับสายหมอกยามเช้ าที่ทำให้ใครต่อใครหลง คิดกันไปว่า ตัวได้พบเปรตมาขอส่วนบุญก็เป็นได้
เรื่อง ราวของเปรตจะมีจริงหรือไม่นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ดิฉันสนใจจะพิสูจน์ แต่สิ่งที่ดิฉันสนใจก็คือ ประเภทและลักษณะของเปรตและสิ่งที่คนรุ่นโบราณได้บอกเ ล่าผ่านภาพเปรตที่ดูน่า หวาดกลัวนั่นต่างหากที่สอนให้เราระลึกได้ว่า เมื่อครั้งที่เรามีชีวิตอยู่ มีลมหายใจ และยังคงความเป็นมนุษย์อย่างเช่นทุกวันนี้ เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น